เล่ม ๑
แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย ชุดการใช้คำในภาษาไทย เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระภาษาไทย ท๒๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
นางปาลิกา ตัณจนรัตน์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ สำนักการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
คำนำ
แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย ชุดการใช้คำในภาษาไทย เล่มที่ ๑
เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นนวัตกรรมประกอบการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท๒๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเป็นการฝึกให้นักเรียนได้ค้นคว้าความรู้ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถนำแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยนี้ไปใช้ศึกษาหาความรู้นอกชั้นเรียนหรือนอกเวลาเรียนได้ แบบฝึกทักษะชุดนี้มีทั้งหมด ๖ เล่ม ดังนี้
เล่มที่ ๑ เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้
เล่มที่ ๒ เรื่อง คำยืมภาษาบาลี-สันสกฤต
เล่มที่ ๓ เรื่อง คำยืมภาษาเขมร
เล่มที่ ๔ เรื่อง คำยืมภาษาจีน
เล่มที่ ๕ เรื่อง คำยืมภาษาชวา-มลายู
เล่มที่ ๖ เรื่อง คำยืมภาษาอังกฤษ
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ บรรลุวัตถุประสงค์ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ปาลิกา ตัณจนรัตน์
สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ
สารบัญ
ส่วนประกอบของแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย
มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้
คำชี้แจงสำหรับครู
คำชี้แจงสำหรับนักเรียน
ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม
กระดาษคำตอบก่อนเรียน
ใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้
แบบฝึกทักษะที่ ๑.๑
แบบฝึกทักษะที่ ๑.๒
แบบฝึกทักษะที่ ๑.๓
แบบฝึกทักษะที่ ๑.๑
แบบฝึกทักษะที่ ๑.๑
กระดาษคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบหลังเรียน
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
- เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
- เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน
- เฉลยแบบฝึกทักษะที่ ๑.๑-๑.๓
ส่วนประกอบของแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย
ชุด การใช้คำในภาษาไทย
เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้
๑. มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้
๒. คำชี้แจงสำหรับครู
๓. คำชี้แจงสำหรับนักเรียน
๔. ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม
๕. กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน
๖. แบบทดสอบก่อนเรียน
๗. ใบความรู้
๘. แบบฝึกทักษะ
๙. กระดาษคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน
๑๐. แบบทดสอบหลังเรียน
๑๑. บรรณานุกรม
๑๒. ภาคผนวก
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ท ๔.๑ : เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลง
ของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษา
ภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ตัวชี้วัด
ม.๓/๑ จำแนกและใช้คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
สาระสำคัญ
ภาษาไทยเป็นภาษาในตระกูลคำโดด ส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียว คำแต่ละคำ
จะมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง เมื่อต้องการจะสื่อความหมายใด ก็นำคำที่มีความหมายนั้นมาเรียงต่อกันเพื่อแทนความคิดหรือเรื่องราวที่จะสื่อออกไปโดยคำนั้น ๆ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปคำ มีตัวสะกดตรงตามมาตรา ไม่มีการันต์ มีเสียงวรรณยุกต์เพื่อแสดงความหมายของคำ มีคำลักษณนามใช้ ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะของตนเอง การเรียนรู้เรื่องลักษณะของภาษาไทยหรือคำไทยแท้ จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ ต่อไป
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. บอกตระกูลของภาษาไทยและการเรียงคำในประโยคได้
๒. ระบุลักษณะการใช้ตัวสะกด การันต์ วรรณยุกต์ในคำไทยแท้ได้
๓. จำแนกคำที่ออกเสียง ไอ ลักษณนามและจำแนกคำไทยแท้ได้
สาระการเรียนรู้
๑. ตระกูลของภาษาไทยและการเรียงคำในประโยค
๒. การใช้ตัวสะกด ตัวการันต์ วรรณยุกต์ในคำไทยแท้
๓. การใช้คำที่ออกเสียง ไอ พยัญชนะบางตัวและลักษณนามในคำไทยแท้
คำชี้แจงสำหรับครู
การใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย ชุดการใช้คำในภาษาไทย เล่มที่ ๑
เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้ สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญดังนี้
๑. ครูศึกษาคู่มือการใช้และแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้
๒. เตรียมความพร้อมนักเรียนก่อนการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
๓. เตรียมแบบฝึกทักษะ แบบบันทึกคะแนนประจำแบบฝึกทักษะ เล่มที่ ๑
เรื่องลักษณะคำไทยแท้ ให้พร้อม
๔. แนะนำขั้นตอนการใช้แบบฝึกและแนวปฏิบัติให้นักเรียนทราบโดยละเอียด
๕. จัดทำกิจกรรมการเรียนการสอน โดยปฏิบัติตามกิจกรรมในแบบฝึกทักษะ ชุดการใช้คำในภาษาไทย เล่มที่ ๑ เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้ อย่างเคร่งครัด ครูต้องกำกับดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดขณะจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
๖. หลังจากทำกิจกรรมการเรียนการสอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนเก็บวัสดุอุปกรณ์ประกอบแบบฝึกทักษะให้เรียบร้อย
๗. บันทึกผลคะแนนจากการทำกิจกรรมในแบบฝึกทักษะ ตามเกณฑ์การวัดประเมินผลที่ระบุในแผนการจัดการเรียนรู้ให้เรียบร้อย
คำชี้แจงสำหรับนักเรียน
การใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย ชุดการใช้คำในภาษาไทย เล่มที่ ๑
เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้ สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ นักเรียนมีบทบาทสำคัญดังนี้
๑. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนตามที่ครูกำหนดให้
๒. ตั้งใจฟังครูอธิบายแนวทางและวิธีการจัดการเรียนรู้
๓. นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ ๕ คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ และตั้งชื่อกลุ่ม
๔. อ่านคำสั่ง ปฏิบัติกิจกรรมตามลำดับ
๕. เมื่อทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนจัดโต๊ะเก้าอี้ให้เรียบร้อย
๖. นักเรียนควรใช้แบบฝึกอย่างระมัดระวัง
๗. นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมให้เรียบร้อย รวดเร็วทันเวลา
๘. ทำแบบทดสอบหลังเรียนตามที่ครูกำหนด
ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม
๑. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ โดยใช้เวลา ๑๐ นาที เพื่อประเมินความรู้เดิม
๒. อ่านคำสั่ง แล้วปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจ
๓. นักเรียนในแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาใบความรู้ เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้
๔. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะที่ ๑.๑ ๑.๓ เสร็จแล้ว ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องจากเฉลยแบบฝึกทักษะที่๑.๑ - ๑.๓ พร้อมทั้งช่วยกันแก้ไขเมื่อตอบผิด
๕. บันทึกคะแนนการทำแบบฝึกทักษะลงในแบบบันทึกคะแนน
๖. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ โดยใช้เวลา ๑๐ นาที
๗. นักเรียนตรวจแบบทดสอบหลังเรียน โดยเปลี่ยนกันตรวจภายในกลุ่ม แล้วบันทึกคะแนนในแบบบันทึกคะแนน
หมายเหตุ
๑. ตั้งใจศึกษาบทเรียนและทำความเข้าใจโดยละเอียดทุกขั้นตอน
๒. ทำแบบทดสอบและกิจกรรมด้วยความซื่อสัตย์
๓. ข้อความใดน่าสนใจควรจดบันทึกลงในสมุดของนักเรียน
๔. ถ้ามีข้อสงสัยหรือเกิดปัญหาให้ถามครูผู้สอน
กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้
ข้อ ก ข ค ง
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
เกณฑ์การประเมิน
๘ ๑๐ คะแนน ระดับคุณภาพ ๓ หมายถึง ดี
๘ ๑๐ คะแนน ระดับคุณภาพ ๓ หมายถึง ดี
๘ ๑๐ คะแนน ระดับคุณภาพ ๓ หมายถึง ดี
สรุปผลการประเมิน
ประเมินผล ก่อนเรียน
คะแนนเต็ม ๑๐
คะแนนที่ได้
แบบทดสอบก่อนเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
เรื่อง ลักษณะของคำไทยแท้
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกาเครื่องหมาย
X ลงในกระดาษคำตอบ
๑. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของคำไทยแท้
ก. มีวรรณยุกต์ใช้เพื่อแสดงความหมายของคำ
ข. มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำก่อนนำไปใช้
ค. มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
ง. มีลักษณนาม
๒. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. คำไทยแท้ไม่มีการันต์
ข. คำไทยแท้มักมีพยางค์เดียว
ค. คำไทยแท้คำเดียวอาจมีความหมายหลายอย่าง
ง. คำไทยแท้ใช้สระ ใ ไม้ม้วน ๒๐ คำ นอกนั้นใช้ -ัย
๓. คำหลายพยางค์ที่เกิดจากการเติมเสียงคือข้อใด
ก. กระโจน ประท้วง ข. ตะวัน นกกระจอก
ค. สะใภ้ ตะขาบ ง. สะดือ ลูกกระดุม
๔. ข้อใดเป็นคำหลายพยางค์ด้วยเหตุผลเดียวกับคำว่า ตะวัน
ก. กระโดด ข. มะเขือ
ค. ประท้วง ง. กระทำ
๕. คำในข้อใดเป็นคำไทยแท้ทุกคำ
ก. ธูป เทียน ข. ศีรษะ ผม
ค. จิต ใจ ง. มืด ค่ำ
๖. คำที่ออกเสียง ไอ ข้อใดไม่ใช่คำไทยแท้
ก. เหล็กใน ไจไหม ข. ปัจจัย ภูวไนย
ค. เหลวไหล หลงใหล ง. ใส่ใจ ผลักไส
๗. ข้อใดมีคำไทยแท้น้อยที่สุด
ก. พระอภัยใจอ่อนถอนสะอื้น
ข. อุตส่าห์ฝืนพักตร์ว่านิจจาเอ๋ย
ค. แม่ผีเสื้อเมื่อไม่เห็นในใจเลย
ง. พี่ไม่เคยอยู่ในถ้ำให้รำคาญ
๘. พอล่วงปัจฉิมราตรี ภาณุมาศส่งศรีประภัสสร
ดาวเดือนเลื่อนลับอัมพร สกุณาบินร่อนหากัน
จากบทร้อยกรองนี้วรรคใดมีคำไทยแท้เท่ากัน
ก. วรรคที่ ๑ กับวรรคที่ ๒
ข. วรรคที่ ๒ กับวรรคที่ ๓
ค. วรรคที่ ๓ กับวรรคที่ ๔
ง. วรรคที่ ๔ กับวรรคที่ ๑
๙. ข้อใดวางลำดับคำเข้าประโยคไม่ถูกต้อง
ก. เขาซื้อไม่ได้หนังสือแบบเรียนคณิตศาสตร์
ข. ครูให้นักเรียนทำการบ้าน
ค. คุณจะอยู่บ้านหลังไหน
ง. เธอรอเขานานจนกระทั่งค่ำ
๑๐. ข้อใดเรียงลำดับคำเปลี่ยนตำแหน่งแล้วความหมายเปลี่ยนไป
ก. ๑. ตามธรรมดาแดงเป็นคนขยันนะ
๒. แดงเป็นคนขยันนะตามธรรมดา
ข. ๑. บนสะพานรถติดมาก
๒. รถติดมากบนสะพาน
ค. ๑. ตอนกลางคืนอากาศหนาวมาก
๒. อากาศหนาวมากตอนกลางคืน
ง. ๑. แม่ให้น้องให้เงินขอทาน
๒. ให้น้องแม่ให้เงินของทาน
ใบความรู้ที่ ๑
ลักษณะคำไทยแท้
เรื่อง ตระกูลภาษาไทย
คำที่เราใช้เขียน อ่าน พูด สื่อสารกันในปัจจุบันนี้มีทั้งคำที่มีอยู่ดั้งเดิมในภาษา
เรียกว่า คำไทยแท้ และคำที่รับมาจากภาษาอื่น ซึ่งมีลักษณะบางประการที่เรา
สามารถสังเกตได้ว่าคำใดมาจากภาษาใด คำไทยแท้ มีลักษณะเฉพาะของตนเอง คือ
คำไทยแท้เป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท กะได๑ ซึ่งเป็นหนึ่ง
ในภาษาสาขาไทตะวันตกเฉียงใต้ เป็นภาษาที่มีคำใช้โดยอิสระไม่มีการเปลี่ยนแปลง
รูปคำ และมีลักษณะเด่นคือส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียว มีความหมายสมบูรณ์ในคำ
แต่ละคำฟังแล้วเข้าใจทันที เช่น ปู่ ยาย ลุง ป้า หัว ผม หน้า ตา หู คิ้ว ปาก
ดิน น้ำ นั่ง ฯลฯ อย่างไรก็ดีเรายังพบว่ายังมีคำหลายพยางค์อีกจำนวนหนึ่งเป็นคำ
ไทยแท้เช่นกัน ลักษณะดังกล่าวนี้เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เกิดจากการกร่อนของเสียง คือ เดิมจากคำพยางค์เดียว ๒ คำมาเรียงกัน
เมื่อพูดเร็ว ๆ คำแรกจึงกร่อนเสียงไป เช่น อันหนึ่ง กร่อนเป็น อนึ่ง
ฉันนั้น กร่อนเป็น ฉะนั้น หมากขาม กร่อนเป็น มะขาม
เกิดจากการแทรกเสียง คือ เดิมจากคำพยางค์เดียว ๒ คำเรียงกัน ต่อมา
มีการแทรกเสียง อะ ตรงกลาง เช่น
ลูกดุม แทรกเป็น ลูกกระดุม ลูกท้อน แทรกเป็น ลูกกระท้อน
นกจอก แทรกเป็น นกกระจอก ลูกเดือก แทรกเป็น ลูกกระเดือก
เกิดจากการเติมพยางค์หน้า คือ เดิมจากคำพยางค์เดียวแล้วเพิ่ม
พยางค์หน้าโดยมีความหมายใกล้เคียงกับคำเดิม เช่น
โจน เติมเป็น กระโจน, ทำ เติมเป็น กระทำ
จุ๋มจิ๋ม เติมเป็น กระจุ๋มกระจิ๋ม เดี๋ยว เติมเป็น ประเดี๋ยว
การเรียงคำในประโยค
การเรียงคำในประโยค ในการเรียงคำในประโยคภาษาไทยจะเป็นไป
ตามลำดับ คือ ประธาน กริยา กรรม ส่วนคำขยายจะเรียงหลังคำที่ถูกขยายเสมอ
เช่น เขาเดินเร็ว (เร็ว เรียงไว้หลัง เดิน เพราะทำหน้าที่ขยาย เดิน)
ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด การเรียงคำในภาษาไทยจึงมีความสัมพันธ์กัน
ด้วยตำแหน่งและความหมาย หากเปลี่ยนตำแหน่งในการเรียงคำก็จะทำให้
ความหมายและหน้าที่ของคำเปลี่ยนไป ดังตัวอย่าง
ลูกมด มดลูก เดินทาง ทางเดิน ห่มผ้า- ผ้าห่ม ผมดัด ดัดผม
หรือ ขันอยู่บนโต๊ะ (ขัน หมายถึง ภาชนะตักน้ำ เป็นประธานของประโยค)
เขาขันเกลียว (ขัน หมายถึง ทำให้แน่น เป็นกริยาของประโยค)
เขาพูดขัน (ขัน หมายถึง น่าหัวเราะ เป็นวิเศษณ์เพราะขยายกริยา พูด)
เขาเล่นกันในห้องแต่แปลกใจนักทำไมเขากันไม่ให้กันเข้าไปในห้อง
กัน คำแรก เป็นคำสรรพนาม ที่ใช้แทนคำนามที่ไม่ต้องการเอ่ยซ้ำ
กัน คำที่สอง เป็นคำกริยา หมายถึง ขัดขวางไม่ให้ทำ
กัน คำที่สาม เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้แทนตัวผู้พูด
การใช้ตัวสะกด ตัวการันต์ วรรณยุกต์ในคำไทยแท้
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองและมีความแตกต่างจากภาษาอื่นที่นำมาใช้ในภาษาไทย ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยหรือคำไทยแท้ประการหนึ่งคือ
คำไทยแท้ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราและไม่มีการันต์ คำไทยแท้ทั้งในมาตราแม่ ก กา และในมาตราตัวสะกดทั้ง ๘ มาตรา มีตัวสะกดตรงตามมาตราและไม่มีการันต์ ดังตัวอย่าง
แม่ ก กา เช่น แก คู่ งา จุ แม่ กก เช่น กาก โชก คอก
แม่ กง เช่น กาง ขัง โลง แม่ กด เช่น กีด ขุด คัด
แม่ กบ เช่น กับ คืบ เงียบ แม่ กม เช่น กลม ชิม โคม
แม่ เกย เช่น เกย ชาย คุย แม่ เกอว เช่น กาว คิ้ว แมว
เพราะฉะนั้นถ้าใช้พยัญชนะตัวอื่น ๆ ในมาตราที่มีตัวสะกดหลายตัว เช่น แม่ กก ใช้ ตัว ข ค ฆ สะกด แม่กน ใช้ตัว ญ ณ ร ล ฬ ฯลฯ สะกด หรือถ้าเห็นคำใดมีตัวการันต์หรือพยัญชนะที่มีไม้ทัณฑฆาตอยู่บน ก็อาจเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ไม่ใช่คำไทยแท้
คำไทยแท้ใช้รูปและเสียงวรรณยุกต์เพื่อแสดงความหมายของคำ เมื่อ
เสียงวรรณยุกต์ของคำเปลี่ยนไป ความหมายของคำก็เปลี่ยนไปด้วย เช่น
จา จ่า จ้า จ๊า จ๋า ขา ข่า ข้า คา ค่า ค้า
ข้อสังเกต ๑. คำบางคำตัวสะกดตรงตามมาตราแต่ไม่ใช่คำไทย เช่น
คำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต : ยาน (เครื่องนำไป) พน (ป่า) ชน (คน)
ชิน (ผู้ชนะ) โลก
คำที่มาจากภาษาเขมร : เกิด ชุม ทบ ทูน เดิน โดย เรียน โฉด (โง่)
๒. คำบางคำตัวสะกดไม่ตรงมาตราแต่เป็นคำไทยแท้ เช่น
อรชร (มาจาก อ่อนซ้อน) ดูกร (มาจาก ดูก่อน)
การใช้คำที่ออกเสียง ไอ พยัญชนะบางตัว และลักษณนามในคำไทยแท้
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองและมีความแตกต่างจาก
ภาษาอื่นที่นำมาใช้ในภาษาไทย ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยหรือคำไทยแท้ มีดังนี้
การใช้คำที่ออกเสียง ไอ
คำไทยที่ออกเสียง ไอ ใช้สระ ใ- ไม้ม้วน มี ๒๐ คำ นอกนั้น
ใช้สระ ไ- ไม้มลาย และถ้าคำใดใช้ ัย หรือ ไ-ย สันนิษฐานได้ว่ามาจากภาษาอื่น
คำไทยแท้ใช้สระ ใ- ไม้ม้วน มี ๒๐ คำ ได้แก่ คำต่อไปนี้
ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใหญ่ ใด ใต้ ใน ใบ ใบ้ ใฝ่ สะใภ้ ใย ใส ใส่ ให้ ใหม่ ใหล
ตัวอย่างคำไทยที่ใช้สระ ไ- ไม้มลาย เช่น ไก ไก่ ไกร ไกล ไข
ไข่ ไข้ ตะไคร่ ตะไคร้ ไง ไจ ไช ไซ ไซ้ ไซร้ บันได ได้ ฯลฯ
การใช้พยัญชนะบางตัว
คำไทยแท้ส่วนมากไม่ใช้พยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฤ ยกเว้น ฆ่า ฆ้อง เฆี่ยน ระฆัง ตะเฆ่ หญิง ใหญ่ หญ้า ธ เธอ ธง ณ ฯพณฯ ศอก ศึก เศร้า เศิก ศก (ผม)
คำไทยแท้ไม่นิยมใช้พยัญชนะควบกล้ำ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นตัวสะกด ซึ่งจะเป็นคำมาจากภาษาอื่น เช่น บุตร เกษตร สมัคร
คำไทยแท้มีคำลักษณนามใช้ คำลักษณนามคือคำนามที่บอกลักษณะของสิ่งต่าง ๆ คำลักษณนามจะอยู่หลังคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับ หรืออยู่หลังคำนามเพื่อเน้นความ เช่น แมว ๑๐ ตัว (ตัว เป็นคำลักษณนามเพราะอยู่หลังจำนวนนับ ๑๐)
บ้าน ๑ หลัง (หลัง เป็นคำลักษณนามเพราะอยู่หลังจำนวนนับ ๑)
ปลาตัวใหญ่นี้แพงมาก (ตัว เป็นคำลักษณนามเพราะอยู่หลังคำนาม ปลา)
แบบฝึกทักษะที่ ๑.๑
วิชาภาษาไทย ท๒๓๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ชื่อ..........................................................................ชั้น ม.๓/.........เลขที่..................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำชี้แจง ให้นักเรียนพิจารณาข้อความต่อไปนี้ แล้วทำเครื่องหมาย หน้าข้อความ
ที่ถูกต้อง และทำเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
..............๑. ภาษาไทยแท้เป็นภาษาในตระกูลคำโดด มักเป็นคำพยางค์เดียว
..............๒. คำในภาษาไทยแท้จะเปลี่ยนแปลงรูปคำ เมื่อเปลี่ยนหน้าที่
..............๓. ภาษาไทยใช้พูดฟังทั้งอ่านเขียน เป็นคำพยางค์เดียวทั้งหมด
๔. สาเหตุที่ทำให้คำไทยแท้มีหลายพยางค์คือ เกิดจากการกร่อนเสียง
เกิดจากการเติมเสียง และเกิดจากการแทรกเสียง
๕. สะดือ เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากการเติมเสียง
............. ๖. คำว่า นกกระจิบ เป็นคำไทยแท้มีหลายพยางค์ ที่เกิดจากสาเหตุ
เดียวกับคำว่า ผักกระเฉด
..............๗. อนึ่ง เป็นคำไทยแท้หลายพยางค์ที่เกิดจากการกร่อนเสียง
..............๘. ลูกกระดุม เป็นคำไทยแท้หลายพยางค์ที่เกิดจากสาเหตุเดียวกับ
คำว่า ลูกสะใภ้
..............๙. โรงเรียนนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ข้อความนี้เรียงตามลำดับ คือ
ประธาน กริยา กรรม
..............๑๐. คำว่า สาง ในประโยคที่ (๑) (๒) และ (๓) มีหน้าที่และความหมาย
ต่างกัน (๑) เขาตื่นนอนตอนฟ้าสาง
(๒) ผมยุ่งสางเท่าไรก็ไม่ออก
(๓) ผีสางนางไม้มักจะอาศัยอยู่ในป่า
๑สถาบันภาษาไทย. บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๕.
