ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะ
การเขียนเชิงสร้างสรรค์ จากข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวธนวรรณ เสียงสาว
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การดำเนินการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จากข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว 2. เพื่อสร้างรูปแบบการสอนภาษาไทยร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จากข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว 3. เพื่อทดลองรูปแบบการสอนภาษาไทยร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จากข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว 4. เพื่อประเมินรูปแบบการสอนภาษาไทยร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จากข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 32 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling)
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การหาประสิทธิภาพ และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอน TANAWAN MODEL โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จากข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 3 องค์ประกอบ 1) องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ คือ หลักการของรูปแบบ และวัตถุประสงค์ 2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ มี 7 ขั้น คือ ขั้นการทดสอบความรู้ก่อนเรียน (Testing : T) ขั้นเขียนอ่านทบทวนความรู้พื้นฐาน (Activate piror knowledge : A) ขั้นการเรียนเนื้อหาความรู้ใหม่ (New knowlaedge : N) ขั้นใส่ใจพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Agree of createing writing : A) ขั้นแข่งขันกันพิชิตเนื้อหาความรู้ (Win the race : W) ขั้นนำเข้าสู่การประเมินและวิเคราะห์ผลการเรียน (Access performance : A) ขั้นขยันหมั่นเพียรขยายเครือข่ายความรู้ (Network : N) 3) องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขของการใช้รูปแบบ มี 4 ประการคือ ข้อตกลงเบื้องต้น หลักการตอบสนอง ระบบสังคม ระบบสนับสนุน
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนภาษาไทย มีดังนี้
2.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาไทย มีค่าเท่ากับ 84.31/83.59 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทยโดยรวม อยู่ในระดับมาก