ชื่อผู้วิจัย นางไพรัตน์ ศิลป์ภูศักดิ์
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๕ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีต่อการเรียน การอ่านจับใจความ โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน
๒๑ คน ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ๑. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ๒. แผนการจัดการเรียนรู้
๓. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๔. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
๑ วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ปรากฏว่า เมื่อคำนวณหาประสิทธิภาพของคะแนนรวมจากกลุ่มตัวอย่าง ได้เท่ากับ ๘๗.๘๑ /๘๗.๖๒
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ๘๐ / ๘๐
๒. นักเรียนมีความสามารถของการอ่านจับใจความ โดยใช้แบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป การจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ในลักษณะนี้ส่งผลทำให้นักเรียนมีทักษะการอ่าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความเพิ่มสูงขึ้น
ความพึงพอใจ ความรักในการอ่านและความรับผิดชอบ สามารถนำวิธีการอ่านไปอ่านเพิ่มเติม
นอกเวลาเรียน และนักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย มีความพึงพอใจในการเรียนลักษณะนี้ นักเรียนสามารถนำไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆได้ จึงสามารถนำมาใช้เป็นนวัตกรรมแก้ปัญหา ในการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