แบบฝึกทักษะที่ ๑.๒
วิชาภาษาไทย ท๒๓๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ชื่อ..........................................................................ชั้น ม.๓/.........เลขที่..................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตอนที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนเติมคำในช่องว่าให้ถูกต้องสมบูรณ์
๑. มดกัดกบ เป็นคำไทยแท้ทุกคำเพราะ...........................................................
๒. บุญ บาป ศาล ไม่ใช่คำไทยแท้เพราะ..............................................
๓. ฤกษ์ ฟิล์ม พิมพ์ ไม่ใช่คำไทยแท้เพราะ..............................................
๔. เจ้าจะโกรธโทษใครไปไยเล่า มีคำไทยแท้ทั้งหมด.............คำ ได้แก่............
๕. ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ มีคำที่ไม่ใช่คำไทยแท้ทั้งหมด...........คำ คือ..........
๖. นกแก้วแจ้วแจ่มเสียง จับไม้เรียงเคียงคู่สอง
เหมือนพี่นี้ประคอง รับขวัญน้องต้องมือเบา
บทร้อยกรองนี้มีคำที่ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา.................คำ คือคำว่า........
๗. สิ่งแวววาวราวสุวรรณนั้นลวงเนตร มิใช่ทองของวิเศษไปทั้งสิ้น
ภาษิตนี้มีไว้ใส่ใจจินต์ ลองถวิลก็จะเห็นเป็นข้อธรรม
บทร้อยกรองนี้มีคำที่ไม่ใช่คำไทยแท้....................คำ คือคำว่า........................
..................................................เพราะ..........................................................
ตอนที่ ๒ ปริศนาคำทาย
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านปริศนาต่อไปนี้ครั้งละ ๑ บทแล้วช่วยกันตอบปริศนา
คำตอบมี ๓ คำ ผันเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน เมื่อได้คำตอบที่ถูกต้องแล้ว ให้ทุกคน
เขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบของตนเอง
ตัวอย่าง เป็นลายลักษณ์อักษรประดิษฐ์ไว้ ตอบ คำ
สิ้นแสงอโณทัยไม่เห็นหน ตอบ ค่ำ
ช่วยอุดหนุนจุนเจือเพื่อปวงชน ตอบ ค้ำ
อย่าร้อนรนรีบทายสบายใจ
๑. ปริศนาที่ ๑ เครื่องดนตรีที่อีสานหวานเสนาะ ตอบ.............
ฝืนหัวเราะฝืนใจไม่ประสงค์ ตอบ.............
ขุ่นเคืองใจไม่หายไม่คลายลง ตอบ.............
ขอท่านจงทักทายทำนายเอย
๒. ปริศนาที่ ๒ อยู่ที่ท้ายตัวสัตว์ชัดน่าขัน ตอบ.............
เติมเอกพลันแปลว่าไกลไม่ชิดถี่ ตอบ..............
แหล่งจำหน่ายสินค้าสารพัดมี ตอบ..............
สามคำนี้ลองผันวรรณยุกต์เอย
๓. ปริศนาที่ ๓ มีน้ำขังค้างล้นอยู่บนพื้น ตอบ...............
เวลายืนลำแข้งอยู่ข้างหน้า ตอบ...............
เกิดทีหลังเรียกว่าอนุชา ตอบ..............
ง่ายหนักหนาลองผันวรรณยุกต์ดู
แบบฝึกทักษะที่ ๑.๓
วิชาภาษาไทย ท๒๓๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ชื่อ..........................................................................ชั้น ม.๓/.........เลขที่..................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตอนที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำที่อยู่ในวงเล็บด้านขวามือมาเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
๑. อย่าหลง............นอนผวาน้ำตา............... (ใหล ไหล หลัย)
๒. เร่งหา...............กรอฝ้าย ภาย................ห้อง (ใน ไน นัย)
๓. ริมธาร............ใคร...........ไม้ได้เป็นกอง (ใส ไส ไสย )
๔. ไหม........นี้ ให้น้องของชอบ........ (ใจ ไจ จัย)
ตอนที่ ๒
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำลักษณนามด้านขวามือ มาเติมลงในช่องว่างหน้าข้อความ
ด้านซ้ายมือให้ถูกต้อง
...........๑. ขลุ่ย ก. ลูก
.......... ๒. งาช้าง ข. ใบ
...........๓. มุ้ง ค. กิ่ง
...........๔. แจกัน ง. ช่อ
...........๕. ดอกไม้จันทน์ จ. เลา
.......... ๖. ไซ ฉ. หลัง
ช. ดอก
กระดาษคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน
เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้
ข้อ ก ข ค ง
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
เกณฑ์การประเมิน
๘ ๑๐ คะแนน ระดับคุณภาพ ๓ หมายถึง ดี
๘ ๑๐ คะแนน ระดับคุณภาพ ๓ หมายถึง ดี
๘ ๑๐ คะแนน ระดับคุณภาพ ๓ หมายถึง ดี
สรุปผลการประเมิน
ประเมินผล ก่อนเรียน
คะแนนเต็ม ๑๐
คะแนนที่ได้
แบบทดสอบหลังเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
เรื่อง ลักษณะของคำไทยแท้
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกาเครื่องหมาย
X ลงในกระดาษคำตอบ
๑. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของคำไทยแท้
ก. มีลักษณนาม
ข. มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
ค. มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำก่อนนำไปใช้
ง. มีวรรณยุกต์ใช้เพื่อแสดงความหมายของคำ
๒. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. คำไทยแท้ใช้สระ ใ ไม้ม้วน ๒๐ คำ นอกนั้นใช้ -ัย
ข. คำไทยแท้คำเดียวอาจมีความหมายหลายอย่าง
ค. คำไทยแท้มักมีพยางค์เดียว
ง. คำไทยแท้ไม่มีการันต์
๓. คำหลายพยางค์ที่เกิดจากการเติมเสียงคือข้อใด
ก. สะดือ ลูกกระดุม ข. ตะวัน นกกระจอก
ค. สะใภ้ ตะขาบ ง. กระโจน ประท้วง
๔. ข้อใดเป็นคำหลายพยางค์ด้วยเหตุผลเดียวกับคำว่า ตะวัน
ก. กระโดด ข. ตะโก
ค. ประท้วง ง. กระทำ
๕. คำในข้อใดเป็นคำไทยแท้ทุกคำ
ก. ธูป เทียน ข. ศีรษะ ผม
ค. จิต ใจ ง. เช้า เย็น
๖. คำที่ออกเสียง ไอ ข้อใดไม่ใช่คำไทยแท้
ก. ปัจจัย ภูวไนย ข. เหล็กใน ไจไหม
ค. เหลวไหล หลงใหล ง. ใส่ใจ ผลักไส
๗. ข้อใดมีคำไทยแท้มากที่สุด
ก. พระอภัยใจอ่อนถอนสะอื้น ข. อุตส่าห์ฝืนพักตร์ว่านิจจาเอ๋ย
ค. แม่ผีเสื้อเมื่อไม่เห็นในใจเลย ง. พี่ไม่เคยอยู่ในถ้ำให้รำคาญ
๘. พอล่วงปัจฉิมราตรี ภาณุมาศส่งศรีประภัสสร
ดาวเดือนเลื่อนลับอัมพร สกุณาบินร่อนหากัน
จากบทร้อยกรองนี้วรรคใดมีคำไทยแท้น้อยที่สุด
ก. วรรคที่ ๑ ข. วรรคที่ ๒
ค. วรรคที่ ๓ ง. วรรคที่ ๔
๙. ข้อใดเรียงลำดับคำเข้าประโยคไม่ถูกต้อง
ก. คุณจะอยู่บ้านหลังไหน
ข. ครูให้นักเรียนทำการบ้าน
ค. เธอรอเขานานจนกระทั่งค่ำ
ง. เขาซื้อไม่ได้หนังสือแบบเรียนภาษาไทย
๑๐. ข้อใดเรียงลำดับคำเปลี่ยนตำแหน่งแล้วความหมายเปลี่ยนไป
ก. ๑. บนสะพานรถติดมาก
๒. รถติดมากบนสะพาน
ข. ๑. แม่ให้น้องให้เงินขอทาน
๒. ให้น้องแม่ให้เงินของทาน
ค. ๑. ตามธรรมดาแดงเป็นคนขยันนะ
๒. แดงเป็นคนขยันนะตามธรรมดา
ง. ๑. ตอนกลางคืนอากาศหนาวมาก
๒. อากาศหนาวมากตอนกลางคืน
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครูภาษาไทย ท ๓๕๑ หลักภาษาเพื่อ
การสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา,
๒๕๒๘.
_______. บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๑ : ระบบเสียง อักษรไทย การอ่านคำและ
การเขียนสะกดคำ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๕.
_______. หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๓๐๕ ท ๓๐๖ หลักภาษาไทย เล่ม ๓.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๖.
พิณทอง ทองแถม, หม่อมหลวง. คู่มือภาษาไทย ม. ๓. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
เดอะบุคส์, ม.ป.ป.
ฟองจันทร์ สุขยิ่ง. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ภาษาไทย ม.๓ ช่วงชั้นที่ ๓. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์,
๒๕๔๘.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ :
นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖.
_______. อ่านอย่างไร และเขียนอย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ ๑๗. กรุงเทพฯ :
อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๘.
วัชรพงศ์ โกมุทธรรมวิบูลย์. แผนการจัดการเรียนรู้ (รายชั่วโมง) ภาษาไทย
(วิวิธภาษา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์,
ม.ป.ป.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. บรรทัดฐาน
ภาษาไทย เล่ม ๒ : คำ การสร้างคำและการยืมคำ. กรุงเทพฯ :
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, ๒๕๔๙.
ภาคผนวก
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง ลักษณะของคำไทยแท้
๑. ข
๒. ง
๓. ก
๔. ข
๕. ง
๖. ข
๗. ข
๘. ค
๙. ก
๑๐. ง
เฉลย แบบทดสอบหลังเรียน
เรื่อง ลักษณะของคำไทยแท้
๑. ค
๒. ก
๓. ง
๔. ข
๕. ง
๖. ก
๗. ค
๘. ข
๙. ง
๑๐. ข
เฉลยแบบฝึกทักษะที่ ๑.๑
วิชาภาษาไทย ท๒๓๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ชื่อ..........................................................................ชั้น ม.๓/.........เลขที่..................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำชี้แจง ให้นักเรียนพิจารณาข้อความต่อไปนี้ แล้วทำเครื่องหมาย หน้าข้อความ
ที่ถูกต้อง และทำเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
....... .......๑. ภาษาไทยแท้เป็นภาษาในตระกูลคำโดด มักเป็นคำพยางค์เดียว
....... .......๒. คำในภาษาไทยแท้จะเปลี่ยนแปลงรูปคำ เมื่อเปลี่ยนหน้าที่
.............๓. ภาษาไทยใช้พูดฟังทั้งอ่านเขียน เป็นคำพยางค์เดียวทั้งหมด
.
.๔. สาเหตุที่ทำให้คำไทยแท้มีหลายพยางค์คือ เกิดจากการกร่อนเสียง
เกิดจากการเติมเสียง และเกิดจากการแทรกเสียง

๕. สะดือ เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากการเติมเสียง
...... ....... ๖. คำว่า นกกระจิบ เป็นคำไทยแท้มีหลายพยางค์ ที่เกิดจากสาเหตุ
เดียวกับคำว่า ผักกระเฉด
........ ......๗. อนึ่ง เป็นคำไทยแท้หลายพยางค์ที่เกิดจากการกร่อนเสียง
...............๘. ลูกกระดุม เป็นคำไทยแท้หลายพยางค์ที่เกิดจากสาเหตุเดียวกับ
คำว่า ลูกสะใภ้
..............๙. โรงเรียนนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ข้อความนี้เรียงตามลำดับ คือ
ประธาน กริยา กรรม
....... ......๑๐. คำว่า สาง ในประโยคที่ (๑) (๒) และ (๓) มีหน้าที่และความหมาย
ต่างกัน (๑) เขาตื่นนอนตอนฟ้าสาง
(๒) ผมยุ่งสางเท่าไรก็ไม่ออก
(๓) ผีสางนางไม้มักจะอาศัยอยู่ในป่า
เฉลยแบบฝึกทักษะที่ ๑.๒
วิชาภาษาไทย ท๒๓๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ชื่อ..........................................................................ชั้น ม.๓/.........เลขที่..................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตอนที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนเติมคำในช่องว่าให้ถูกต้องสมบูรณ์
๑. มดกัดกบ เป็นคำไทยแท้ทุกคำเพราะ..สะกดตรงตามมาตราตัวสะกด.......
๒. บุญ บาป ศาล ไม่ใช่คำไทยแท้เพราะ...ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด...
๓. ฤกษ์ ฟิล์ม พิมพ์ ไม่ใช่คำไทยแท้เพราะ..เพราะมีตัวการันต์.....
๔. เจ้าจะโกรธโทษใครไปไยเล่า มีคำไทยแท้ทั้งหมด.....๖.....คำ ได้แก่. เจ้า จะ ใคร ไป ไย เล่า....
๕. ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ มีคำที่ไม่ใช่คำไทยแท้ทั้งหมด...๑......คำ คือ....ทรัพย์...
๖. นกแก้วแจ้วแจ่มเสียง จับไม้เรียงเคียงคู่สอง
เหมือนพี่นี้ประคอง รับขวัญน้องต้องมือเบา
บทร้อยกรองนี้มีคำที่ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา.......๑..........คำ คือคำว่า.....ขวัญ...
๗. สิ่งแวววาวราวสุวรรณนั้นลวงเนตร มิใช่ทองของวิเศษไปทั้งสิ้น
ภาษิตนี้มีไว้ใส่ใจจินต์ ลองถวิลก็จะเห็นเป็นข้อธรรม
บทร้อยกรองนี้มีคำที่ไม่ใช่คำไทยแท้.......๗.............คำ คือคำว่า.... สุวรรณ เนตร วิเศษ ภาษิต ถวิล ธรรม.....เพราะ.....สะกดตรงตามมาตราตัวสะกด...................
ตอนที่ ๒ ปริศนาคำทาย
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านปริศนาต่อไปนี้ครั้งละ ๑ บทแล้วช่วยกันตอบปริศนา
คำตอบมี ๓ คำ ผันเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน เมื่อได้คำตอบที่ถูกต้องแล้ว ให้ทุกคน
เขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบของตนเอง
ตัวอย่าง เป็นลายลักษณ์อักษรประดิษฐ์ไว้ ตอบ คำ
สิ้นแสงอโณทัยไม่เห็นหน ตอบ ค่ำ
ช่วยอุดหนุนจุนเจือเพื่อปวงชน ตอบ ค้ำ
อย่าร้อนรนรีบทายสบายใจ
๑. ปริศนาที่ ๑ เครื่องดนตรีที่อีสานหวานเสนาะ ตอบ.....แคน........
ฝืนหัวเราะฝืนใจไม่ประสงค์ ตอบ.....แค่น........
ขุ่นเคืองใจไม่หายไม่คลายลง ตอบ.....แค้น........
ขอท่านจงทักทายทำนายเอย
๒. ปริศนาที่ ๒ อยู่ที่ท้ายตัวสัตว์ชัดน่าขัน ตอบ.....หาง........
เติมเอกพลันแปลว่าไกลไม่ชิดถี่ ตอบ.....ห่าง........
แหล่งจำหน่ายสินค้าสารพัดมี ตอบ.....ห้าง.........
สามคำนี้ลองผันวรรณยุกต์เอย
๓. ปริศนาที่ ๓ มีน้ำขังค้างล้นอยู่บนพื้น ตอบ......นอง.........
เวลายืนลำแข้งอยู่ข้างหน้า ตอบ.......น่อง........
เกิดทีหลังเรียกว่าอนุชา ตอบ.......น้อง.......
ง่ายหนักหนาลองผันวรรณยุกต์ดู
เฉลยแบบฝึกทักษะที่ ๑.๓
วิชาภาษาไทย ท๒๓๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ชื่อ..........................................................................ชั้น ม.๓/.........เลขที่..................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตอนที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำที่อยู่ในวงเล็บด้านขวามือมาเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
๑. อย่าหลง....ใหล........นอนผวาน้ำตา.....ไหล.......... (ใหล ไหล หลัย)
๒. เร่งหา......ไน.........กรอฝ้าย ภาย.....ใน...........ห้อง (ใน ไน นัย)
๓. ริมธาร.....ใส.......ใคร.....ไส......ไม้ได้เป็นกอง (ใส ไส ไสย )
๔. ไหม...ไจ.....นี้ ให้น้องของชอบ...ใจ..... (ใจ ไจ จัย)
ตอนที่ ๒
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำลักษณะนามด้านขวามือ มาเติมลงในช่องว่างหน้าข้อความ
ด้านซ้ายมือให้ถูกต้อง
....จ.......๑. ขลุ่ย ก. ลูก
....ค...... ๒. งาช้าง ข. ใบ
....ฉ.......๓. มุ้ง ค. กิ่ง
....ข.......๔. แจกัน ง. ช่อ
....ง.......๕. ดอกไม้จันทน์ จ. เลา
....ก...... ๖. ไซ ฉ. หลัง
ช. ดอก
แบบบันทึกคะแนน
แบบทดสอบ
แบบทดสอบ คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้ ผลการประเมิน
ก่อนเรียน ๑๐ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๘๐
คะแนนหลังเรียนต้องได้ ๘ คะแนน
( ) ผ่าน ( ) ไม่ผ่าน
หลังเรียน ๑๐
คะแนนแบบฝึกทักษะ
แบบฝึกทักษะที่ คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้ เกณฑ์การประเมิน
๑.๑ ๑๐ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๘๐
คะแนนหลังเรียนต้องได้ ๒๔ คะแนน
( ) ผ่าน ( ) ไม่ผ่าน
๑.๒ ๑๐
๑.๓ ๑๐
ลงชื่อ..............................................................ผู้ประเมิน
(..................................................)
แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้
คำชี้แจง ครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการทำกิจกรรมตามที่กำหนดและให้บันทึกคะแนนลงในช่องที่ตรงกับพฤติกรรมของนักเรียน
เกณฑ์การประเมิน ผู้ผ่านเกณฑ์การประเมินได้คะแนนร้อยละ ๘๐ หรือ ๑๖ คะแนนขึ้นไป
เลขที่
ชื่อ ความสนใจ การแสดงความคิดเห็น การตอบคำถาม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
รวม
สรุปผล
การประเมิน
๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๒๐ ผ่าน ไม่ผ่าน
ลงชื่อ..............................................................ผู้ประเมิน
(..................................................)
เกณฑ์การให้คะแนนแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม (Rubrics)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
เรื่อง ลักษณะคำไทยแท้
ประเด็น
การประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน
๔ ๓ ๒ ๑
๑.ความสนใจ มีความสนใจในการทำงานดีมีความกระตือรือร้น
ในการทำงาน มีความสนใจในการทำงานดี
แต่ค่อยกระตือรือร้น
ในการทำงาน มีความสนใจทำงานเป็นบางครั้ง ไม่ค่อยกระตือรือร้น
ในการทำงาน ไม่มีความสนใจในการทำงานไม่มีความกระตือรือร้น
ในการทำงาน
๒.การแสดงความคิดเห็น ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แนะนำผู้อื่นได้ ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แต่ไม่สามารถแนะนำผู้อื่นได้ มีบางคนไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ไม่คนคนแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่องาน
๓.การตอบคำถาม ตอบคำถามได้ถูกต้องตรงประเด็นทุกข้อคำถาม ตอบคำถามได้ถูกต้องตรงประเด็นเป็นส่วนใหญ่ ตอบคำถามได้ถูกต้องตรงประเด็นเป็นบางข้อ ตอบคำถาม
ไม่ถูกต้อง
๔.การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยความเต็มใจทุกครั้ง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยความเต็มใจเป็นส่วนใหญ่ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยความเต็มใจเป็นบางครั้ง ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ประเด็น
การประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน
๔ ๓ ๒ ๑
๕.ทำงานที่ได้รับมอบหมาย ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จทุกครั้ง ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จเป็น
ส่วนใหญ่ ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จเป็น
บางครั้ง ไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้