ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิด
อย่างมีวิจารณญาณเรื่อง ชีวโมเลกุล โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ ด้วยตนเอง
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย : นางอุดมศรี อุตส่าห์
โรงเรียน : โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียน
การสอนวิชาเคมีเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชีวโมเลกุล โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชีวโมเลกุล โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชีวโมเลกุล โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชีวโมเลกุล โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีชื่อเรียกว่า
SCACE Model มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัด
การเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขของการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้
ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ (Stimulation and motive : S) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) มี 3 ขั้นตอนย่อย คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างความรู้ 2) ขั้นลงมือสร้างความรู้ร่วมกัน และ 3) ขั้นสรุปความรู้ร่วมกัน
ขั้นฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ (Analylical thinking : A) มี 2 ขั้นตอนย่อย คือ 1) ขั้นฝึกเป็นรายบุคคล และ 2) ขั้นฝึกเป็นกลุ่ม ขั้นตรวจสอบและสรุป (Check and summarize : C) และ ขั้นประเมินผลและสะท้อนกลับ (Evaluate and reflect : E) และพบว่ารูปแบบการเรียนการสอน
วิชาเคมี เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชีวโมเลกุล โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้
ด้วยตนเอง มีประสิทธิภาพ (E1: E2) เท่ากับ 82.17/83.09 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80
ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า
2.1 รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์
เรื่อง ชีวโมเลกุล โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7320
2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี
เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชีวโมเลกุล โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด