การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูประจำชั้นในเรื่องการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพทั้ง 5 ด้าน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน การส่งต่อนักเรียนและเพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ครูประจำชั้นของโรงเรียนวัดประสาทรังสฤษฎิ์ให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ประชากร ได้แก่ ครูประจำชั้น ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดประสาทรังสฤษฎิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2561 ครูจำนวน 4 คน นักเรียนจำนวน 81 คน และผู้ปกครองจำนวน 75 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูประจำชั้น ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดประสาทรังสฤษฎิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2561 ครูจำนวน 4 คน นักเรียนจำนวน 66 คน ผู้ปกครองจำนวน 63 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) โดยคัดเลือกเฉพาะผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจสภาพปัญหาทั่วไป แบบบันทึกการประชุม แบบบันทึกประจำวัน แบบประเมินความรู้ แบบประเมินผลการปฏิบัติงานและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS for Windows) ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้นจากบันทึกประจำวัน บันทึกการประชุม แบบสำรวจปัญหาสภาพปัจจุบัน แบบสัมภาษณ์ครูและนักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาจัดกลุ่มของข้อมูลตามความมุ่งหมาย ตรวจสอบข้อมูลหลายมิติเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของข้อมูลในเชิงบรรยาย
ผลการวิจัย พบว่า ผลการดำเนินงานในวงรอบที่ 1 ครูที่เป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจเทคนิคกระบวนการดำเนินการหลายประการ บุคลากรในโรงเรียนบางส่วนยังขาดความตระหนักถึงความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งจำเป็นต้องมีการกระตุ้นและสร้างความตระหนักในความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียนและมีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนทุกด้าน
ผลการประเมินจากการอบรม พบว่า ครูประจำชั้นมีความรู้ความเข้าใจในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากขึ้น คิดว่าสามารถที่จะนำสู่การปฏิบัติได้และได้แจ้งผลการประเมินความรู้ของครูจากแบบประเมินก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา พบว่า ก่อนการพัฒนาครูประจำชั้นมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หลังการพัฒนาครูประจำชั้นพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
การสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ที่ประชุมกลุ่มผู้ศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ครูต้องเอาใจใส่ พูดกับเด็กบ่อยๆและอธิบายให้เขาเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำระเบียนสะสมจากการประเมินระดับการปฏิบัติงาน ก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนาบุคลากร ปรากฏว่าระดับการปฏิบัติงานของครูเกี่ยวกับการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ก่อนการพัฒนาบุคลากร ทั้งโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย หลังการพัฒนาบุคลากรพบว่า ทั้งโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
การสะท้อนผลจากการปฏิบัติงานผลการศึกษาการพัฒนาบุคลากรในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนวัดประสาทรังสฤษฎิ์ จากความคิดเห็นของครูประจำชั้น นำเสนอ ดังนี้
1. ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ผลการดำเนินการ พบว่า ครูทำการจัดทำระเบียนสะสมของนักเรียน ใช้ระเบียนสะสมและแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก และมีการบันทึกและรายงานผลการศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคลสรุปผลการดำเนินงานด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลบรรลุผลที่ตั้งไว้ ทุกคนมีความพึงพอใจ
2. ด้านการคัดกรองนักเรียน ผลการดำเนินงาน พบว่า มีการใช้เกณฑ์การคัดกรองนักเรียน มีการจัดกลุ่มนักเรียนในความดูแลและแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหา มีการบันทึกและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนเป็นภาพรวมของนักเรียนในความดูแล สรุปผลการดำเนินงานด้านการคัดกรองนักเรียน พบว่า บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ครูที่ปรึกษามีความพึงพอใจกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
3. ด้านการส่งเสริมนักเรียน ผลการดำเนินงาน พบว่า มีการจัดกิจกรรมโฮมรูม (Home room) และการประชุมผู้ปกครองนักเรียน (Classroom Meeting) มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนโดยให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วม เช่น กิจกรรมวันพ่อ วันแม่ วันเข้าพรรษา ประเพณีวันลอยกระทง เป็นต้น มีการประเมินผลและรายงานผลการจัดกิจกรรม สรุปผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมนักเรียน พบว่า บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ครูที่ปรึกษามีความพึงพอใจกับผลการดำเนินงาน
4. ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลการดำเนินงาน พบว่า มีการให้คำปรึกษาเบื้องต้นและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มีการจัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนด้ยกิจกรรม 5 กิจกรรมตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการบันทึกการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาและติดตามผลการเรียน มีการจัดกิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครอง การเยี่ยมบ้านนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา เพื่อร่วมมือกับผู้ปกครองในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
5. การส่งต่อนักเรียน ผลการดำเนินงาน พบว่า มีการส่งต่อนักเรียนให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน เพื่อการช่วยเหลือนักเรียนต่อไป มีการบันทึกการส่งต่อและการช่วยเหลือนักเรียน การรายงานผลการช่วยเหลือและการส่งต่อนักเรียน สรุปผลการดำเนินงานด้านการส่งต่อนักเรียน พบว่า บรรลุเป้าหมายครูที่ปรึกษาทุกคนมีความพึงพอใจ
(2) ผลการดำเนินงานในวงรอบที่ 2 เริ่มต้นกระบวนการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเฉพาะในส่วนที่ยังเป็นปัญหา นำเสนอดังนี้
1. ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ผลการดำเนินงานมีผลเป็นที่น่าพอใจ
2. ด้านการคัดกรองนักเรียนผลการดำเนินงาน สามารถคัดกรองเด็กได้ชัดเจน มีการรายงาน การบันทึกและรายงานผลมาพรวมที่น่าพอใจ
3. ด้านการส่งเสริมนักเรียน ผลการดำเนินงาน พบว่า มีการจัดกิจกรรมโฮมรูม (Home room) มีการบันทึกและรายงาน รวมทั้งจัดกิจกรรมวันสำคัญ ครูที่ปรึกษามีความพึงพอใจ
4. ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลการดำเนินงาน พบว่า การออกเยี่ยมบ้านนักเรียนและเทคนิคการสื่อสารกับผู้ปกครองของครูที่ปรึกษา มีการประชุมวางแผนการออกเยี่ยมบ้านโดยให้ครูมีการนัดหมายออกเยี่ยมบ้านนักเรียนที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันพร้อมกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและมีความปลอดภัย รวมทั้งวางแผนร่วมกันในเรื่องที่จะพูดคุยกับผู้ปกครอง ผลการดำเนินงาน พบว่า หลังจากที่วางแผนร่วมกันและออกเยี่ยมบ้านเป็นหมู่คณะทำให้ได้รับคำชมเชยจากผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนในหมู่บ้านเข้าใจโรงเรียนและพอใจกับครูที่สนใจนักเรียนและได้ผลมากกว่า ทุกคนมีความพึงพอใจกับผลการดำเนินงาน
5. การส่งต่อนักเรียน ผลการดำเนินงาน พบว่า มีการส่งต่อ โดยมีข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนสามารถช่วยเหลือนักเรียนได้บรรลุเป้าหมาย