ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวจันทร์ฉาย หอมเหม
ปีที่ทำวิจัย 2561
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3. เพื่อทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหา 4. เพื่อประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 28 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหา พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบมี 3 องค์ประกอบ ความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ 2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ มี 5 ขั้น คือ ขั้นการแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษา (Separate : S) ขั้นนำเนื้อหาเดิมมาใช้ประโยชน์ (Help : H) ขั้นรุ่งโรจน์ด้วยเนื้อหาความรู้ (Instruct : I) ขั้นเปิดประตูสร้างเครือข่าย (Network : N) ขั้นใส่ใจประเมินผล (Evaluate : E) 3) องค์ประกอบเชิงเงื่อนไข ได้แก่ ข้อตกลงเบื้องต้น หลักการตอบสนอง ระบบสังคมและระบบสนับสนุน
3. การทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความสนใจกระตือรือร้นในการเรียน
4. การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน พบว่า
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.2 ความสามารถการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก