ชื่อเรื่อง ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นางสาวนูรฟาฏีมะฮ์ สะดียามู
หน่วยงาน โรงเรียนเขื่อนบางลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2
ปีที่รายงาน 2561
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 64 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ จำนวน 4 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำจำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.78/81.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเขื่อนบางลางพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ มีความก้าวหน้าสูงขึ้น คิดเป็นค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 10.35 และมีค่าเฉลี่ยร้อยละ เท่ากับ 34.50
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเขื่อนบางลาง ความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D.= 0.53 )