รายงานผลการส่งเสริมทักษะพื้นฐานการสังเกต จำแนก และสื่อความหมาย
โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ ชั้นอนุบาลปีที่ 3
โรงเรียนบ้านอาแวะ
นางสาวรตนพร โพธิสาร
2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานการสังเกต จำแนก และสื่อความหมาย ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านอาแวะ ปีการศึกษา 2560 ก่อนและหลังการทดลองโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ 2) เพื่อประสิทธิภาพกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านอาแวะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านอาแวะ
ที่มีต่อการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Design) โดยใช้กลุ่มเป้าหมายแบบกลุ่มเดียว มีการวัดก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest Posttest Design) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กชาย - เด็กหญิง ที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังเรียนอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านอาแวะ ตำบล
บุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานการสังเกต จำแนก และสื่อความหมาย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 40 กิจกรรม 2) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานการสังเกต จำแนก และสื่อความหมาย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 40 แผน 3) แบบประเมินทักษะพื้นฐานด้านการสังเกต จำแนก และสื่อความหมาย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านอาแวะ จำนวน 15 ข้อ และ 4) แบบประเมิน
ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานการสังเกต จำแนก และสื่อความหมาย จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2
ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ( t - test)
แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านอาแวะ ปีการศึกษา 2560 ที่ได้รับการทดลองโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ มีพื้นฐานการสังเกต จำแนก และสื่อความหมาย หลังการทดลองมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานการสังเกต จำแนก และสื่อความหมาย ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียน
บ้านอาแวะ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.83/84.62 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านอาแวะ มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( x̄ = 2.65 S.D. = 0.48)