ชื่อเรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ นาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำเขาแก้ว
จันทบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษาค้นคว้า ธราภรณ์ กลิ่นทอง ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนสะพานเลือกวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17
ปีที่ศึกษาค้นคว้า 2560
การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ นาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ นาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนการทดสอบหลังเรียนกับคะแนน การทดสอบก่อนเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ นาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนรู้ นาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ครั้งนี้เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสะพานเลือกวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจากนักเรียนทั้งหมด 10 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ (1) เอกสารประกอบการเรียนรู้ นาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีเนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นเนื้อหา เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วย 4 เล่ม ดังนี้ เล่มที่ 1 เรื่องประวัติตำบลเขาแก้ว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เล่มที่ 2 เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบุรี เล่มที่ 3 เรื่อง นาฏยศัพท์ เล่มที่ 4 เรื่อง ท่ารำระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัว เลือกจำนวน 20 ข้อ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าได้สร้างขึ้นตามแนว การสร้างและหาคุณภาพแบบอิงเกณฑ์ (3) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 แผน รวม 15 ชั่วโมง (4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนรู้ นาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบ t-test (Dependent) ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
(1) เอกสารประกอบการเรียนรู้ นาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.17/83.36
(2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ นาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
(3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียนรู้ นาฏศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำเขาแก้วจันทบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด