ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการสอนโครงงานด้วยสะเต็มศึกษาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางเพ็ญจันทร์ พลายเพ็ชร์
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) สำนักการศึกษาเมืองพัทยา
จังหวัดชลบุรี
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาพัฒนารูปแบบการสอนโครงงานด้วยสะเต็มศึกษาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนโครงงานด้วยสะเต็มศึกษาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และตอนที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ โดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 27 คน ใช้เวลาในการ ใช้เวลาในการทดลอง 1 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และเกณฑ์การประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการเขียนเรื่องสั้นก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการสอนโครงงานด้วยสะเต็มศึกษาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมี ชื่อว่า IDCA MODEL มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction : I) ขั้นที่ 2 ขั้นลงมือทำ (Doing : D) ประกอบด้วย 1) กำหนดปัญหา 2) รวบรวมที่มา 3) ออกแบบวิธีการ 4) ประสานวางแผน 5) ทดสอบ ประเมิน ปรับปรุง และ 6) นำเสนอผลงาน ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป (Conclusion : C) ขั้นที่ 4 ขั้นนำไปใช้ (Apply : A) การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ได้ดำเนินการก่อน ระหว่างและหลังการจัดการเรียนการสอน โดยประเมินทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน จากผลการทดลองใช้ พบว่า
2.1 กลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ร้อยละ 96.30 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70
2.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการบันทึกการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี