การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การวัดการกระจายของข้อมูล โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) หาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การวัดการกระจายของข้อมูล โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การวัดการกระจายของข้อมูล โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนมะค่าวิทยา อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วน
จังหวีดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การวัดการกระจายของข้อมูล โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 7 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การวัดการกระจายของข้อมูล โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การวัดการกระจายของข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก
จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การวัดการกระจายของข้อมูล โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การวัดการกระจายของข้อมูล
โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
มีประสิทธิภาพ 77.81/78.96 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 75/75
2. ชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การวัดการกระจายของข้อมูล
โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6989 คือ นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6661 หรือคิดเป็นร้อยละ 66.61
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอน
วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การวัดการกระจายของข้อมูล โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ
เทคนิค STAD อยู่ในระดับมากที่สุด