ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL)
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมประดู่วัฒนา
อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย นางสาวศรีสุดา ภูถวิล
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนมัธยมประดู่วัฒนา อำเภอด่านขุนทด
จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนมัธยมประดู่วัฒนา อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 19 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบประเมินการเรียนรู้ด้วยโครงงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test แบบ One Group Pretest-Posttest Design
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.72/83.75ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7828 หรือคิดเป็นร้อยละ 78.28
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุปการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเหมาะสม ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนเพิ่มขึ้นและมีความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) โรงเรียนจึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้ครูนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้กว้างขวางต่อไป