ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง
ผู้วิจัย นางยุพา เวียงกมล อัดโดดดร
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียน โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง 2) นำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียน โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง และ 3) ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมี
จิตอาสาของนักเรียน โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง จำนวน 327 คน 2) ครูโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง จำนวน 28 คน 3) ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 178 ที่ได้จาก
การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน (ไม่นับรวมผู้อำนวยการสถานศึกษาและตัวแทนครูผู้สอน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชนิดคือ
1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพความต้องการจำเป็นในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง ประกอบด้วยแบบวัดจำนวน 6 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ชนิดตอบสนองคู่ (Dual Responses) ดังนี้
ฉบับที่ 1 แบบวัดพฤติกรรมจิตอาสา จำนวน 15 ข้อ
ฉบับที่ 2 แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง จำนวน 9 ข้อ
ฉบับที่ 3 แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง จำนวน 24 ข้อ
ฉบับที่ 4 แบบวัดแรงจูงใจอาสา จำนวน 24 ข้อ
ฉบับที่ 5 แบบวัดการมีตัวแบบด้านจิตอาสา จำนวน 9 ข้อ
ฉบับที่ 6 แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม จำนวน 10 ข้อ
2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่มีเนื้อหาครอบคลุมถึงโอกาส และอุปสรรคในการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง ใช้สัมภาษณ์ตัวแทนผู้ปกครองช่วงชั้นที่ 2 จำนวนระดับชั้นละ 1 คน รวม 3 คน ประธานกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และผู้อำนวยการโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง รวมกลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์
ทั้งสิ้น 5 คน
3) แบบประเมินความเหมาะสมแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง เป็นแบบตรวจสอบ (ร่าง) แนวทางทางการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (5 Rating scale) โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาตรวจสอบ (ร่าง)แนวทาง ประกอบด้วยเกณฑ์ 4 ประการ คือ 1) ด้านความเหมาะสม (Propriety) 2) ด้านความเป็นไปได้ (Feasibility) 3) ด้านความสอดคล้อง (Congruity) และ 4) ด้านความเป็นประโยชน์ (Utility)
ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง สำหรับข้อมูลจากแบบสอบถาม และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียน โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง พบว่ามีค่าเฉลี่ยของความต้องการจำเป็นสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้านและเรียงตามลำดับความสำคัญ เป็นดังนี้ 1) การเห็นคุณค่าในตนเอง 2) การมีตัวแบบด้านจิตอาสา 3) การสนับสนุนทางสังคม 4) แรงจูงใจอาสา 5) พฤติกรรมจิตอาสา และ 6) การรับรู้ความสามารถของตนเอง ตามลำดับ
2) นำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียน โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง เป็นดังนี้
2.1) แนวทางเพื่อขยายงานและสร้างความเจริญเติบโต (Stars) มี 10 ประเด็น
2.2) แนวทางรักษาเสถียรภาพ ชะลอ ปรับปรุง พัฒนาสมรรถนะภายในเพื่อรอโอกาสที่เหมาะสมในการดำเนินกิจการให้เจริญเติบโตต่อไป (cash cows) มี 10 ประเด็น
2.3) แนวทางที่เหมาะสมเป็นแนวทางลดจุดอ่อน หรือแนวทางส่งเสริม ปรับปรุง เร่งรัดเพื่อสร้างโอกาสในการขยายงานหรือสร้างความเจริญเติบโตในอนาคต (question marks) มี 10 ประเด็น
2.4) แนวทางที่เหมาะสมเป็นแนวทางลดจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงอุปสรรค หรือเรียกว่าแนวทางตัดทอน ยุบเลิก ควบกิจการ (dogs) มี 10 ประเด็น
3) ความเหมาะสมของแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียน โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง
3.1) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม
การมีจิตอาสาของนักเรียน โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง ด้านความเหมาะสม จากผู้ทรงคุณวุฒิและ
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก
3.2) ผลการตรวจสอบแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียนที่สร้างขึ้นด้านความเป็นไปได้ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก
3.3) ผลการตรวจสอบแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียนที่สร้างขึ้น ด้านความสอดคล้อง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
3.4) ผลการตรวจสอบแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียนที่สร้างขึ้น ด้านความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
4) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม
การมีจิตอาสาของนักเรียน โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง จากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
สรุปได้ดังนี้
4.1) แนวทางมีความเหมาะสม แต่ควรปรับการใช้คำให้สื่อความหมายมากขึ้นและรวมแนวทางหลักบางประเด็นเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นแนวทางหลักที่จะนำไปสู่การปฏิบัติตามแนวทางได้อย่างเป็นรูปธรรม และเหมาะที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโรงเรียนเพื่อการขับเคลื่อนการมีจิตอาสาของผู้เรียน ควรพิจารณาการเขียนใน 2 ระดับคือ
4.1.1) ระดับผลที่เกิดต่อผู้เรียน มุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงในตัวเรียนและครอบคลุมสมรรถนะทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย
4.1.2) ระดับสถานศึกษา มุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษาในด้านการบริหารวิชาการ ครอบคลุมทั้งด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาครู และการพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้
4.2) แนวทางบางข้อต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมที่จะนำไปใช้ เพื่อแนวทางส่งเสริมให้มีการกระจายอำนาจและหน้าที่ให้ครูและบุคลาการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานตามหลักประชาธิปไตยภายใต้กรอบอำนาจและหน้าที่