ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง
ผู้วิจัย นางยุพา เวียงกมล อัดโดดดร
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง ดังมีประเด็นในการศึกษาดังนี้
1) เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์
2) เพื่อร่างรูปแบบและประเมินร่างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด
สะเต็มศึกษา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์
3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์
4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2560 จำนวน 36 คน 2) ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง จำนวน 28 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญจบการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านจัดการเรียนการสอน หรือด้านการวัดผลการศึกษา และด้านการนิเทศการศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selected) สำหรับประเมินรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชนิดคือ
1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ
จิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 13 แผน
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ
4) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดของ สสวท. (2556) จำนวน 30 ข้อ
5) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง
ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1) การสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ พบว่า สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุงมีค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่ 1 การเตรียมการสอน (ก่อนสอน) มีการเตรียมการสอน จัดทำแผนการสอนและจัดหา รูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก
ด้านที่ 2 การจัดการเรียนการสอน (ขณะสอน) เลือกวิธีการสอนที่เหมาะสม มีสื่อการเรียนการ สอนที่เหมาะสม นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีการจัดบรรยากาศห้องเรียนที่ เหมาะสม มีการประเมินผลนักเรียนที่หลากหลาย มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด
ด้านที่ 3 การประเมินผลหลังการสอนมีการจัดทำบันทึกหลังสอนเพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอน สะท้อนปัญหาและอุปสรรคที่ต้องแก้ไข มีการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมผลงาน
สะเต็มศึกษาของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก
2) การร่างรูปแบบและประเมินร่างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง มีองค์ประกอบคือ หลักการของรูปแบบ จุดมุ่งหมายของรูปแบบ
สาระและกระบวนการ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนจากรูปแบบ
3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง
3.1) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง เท่ากับ 88.91/90.09
3.2) ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง มีค่าเท่ากับ 0.8350 หรือคิดเป็นร้อยละ 83.50
3.3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.4) คะแนนจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง
4.1) ประเมินปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด
4.2) ด้านกระบวนการ ภาพรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด
4.3) ด้านผลลัพธ์ (Output) โดยการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของรูปแบบการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง ผลปรากฏ ดังนี้
4.3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง 4.3.2) คะแนนจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม