บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอน
คณิตศาสตร์ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ชนิด คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33-0.67 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ(KR-20) เท่ากับ 0.81 (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33-0.78 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.75 และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t test for Dependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในแก้โจทย์ปัญหาอยู่ใน
ระดับน้อย โดยวิเคราะห์จากคะแนนร้อยละ =50.65 และค่าเฉลี่ย= 10.13 และในสภาพปัจจุบันปัญหามีความต้องการส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านการเตรียมการสอน 2)ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3)ด้านสื่อการสอน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีชื่อว่า MODE MODEL ที่ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหาที่ใช้ในกิจกรรมกรเรียนการสอนของรูปแบบ 4) ระบบสนับสนุน 5) ขั้นตอนการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอน 4 ขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 การสร้างแรงจูงใจ (Motivation :M) ขั้นที่ 2 การสังเกตจากสถานการณ์ที่กำหนด (Observation:O) ขั้นที่ 3 การลงมือปฏิบัติ (Doing:D) ขั้นที่ 4 การประเมินผล (Evaluation:E) 6)การประเมินผลของรูปแบบ 7) ผลของการนำรูปแบบไปใช้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด