ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความสามารถ
ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โดยผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนรู้ร่วมมือและเทคนิค SSCS
ผู้วิจัย นางชลธิชาพันธุ์ธงไชย
โรงเรียน โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนรู้ร่วมมือและเทคนิค SSCS(2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนรู้ร่วมมือและเทคนิค SSCS(3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนรู้ร่วมมือและเทคนิค SSCSและ (4)เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนรู้ร่วมมือและเทคนิค SSCSกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1จำนวน 34 คน โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา อำเภอปักธงชัยจังหวัดนครราชสีมาสังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ชนิด คือ (1)แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่0.40 ถึง 0.85 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94(2) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 5 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.50-0.75และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ(rcc) เท่ากับ 0.89(4)แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ซึ่งเป็นแบบอัตนัยจำนวน 5สถานการณ์มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25-0.75และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.85และแบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และการทดสอบค่าที (t test for Dependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551มุ่งให้เยาวชนทุกคนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพทำให้คิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบแบบแผนสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้ช่วยให้คาดการณ์วางแผนตัดสินใจแก้ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆคณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขอีกทั้งการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนรู้ร่วมมือและเทคนิค SSCSเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ส่งเสริมความสามารถแตกต่างกันมาเรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่ม โดยการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบร่วมกันและสามารถทำให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์อย่างมีขั้นตอนที่เป็นระบบในการแก้ปัญหาโดยสามารถสื่อสาร สื่อความหมาย เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาและให้เหตุผล และการสำรวจสภาพปัญหาของนักเรียนและครูผู้สอนพบว่าต้องการให้มีการพัฒนา การจัดการเรียนรู้ในการเสริมสร้างทักษะคณิตศาสตร์ศาสตร์ที่ชัดเจน ด้วยเทคนิคที่ช่วยในการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนทำให้มีความสามารถในการวิเคราะห์แก้ปัญหาที่เป็นระบบและสร้างสรรค์
2. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนรู้ร่วมมือและเทคนิค SSCSมีคุณภาพและความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D.= 0.23) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.14/81.21ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้80/80เมื่อใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนรู้ร่วมมือและเทคนิค SSCSกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เป็นดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนรู้ร่วมมือและเทคนิค SSCSพบว่าเมื่อใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีประสิทธิภาพ 88.14/81.51 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์นี้อยู่ในระดับมากที่สุด