บทคัดย่อ
รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช อําเภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้ศึกษาวิจัย นางสาวสุมณฑา ศิลาพัฒน์
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธ: กรณีศึกษานักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธที่พัฒนาคุณธรรมของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ ( Primary Source ) ได้แก่ข้อมูลจากพระไตรปิฎกและมีการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธ ข้อมูลทุติยภูมิ ( Seconday Source ) ผู้ศึกษาได้ทําการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า จากการตอบแบบสอบถามของครูผู้สอนและนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธทั้ง 4 ด้าน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยี การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง มีความสอดคล้องกันคือ เห็นว่าอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.00 ประเด็นที่2 แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธ ตามความคิดเห็นของครูแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ (1) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต้องมีการปรับพื้นฐาน ในการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาเพื่อให้เห็นความสําคัญและความสนใจเรียนของวิชาพระพุทธศาสนา อีกทั้งนักเรียนยังขาดความรับผิดชอบ ทําให้การจัดการเรียนการสอนจะต้องกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา (2) ด้านการใช้สื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยี สื่อไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต้องผลิตสื่อเพราะขาดงบประมาณในการจัดซื้อ (3) ด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร พบว่า เนื่องจากกิจกรรมพิเศษมีเวลาไม่เพียงพอในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนววิถีพุทธ (4) ด้านการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง ไม่สามารถบรรลุผลเพราะเนื้อหาและข้อจํากัดด้านเวลา ประเด็นที่ 3 ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แบ่งเป็น 4 ด้าน (1) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องทําให้ผู้เรียนเกิดความสนใจต่อการเรียน โดยการทําให้นักเรียนเห็นคุณค่าในการนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน (2) การใช้สื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยีส่งเสริมพลวัตรเพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการใช้สื่อและแสวงหาความรู้ผ่านสื่อที่หลากหลายทําให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (3) การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรควรส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านกิจกรรม เช่น การทัศนศึกษาการเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม (4) การวัดผลและประเมินผล ตามสภาพจริงควรสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนและสถานศึกษา โดยครูควรแสวงหาวิธีพัฒนาและประเมินตามสภาพจริงของนักเรียน ผ่านสื่อต่างๆ อาทิระบบอินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ ช่องโทรทัศน์ครู (Teacher channel) คู่มือการเรียนรู้ต่างๆ เป็นต้น
คำสำคัญ: การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธ, วิถีพุทธ, ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ABSTRACT
The Title Learning and Teaching by Means of Buddhist way in the Primary School
of Kallayaneesithammarat School Nakhon Si Thammarat Province
The Author Miss. Sumontha Silapat
The Research aims to study teaching and learning activity in the Buddhist way in Primary School 1st of Kallayaneesithammarat School Nakhon Si Thammarat Province. The research was conducted by the survey research method; the primary sources derived from the Tipitaka and the secondary sources acquired from the relevant research, books and the questionnaires also used for collecting field data.
The research findings were as follow:
The results revealed that the over all of the questionnaires answer from teachers and students on teaching and learning activities in four aspects of the Buddhist ways ; the learning and teaching activities, the media and technology innovations, the activities for supporting multiple intelligence and the authentic assessments were at the significant level of 4.00. With regard to the teachers idea on the guidelines for providing the learning and teaching activities can be divided into four aspects as follows; 1) the learning and teaching activities in the primary level need to be improved in order to point out the importance of Buddhism subject and the students lack of responsibilities and need to motivate the them all the time. 2) The media and technology innovations are not suitable for providing the learning and teaching activities. It needs to produce the instruction media. 3) The activities for supporting multiple intelligence found that there is no time enough for providing the activities in line of Buddhist ways. 4) The authentic assessments found that it cannot be achieved because of the content and the limited time. The suggestions for providing the learning and teaching activities can be divided into four aspects as follows; 1) the learning and teaching activities must motivate the students to pay attention to the class and creating the value for their daily life. 2) The application of media and technology innovations would promote students with the lifelong learning. 3) The activities for supporting multiple intelligence found that the students should be encouraged to learn through the extra activities such as the excursions or participating in the moral camp. 4) The authentic assessments should be consistent with the students and the schools and teachers should search and develop the authentic assessments through all kinds of media such as newspapers, television on the Teacher Chanel and all relevant books.
Keywoed: Learning and Teaching by Means of Buddhist way, Buddhist way, Primary School