โครงการคุณธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อโครงงาน ห้องเรียนใสปิ๊ง
โรงเรียนวัดค่าย (เล็กจุฬาประชานุสรณ์)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1
๑. ปัญหา
1.1 ห้องเรียนไม่สะอาด
2. สาเหตุของปัญหา
2.1 นักเรียนที่เป็นเวรประจำวันไม่ค่อยทำเวร
3. วัตถุประสงค์ที่ทำโครงงาน
3.1 เพื่อไห้นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำเวรห้องเรียน
4. เป้าหมาย
4.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
4.1.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 25 คน
4.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
4.2.1 นักเรียนร้อยละ 80 มีความรับผิดชอบในการทำเวรในห้องเรียน
5. เป้าหมายด้วยเวลา
5.1 เป้าหมายระยะสั้น : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
5.2 เป้าหมายระยะยาว : 1 ปีการศึกษา (25561)
6. วิธีแก้ไขปัญหา
6.1 ประเมินคณะกรรมการ / วางแผนดำเนินการ
6.2 ดำเนินการตามแผนดำเนินการ : ประชุม มอบหมายหน้าที่ ดำเนินการตามโครงการ
6.3 ประเมินการดำเนินการโครงงาน
6.4 รายงานการดำเนินการโครงงาน เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานโครงการ
6.5 รวบรวมข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์ รายงานผลการดำเนินงาน
7.หลักธรรม/พระราชดำรัส/พระราชดำริ/คำสอน
อริยสัจ 4 ( ทุกข์ , สมุทัย, นิโรธ , มรรค)
อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมสำคัญ ถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ครอบคลุมหลักธรรมคำสอนทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ (ถ้ามองเฉพาะภาคปฏิบัติ ธรรมในภาคปฏิบัติทั้งหมดรวมลงได้ใน มรรค)
อริยสัจ 4 มีความหมายว่า สัจจะอย่างอริยะ คือ แท้ และแน่นอน เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้ายกย่องว่าเป็นยอดธรรม เป็นเสมือนรอยเท้าช้าง คือ ธรรมทั้งหลายรวมลงได้ในธรรมนั้น (ปฏิจจสมุปบาท, ความไม่ประมาท, โยนิโสมนสิการ ก็ชื่อว่าเป็นยอดธรรม เป็นเสมือนรอยเท้าช้าง คือ ธรรมทั้งหลายรวมลงได้ในธรรมนั้นด้วย)
ทุกข์ แปลว่า สภาพที่ทนได้ยาก ได้แก่ ปัญหาต่างๆของมนุษย์ สภาวะของสิ่งทั้งหลายที่ตกอยู่ภายใต้ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่อาจให้ความพึงพอใจเต็มอิ่มแท้จริง พร้อมที่จะก่อปัญหาขึ้นมาได้เสมอ แก่ผู้ที่ยึดติดถือมั่นในสิ่งใดๆไว้ด้วยกิเลส บัณฑิตพึงรับรู้ความจริงเกี่ยวกับทุกข์ตามที่มันเป็นอยู่ และมองดูรู้จักชีวิต รู้จักโลกตามที่มันเป็น
ทุกข์ในอริยสัจ 4 นั้น มองแคบกว่าทุกข์ในไตรลักษณ์ คือ เพ่งที่ความทุกข์ในจิตใจของมนุษย์ ซึ่งมีต้นตอมาจากกิเลสเป็นเหตุแห่งทุกข์เท่านั้น ส่วนทุกข์ในไตรลักษณ์ มีความหมายกว้าง แปลว่า ความคงสภาพอยู่ไม่ได้ แสดงถึงสามัญลักษณะทั่วไปของโลก กล่าวโดยย่อ ทุกข์ (ในไตรลักษณ์) คือ ความคงสภาพอยู่ไม่ได้
สมุทัย แปลว่า เหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ความอยากด้วยกิเลส ที่จะยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง โดยอาการที่มีเรา ซึ่งจะเสพ จะได้ จะเป็น จะไม่เป็น อย่างนั้นอย่างนี้ ทำให้ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยความเร่าร้อน กระวนกระวาย หวงแหน เกลียดชัง หวั่นกลัว เบื่อหน่าย ในรูปใดรูปหนึ่ง อยู่ตลอดเวลา ไม่อาจปลอดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระ สดชื่นเบิกบาน ได้อย่างบริสุทธิ์สิ้นเชิง
กล่าวลงไปในรายละเอียด อวิชชาและตัณหา ที่ทำให้วางใจ วางตัว ปฏิบัติตน แสดงออก สัมพันธ์ต่อชีวิตและโลกอย่างไม่ถูกต้อง อย่างไม่เป็นไปด้วยความรู้ตามเป็นจริง แต่เป็นไปด้วยความยินดียินร้าย ชอบชัง เป็นต้น ตลอดจนกิเลสทั้งหลายที่สืบเนื่องมา เช่น ความกลัว ความถือตัว ความริษยา ความหวาดระแวง ฯลฯ นั่นแหละ คือที่ไหลเนืองมาแห่งปัญหาความทุกข์ของมนุษย์ ตัณหาเป็นตัวบงการ อวิชชาคอยหนุน กล่าวโดยย่อ สมุทัย คือ กิเลสทั้งหลายประดามี
นิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่เข้าถึง เมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาซึ่งเป็นเหตุสิ้นแล้ว ทุกข์ที่เป็นผลก็ดับสิ้นไป ไม่ถูกตัณหาย้อมใจหรือฉุดลากไป ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความรู้สึกกระวนกระวาย ความเบื่อหน่ายหรือความคับข้องติดขัดอย่างใดๆ หลุดพ้นเป็นอิสระ ประสบความสุขที่บริสุทธิ์ สงบ ปลอดโปร่งโล่งเบา ผ่องใส เบิกบาน หรือเรียกว่านิพพาน (ศัพท์คำว่า นิโรธ แปลว่า ดับ, ปลอด, ไม่เกิดขึ้น)
ถ้าเรารู้ทันความจริงของโลกและชีวิต แล้วเปลี่ยนวิธีสัมพันธ์เสียใหม่ โดยไม่สัมพันธ์ด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน (กิเลสต่างๆ) เป็นสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายด้วยปัญญา เมื่อพัฒนาปัญญาจนถึงที่สุด สมุทัยก็หายไป กลายเป็นนิโรธ ความคับข้องติดขัดใดๆภายในจิตใจ กลายเป็นความหลุดพ้นเป็นอิสระ ปลอดโปร่งโล่งเบา กล่าวโดยย่อ นิโรธ คือ นิพพาน
มรรค แปลว่า ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับทุกข์ หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มีองค์ 8 ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพราะเป็นทางสายกลาง ซึ่งดำเนินไปพอดีที่จะให้ถึงนิโรธ โดยไม่ติดข้องหรือเอียงไปหาที่สุดสองอย่าง คือ ความหมกมุ่นในกามสุข และการบีบคั้นทรมานตนเองให้เดือดร้อน เป็นกระบวนวิธีพัฒนามนุษย์ไปสู่การมีปัญญา จนกระทั่งไม่ต้องอาศัย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ในการดำเนินชีวิต ก้าวข้ามการดำเนินชีวิตโดยอาศัยแรงจูงใจจากกิเลส อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ไปสู่การอยู่ด้วยปัญญา ดำเนินชีวิตด้วยแรงจูงใจจากความปรารถนาในสิ่งดีงาม กล่าวโดยย่อ มรรค คือ ทางดับทุกข์ มีองค์ 8 ประการ
8. คุณธรรมเป้าหมาย
ความรับผิดชอบ
9. พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก
นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำเวรห้องเรียน
10. ตัวชี้วัด
ห้องเรียนมีความสะอาดตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
11. วิธีการประเมิน
ตรวจสอบสภาพจริงของห้องเรียน
12. เครื่องมือที่ใช้การประเมิน
แบบตรวจสภาพจริงห้องเรียน