โครงการคุณธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อโครงงาน เด็กรุ่นใหม่ ใส่ใจการออม
โรงเรียนวัดค่าย (เล็กจุฬาประชานุสรณ์)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1
๑. ปัญหา
การออมทรัพย์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ไม่ใสใจในการออมเพื่อนำไปใช้ในอนาคต
2. สาเหตุของปัญหา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ส่วนใหญ่นำเงินมาโรงเรียนจำนวนมาก ซึ่งถ้านักเรียนนำเงินมามากก็จะใช้จ่ายมาก จะทำให้นักเรียนไม่รู้จักการวางแผนใช้เงินที่ดีและนักเรียนไม่เห็นคุณค่าของเงิน และทำเงินที่ผู้ปกครองให้มาโรงเรียนหายในขณะทำกิจกรรมกับเพื่อนบ้าง
3. วัตถุประสงค์ที่ทำโครงงาน
1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักวางแผนในการใช้จ่ายเงิน และมีวินัยในการใช้จ่ายเงิน
2. นักเรียนได้ตระหนักถึงการออม และใช้เงินอย่างถูกวิธี
3. นักเรียนมีความตระหนักว่าการออมเป็นการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
4. เป้าหมาย
4.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
4.1.1 ร้อยละ 100 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เข้าร่วมทำกิจกรรมโครงงาน เด็กรุ่นใหม่ ใส่ใจการออม
4.1.2 ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดค่าย
(เล็กจุฬาประชานุสรณ์) ในปีการศึกษา 2561 เด็กนักเรียนทุกคนมีการออมเงินฝาก
4.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
4.2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดค่าย (เล็กจุฬาประชานุสรณ์)ทุกคน มีวินัยในการใช้จ่ายเงิน
4.2.2 นักเรียนทุกคนมีการวางแผนจัดการด้านการเงินและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับวัย
5. เป้าหมายด้วยเวลา
5.1 เป้าหมายระยะสั้น : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
5.2 เป้าหมายระยะยาว : 1 ปีการศึกษา (25561)
6. วิธีแก้ไขปัญหา
ก่อนเริ่มการจัดกิจกรรมกับนักเรียนจะให้ความรู้เกี่ยวกับการออมทรัพย์ ประโยชน์ของการออมทรัพย์และให้ผู้ปกครองช่วยแนะนำและเพิ่มเติมเรื่องการออมทรัพย์กับนักเรียนขณะอยู่ที่บ้าน
7.หลักธรรม/พระราชดำรัส/พระราชดำริ/คำสอน:
พระราชดำรัส "เศรษฐกิจพอเพียง"
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากจนเกินไป โดยไม่ไปเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลง
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่พอเพียง 2 ประการดังนี้
ก. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนเพื่อจะได้ระมัดระวังในการปฏิบัติ
ข. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะเป็นตัวสร้างเสริม อันประกอบด้วย ความตระหนักในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร เพื่อใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
8. คุณธรรมเป้าหมาย
มีความพอเพียง
9. พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก
นักเรียนทุกคนมีการออมเงินฝาก
10. ตัวชี้วัด
นักเรียนร้อยละ 100 มีการออมเงินฝาก
11. วิธีการประเมิน
จัดทำแบบบันทึกการออมเงิน
12. เครื่องมือที่ใช้การประเมิน
แบบบันทึกการออมเงิน