ชื่อเรื่อง รายงานการสร้างและการทดลองใช้แบบฝึกทักษะสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ เรื่องปฎิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน นายพศุต สรสิทธิ์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการสร้างและการทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 35 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป จำนวน 7 เล่ม ใช้แผนการทดสอบแบบ One Group Pretest Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 ที่กำลังศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 1 ชุด ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.400.70 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.400.60 และความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า ttest แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 81.84 / 82.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ทั้ง 7 เล่ม
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ที่เรียนด้วย ชุดฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ หลังใช้ชุดฝึกทักษะสูงกว่าก่อนใช้ชุดฝึกทักษะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68 , S.D. = 0.14)