ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่สุริน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ผู้ประเมิน นายอาคม กลิ่นสักโก
ชื่อสถาบันที่สังกัด โรงเรียนบ้านแม่สุริน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1
ปี พ.ศ.2561
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ 2) ประเมินสภาพปัจจัยการดำเนินงานเกี่ยวกับความพร้อม/ความเหมาะสมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการ 3) ประเมินกระบวนการการดำเนินงานเกี่ยวกับความเหมาะสมของขั้นตอน กระบวนการและกิจกรรมของโครงการ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับคุณภาพด้านผู้เรียน ด้านกระบวนดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และด้านบุคลากร 5) ประเมินผลกระทบของโครงการ เกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียน รางวัลที่โรงเรียนได้รับจากการดำเนินงาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านแม่สุริน ได้จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling Technique) จำนวน
129 คน จำแนกเป็นครู จำนวน 5 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่สุริน จำนวน 46 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 46 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการจำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือแบบสอบถาม แบบประเมินค่า (Rating Scales) 5 ระดับ และแบบตรวจรายการ (Check List) โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปโมเดล (CIPP Model) เป็นแนวทางในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน แบ่งออกเป็น 4 ฉบับ ดังต่อไปนี้
ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่สุริน ด้านบริบท (Context) และด้านปัจจัยนำเข้า (Process)
ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินโครงการด้านกระบวนการ
ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินโครงการด้านผลผลิต (Product)
ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินโครงการด้านผลกระทบของ (Impact)
สถิติที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพและหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของ ครอนบาค (Cronbach) 2) สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วยความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context Evaluation) ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายการจัดการศึกษา สอดคล้องกับปัญหาและความจำเป็นของโรงเรียนและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและความต้องการของชุมชน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ความพร้อมของบุคลากรอันประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการ งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) การปฏิบัติการในการวางแผนการดำเนินการ การดำเนินการ การติดตามผลการดำเนินการ และการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ความคิดเห็นของ ครู นักเรียน และ
ผู้ปกครอง นักเรียนของโรงเรียนบ้านแม่สุรินต่อการปฏิบัติจริงโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับมาก