เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการทำโครงงาน รายวิชาประวัติศาสตร์
รหัสวิชา ส 22102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้เขียน นางทิพยวรรณ สุพล
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนปากช่องพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการทำโครงงาน รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการทำโครงงาน รายวิชาประวัติศาสตร์
รหัสวิชา ส 22102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ของรูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถ ในการทำโครงงาน รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 2210 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการทำโครงงาน รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินรูปแบบ การเรียนการสอนเชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการทำโครงงาน รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เนื่องจากการจัดนักเรียนแต่ละห้องเรียนเป็นการจัดแบบคละความสามารถ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการทำโครงงาน แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน 6) แบบประเมินรูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด (เกณฑ์กำหนด 2.50) นักเรียนขาดประสบการณ์ในการทำโครงงานทางประวัติศาสตร์ ขาดการฝึกทักษะความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ผลการทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับต่ำและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนสาระประวัติศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง ต่ำกว่าเกณฑ์ ที่โรงเรียนกำหนด (เกณฑ์กำหนดระดับมาก) ผลการสอบถามความต้องการของนักเรียนพบว่า นักเรียนต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลายลักษณะ ทั้งในและนอกโรงเรียน ต้องการเรียนรู้การทำโครงงานประวัติศาสตร์ ต้องการฝึกทักษะด้านการคิดแก้ปัญหา ต้องการ มีส่วนร่วมในการประเมินตนเองและประเมินเพื่อน ผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญการสอน สาระประวัติศาสตร์ จำนวน 5 ท่าน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนวทางในการพัฒนาการเรียน การสอนในปัจจุบันต้องบ่มเพาะให้นักเรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 และสนองต่อ การเป็นผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 และสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนปากช่องพิทยาคม ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนด้วยความกระตือรือร้น ฝึกให้นักเรียนมีทักษะการคิดแก้ปัญหา ฝึกทักษะการทำโครงงานประวัติศาสตร์ ฝึกใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ฝึกให้นักเรียนใฝ่รู้ สามารถแสวงหาข้อมูล ให้สามารถสรุปองค์ความรู้ มีความสามารถในการสื่อสาร ได้แลกเปลี่ยนความรู้และรู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ในการดำเนินชีวิต มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสามารถ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการทำโครงงาน รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อรูปแบบว่า SPTEPE Model องค์ประกอบสำคัญคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก ระบบสังคม หลักการตอบสนอง ระบบสนับสนุน การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ การประเมินผล ผลที่จะเกิดขึ้นจากการสอนทั้งทางตรงและทางอ้อม กระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1
เร้าความสนใจ (Stimulation : S) ขั้นที่ 2 ฝึกทักษะทำโครงงานและใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Practicing about Project Work and Historical Method Skills : P) ขั้นที่ 3 ฝึกคิดแก้ปัญหา (Training problem-solving skills : T) ขั้นที่ 4 อธิบายขยายความคิดและสรุปองค์ความรู้ (Explanation and Conclusion : E) ขั้นที่ 5 นำเสนอและประยุกต์ใช้ (Present and application : P) ขั้นที่ 6 ประเมินและสะท้อนกลับ (Evaluation and feedback : E)
ผลการหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ทุกหน่วยการเรียนมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการทำโครงงาน รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 33.71 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.77 นักเรียนมีความสามารถในการทำโครงงานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.03 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.87 และนักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.11 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.02
4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการทำโครงงาน รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประเมินโดยนักเรียนพบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.93) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ด้านประโยชน์ของรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D. = 0.84) ด้านการวัดประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.27, S.D. = 0.92) ด้านกิจกรรมการเรียน การสอนอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D. = 0.94) ด้านครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก ( = 3.96, S.D. = 0.96) ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุก
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี