ชื่อผู้ทำวิจัย : นางรัฐชฎา ชูศิริ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ปีที่วิจัย : 2560
การวิจัยนี้ เป็นกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักศาสตร์พระราชา เรื่องบัญชีชีวิต เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักศาสตร์พระราชา เรื่องบัญชีชีวิต เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตาม
หลักศาสตร์พระราชา เรื่องบัญชีชีวิต เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักศาสตร์พระราชา เรื่อง บัญชีชีวิต เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 161 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
จำนวนนักเรียน 34 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร
2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง
ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักศาสตร์พระราชา เรื่องบัญชีชีวิต เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เป็นสื่อ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแต่ละชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้ ใบความรู้ ใบกิจกรรม และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
5) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 20 ข้อ 6) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เงิน จำนวน 40 ข้อ และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักศาสตร์พระราชา
เรื่องบัญชีชีวิต เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานแสดงความต้องการของผู้ปกครองและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีความต้องการให้ครูผู้สอนจัดรูปแบบจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน และทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีกิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงตามหลักศาสตร์พระราชา
เรื่อง บัญชีชีวิต เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า ELRA Model ประกอบด้วย
ขั้นการกระตุ้นเตรียมความพร้อม (Encouragement:E) ขั้นการเรียนรู้ (Learning:L) ขั้นสะท้อน
การคิด (Reflation:R) และขั้นประเมินผล (Assessing:A) พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.86/83.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ความสามารถในด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักศาสตร์พระราชาเรื่องบัญชีชีวิต หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักศาสตร์พระราชาเรื่องบัญชีชีวิต หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักศาสตร์พระราชา เรื่องบัญชีชีวิต เพื่อส่งเสริมความสามารถด้าน
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ผลของระดับความพึงพอใจของนักเรียนสูงที่สุดคือ นักเรียนชอบเรียนวิชานี้