ชื่อผลงาน รายงานการพัฒนาชุดการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้พัฒนา นางสูใบดะห์ มะเซ็ง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านดุซงยอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนา คือ เพื่อสร้างและพัฒนาชุดการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ เพื่อเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดุซงยอ ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดุซงยอ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านดุซงยอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน 27 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้รูปแบบการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง (One group Pretest-Posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ประกอบด้วย 1) ชุดการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต จำนวน 5 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test (dependent)
ผลการพัฒนา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เมื่อนำไปทดลองกับนักเรียนแบบรายบุคคล แบบกลุ่มเล็ก และแบบภาคสนาม ปรากฏว่า ชุดการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 5 เล่ม มีประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 83.12/82.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดุซงยอ ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียน ปีการศึกษา 2559 พบว่า มีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคิดเห็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 พบว่า โดยรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.78 โดยด้านที่นักเรียนมีความคิดเห็นมากที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้อย่างกว้างขวางและจดจำได้นาน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 รองลงมา คือ ชุดการเรียนนี้ทำให้นักเรียน เรียนด้วยความสนุกสนานและมีความสุข โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70