การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
วัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) รายวิชาสุขศึกษา พ33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) รายวิชาสุขศึกษา พ33101 กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) รายวิชาสุขศึกษา พ33101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) รายวิชาสุขศึกษา พ33101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมะค่าวิทยา จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 เล่ม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.67 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.41 ถึง 0.76 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 แบบสอบถามความพึงพอใจ 1 ฉบับ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.89 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ
การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test และ F-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) รายวิชาสุขศึกษา พ33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.97/87.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนตามการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) รายวิชาสุขศึกษา
พ33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) รายวิชาสุขศึกษา พ33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา มีค่าดัชนีเท่ากับ 0.6347 หรือผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็น
ร้อยละ 63.47
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) รายวิชาสุขศึกษา พ33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ซึ่งมีระดับค่าความพึงพอใจอยู่ใน
ระดับมาก