บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่นโดยดำเนินการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา(Research and Development)แบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ระยะที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่นระยะที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่นและระยะที่ 3 ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่นกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน ในโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นจำนวน 55 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 15 คนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน9คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน9คน ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นคู่มือการดำเนินงานและตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยมสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่นพบว่ามีปัญหา 3 ด้านคือ1) ปัญหาด้านนักเรียนนักเรียนไม่มีระเบียบวินัยในตนเองขาดความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน 2) ปัญหาด้านครูคือครูไม่ได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการยังยึดการสอนแบบเดิมไม่มีนวัตกรรมใหม่ในการสอนและ 3) ปัญหาด้านชุมชนคือคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ตนเองจากการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันประเด็นที่ต้องการพัฒนามากที่สุดคือปัญหาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งควรนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษามาเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)และสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice : CoP) เป็นการให้คนในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นวิทยากรในการสอนนักเรียนและชุมชนให้เกิดอาชีพใหม่สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่นโดยนำเอาผลจากการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและผลจากการศึกษาโรงเรียนที่มีผลงานในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมที่เป็นเลิศให้เป็นกรอบในการร่างรูปแบบโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านประเมินความเป็นไปได้ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดมี 2องค์ประกอบหลักคือ 1) การวิจัยแบบมีส่วนร่วม 7 ขั้นตอนและ 2) การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 19 กิจกรรมย่อยรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่นที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญมีความเป็นไปได้ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งประกอบด้วยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 7ขั้นตอนและแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 19 กิจกรรมย่อย
3. ผลการประเมินผลรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่นอยู่ในระดับมากที่สุดโดยผู้ร่วมวิจัยซึ่งประกอบด้วยครูโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้ปกครองนักเรียนและผู้นำชุมชนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบและความพึงพอใจต่อสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดส่งผลในการยกระดับคุณภาพการศึกษาคือ
3.1 ระดับบุคคลได้แก่นักเรียนมีทักษะชีวิตมีการทำงานเป็นทีมมีความใฝ่รู้เรียนรู้
อย่างต่อเนื่องผู้เรียนคิดเป็นทำเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.2 ระดับกลุ่มได้แก่ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานรักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
3.3 ระดับองค์กรได้แก่มีระบบการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้น
สังกัดมีรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่ทำให้จัดการศึกษาได้บรรลุเป้าหมายผ่านการประเมินสมศ.
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม การพัฒนารูปแบบ, การบริหารจัดการ,การยกระดับคุณภาพการศึกษา