ผู้รายงาน นายพรเทพ เสนนันตา
ปีการศึกษา 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนใน ถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 37
ในด้าน 1) บริบทของโครงการ 2) ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) กระบวนการดำเนินงานตามโครงการ 4) ผลผลิตของโครงการพิจารณารวมถึง ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 3 คน ข้าราชการครู จำนวน 24 คน พนักงานราชการ จำนวน 3 คน ครูอัตราจ้าง จำนวน 4 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ไม่นับรวมผู้อำนวยการโรงเรียนและตัวแทนครูผู้สอน) ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 209 คน ตัวแทนนักเรียน 209 รวมจำนวนกลุ่มเป้าหมาย 465 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
โรงเรียนบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 37 มี 2 ชนิดคือ
1) แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู พนักงานราชการ และ ครูอัตราจ้าง ที่มีรายละเอียดสอบถาม
ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ่อเกลือ ประเด็นคำถามเกี่ยวกับด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตโดยพิจารณารวมถึง ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงการเรียนรู้ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
โรงเรียนบ่อเกลือ สำหรับผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านด้านผลผลิตโดยพิจารณารวมถึง ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงการเรียนรู้ และฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการเข้าร่วมการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ่อเกลือ ข้อลักษณะของข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วน ประเมินค่า 5 ระดับ (Five Rating Scales) โดยประเมินความเหมาะสมมากที่สุดถึงน้อยที่สุด
2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่มีเนื้อหาครอบคลุมถึงการดำเนินงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ่อเกลือใช้สัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียนตัวแทนสายชั้นละ 2 คน รวม 12 คน
ผู้รายงานเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมินพบว่า
1) ผลการประเมินการจัดการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
โรงเรียนบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ด้านบริบท (Context) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนโครงการ เช่น ผู้ประกอบการธุรกิจ บริษัทเอกชน องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น รองลงมา คือ ผู้บริหารมีความเข้าใจและส่งเสริมในหลักการและรูปแบบกิจกรรมที่ดำเนินงานตามโครงการ ส่วนข้อที่ค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือ การประสานงานระหว่างบุคลากรทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการ
2) ผลการประเมินการจัดการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีเอกสารสรุปและรายงานผลการดำเนินการ รองลงมาคือการมอบหมายงานมีความเหมาะสมกับบุคคลากร ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือดำเนินการแผนงาน/ โครงการ/กิจกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ
3) ผลการประเมินการจัดการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือแผนการจัดการศึกษาส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจ มีการกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ไม่เน้นแต่เพียงเนื้อหาความรู้ที่จะสอนเท่านั้น รองลงมาคือกิจกรรมเรียนรู้ที่จัดขึ้นส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติอันจะก่อให้เกิดประสบการณ์ตรงกับนักเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการสะท้อนผลการจัดกิจกรรมแก่ผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง
4) ผลการประเมินการจัดการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ด้านผลผลิต (Product) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รู้จักแสวงหาความรู้อยู่เสมอและได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รองลงมา คือ มีการสํารวจสอบถาม ความต้องการ ในการพัฒนา จากผู้ปฏิบัติในพื้นที่จริง ๆ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือมีการส่งเสริมคุณธรรมกํากับควบคู่กับความรู้
4.1) ผลการประเมินการจัดการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ด้านผลผลิตพิจารณาในด้านผลกระทบ (Impact) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือนักเรียนมีความสุขกับการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการพระราชดำริ รองลงมา คือ ผู้เรียนมีผลงานที่เป็นรูปธรรมจากโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การส่งเสริมสนับสนุน ผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรมในโรงเรียน
4.2) ผลการประเมินการจัดการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
โรงเรียนบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ด้านผลผลิตพิจารณาในด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือส่งเสริม สนับสนุนปัจจัยให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมา คือ การคัดเลือกรูปแบบกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนตามบริบทของโรงเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับ
ความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนเป็นการต่อยอดความรู้เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาไปแล้ว
4.3) ผลการประเมินการจัดการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ด้านผลผลิตพิจารณาในด้าน
ความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ใช้ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมจริงและเกิดผลผลิตจากการปฏิบัติ สามารถเห็นผล เช่น มีความรู้เรื่องการทอผ้าจากการเรียนรู้จากวิทยากรภายนอก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสะท้อนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรม
4.4) ผลการประเมินการจัดการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ด้านผลผลิตพิจารณาในด้านการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transportability Evaluation) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเป็นโครงการที่พัฒนาความสามารถด้านการแก้ปัญหาและความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี รองลงมาคือเป็นโครงการที่ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม (มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน กตัญญู) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ เป็นโครงการที่ตอบสนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
ส่วนความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการประเมินการจัดการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว รองลงมา คือได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น