ชื่อเรื่อง : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและ
การมองเห็น เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวพรหมมาศ วรรณสุข
ปีที่วิจัย : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2).เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและการมองเห็นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและการมองเห็น ที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/8 จำนวน 37 คน โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและการมองเห็น จำนวน 6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและการมองเห็น จำนวน 24 แผน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสงและการมองเห็น และแบบประเมินความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ ของลิเคอร์ท (Likert) จำนวน 10.ข้อ จำนวน.1.ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที t-test ชนิด Dependent Samples
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 .มีประสิทธิภาพ 82.90/83.20
2..นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ .สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3..นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.4.ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสงและการมองเห็น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
4..นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.4.มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด