ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนช้างบุญวิทยา โดยใช้กลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
ด้วยสื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด
ผู้ศึกษา นางพิชญาภรณ์ อินสำราญ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) ด้วยสื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด ในการพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ (75/75)
เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ
(Role Playing) ด้วยสื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด ในการพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ก่อนและหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
ด้วยสื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ดเพื่อศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) ด้วยสื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
ด้วยสื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา อ23102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนช้างบุญวิทยา จังหวัดสุรินทร์
โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นกลุ่มในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา อ23102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีทั้งหมด 8 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อโปรแกรมการนำเสนอ (Ms.Power Point) สื่อคิวอาร์โค้ด (QR Code) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
จำนวน 30 ข้อและแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) โดยใช้สื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด จำนวน 20 ข้อ
วิธีดำเนินการทดลองโดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนจำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนย่อยหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผนการจัดการเรียนรู้ๆละ 10 คะแนน รวม 80 คะแนน หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเสร็จทั้ง 8 แผนการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน ซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนเรียน
ให้นักเรียนทำแบบประเมินเพื่อวัดระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) โดยใช้สื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วนำข้อมูลผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
และหลังเรียนทั้งหมดรวมทั้งข้อมูลในการประเมินเพื่อวัดระดับความพึงพอใจของนักเรียน มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ อาทิ ค่าเฉลี่ย (¯x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ค่าร้อยละ ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ (Effectiveness Index) และค่าวิกฤตเพื่อทราบความมีนัยสำคัญ
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนแบบการแสดง
บทบาทสมมติ (Role Playing) ด้วยสื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด ในการพัฒนาความสามารถ
ด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 76.66/77.75 หมายความว่า แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
ด้วยสื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด ในการพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 76.66 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 77.75 แสดงว่า การใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ
(Role Playing) ด้วยสื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด ในการพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนแบบการแสดง
บทบาทสมมติ (Role Playing) ด้วยสื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ดในการพัฒนาความสามารถ
ด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6454 หรือคิดเป็นร้อยละ 64.54 หมายความว่า นักเรียนที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) โดยใช้สื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.54
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) โดยใช้สื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) โดยใช้สื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด มีคะแนนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
ที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 75) โดยมีคะแนนเฉลี่ยทั้งชั้นเท่ากับ 23.33 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.05
ซึ่งค่าเฉลี่ยทั้งชั้นคิดเป็นร้อยละ 77.75
5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนรู้ด้วยกลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) โดยใช้สื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด จำนวน 40 คน สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 35 คนคิดเป็นร้อยละ 88 ของนักเรียนทั้งหมด ดังนั้น พอสรุปได้ว่า
จากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) โดยใช้สื่อโปรแกรมการนำเสนอและคิวอาร์โค้ด
ผลปรากฏว่า นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 75) โดยมีคะแนนอยู่ที่ร้อยละ 88
เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
6. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษ ด้วยกลวิธีการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) โดยใช้สื่อโปรแกรมการนำเสนอ
และคิวอาร์โค้ด แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านสื่อและอุปกรณ์การสอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล โดยรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( = 4.48) พิจารณา
เป็นรายด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย ( = 4.64) ส่วนด้านที่เหลืออีก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสื่อและอุปกรณ์การสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านเนื้อหา นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย ( = 4.48) ,( = 4.46)
และ ( = 4.36) ตามลำดับ