ชื่องานวิจัย การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมจิตสานึก
รักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บูรพาวิทยากร)
ผู้วิจัย นางตติยา นาครังสรรค์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๑ (บูรพาวิทยากร)
เทศบาลนครนครราชสีมา
ปี พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพหลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และ 4) เพื่อประเมินผล การใช้หลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลักษณะกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาคุณภาพหลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้หลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันถึงความต้องการและเห็นด้วยที่จะให้มีการพัฒนาหลักสูตรที่พัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา โบราณสถาน โบราณวัตถุ สถานที่สำคัญและบุคคลสำคัญของท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรักในท้องถิ่น โดยจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากใบความรู้ ใบกิจกรรม ปฏิบัติ การนำเสนอชิ้นงาน แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น มีการวัดและประเมินผลทั้งการทดสอบ การตรวจใบกิจกรรม การสังเกต และประเมินการนาเสนอชิ้นงาน
2. หลักสูตรประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ หลักการ จุดมุ่งหมาย ผลการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา ผังมโนทัศน์ หน่วยการเรียนรู้ แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล แผนจัดการเรียนรู้ และหลักสูตรมีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมากที่สุด (Χ-bar = 4.54) คู่มือการใช้หลักสูตรประกอบด้วย คาชี้แจงสาหรับครู แผนจัดการเรียนรู้ เอกสารประกอบการเรียน และคู่มือการใช้หลักสูตรมีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมากที่สุด (Χ-bar = 4.80)
3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น พบว่า
3.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 นักเรียนสามารถแสดงออกถึงจิตสานึกรักท้องถิ่นของเมืองนครราชสีมาผ่าน
การนำเสนอชิ้นงานในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.60 ระดับของจิตสำนึกรักท้องถิ่น อยู่ใน
ระดับดีมาก
4. ผลการใช้หลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้ง 4 ด้าน มีความเหมาะสม
โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Χ-bar = 4.28)__