ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับ
เอกสารประกอบการเรียน ชุด เติบโตตามวัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายสุริยา อ่อนศิลา
ปีที่ทำวิจัย 2560
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ 4. เพื่อประเมินผลรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ 2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ของรูปแบบการสอน มี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การเตรียมการสร้างความรู้ (Preparation) ขั้นที่ 2การบ่มเพาะเนื้อหาความรู้ (Incubation) ขั้นที่ 3 การลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ (Solution) ขั้นที่ 4 การประเมินผลการเรียนรู้ (Appraising) 3) องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขของการใช้รูปแบบ ได้แก่ ข้อตกลงเบื้องต้นหลักการตอบสนอง ระบบสังคม ระบบสนับสนุน
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน ชุด เติบโตตามวัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 84.33/83.79 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน ชุด เติบโตตามวัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน ชุด เติบโตตามวัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน ชุด เติบโตตามวัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด