การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต 3) ศึกษาผลการดำเนินงานตามรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต และ 4) เปรียบเทียบการดำเนินงานตามรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียน สตรีภูเก็ต ปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 466 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยขั้นตอนนี้เป็นแบบสอบถามการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต จำนวน 1 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยขั้นตอนนี้เป็นแบบประเมินคุณภาพรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต จำนวน 1 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจประเมินคุณภาพรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows
ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการดำเนินงานตามรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต ปีการศึกษา 2560 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 469 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยขั้นตอนนี้เป็นแบบสอบถามการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต จำนวน 1 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows) และนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลปีการศึกษา 2559 2560 มาเปรียบเทียบและพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ของโรงเรียนสตรีภูเก็ต ปีการศึกษา 2559 มีดังนี้
1.1 สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนสตรีภูเก็ต ปีการศึกษา 2559 ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดทำแผนการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากตามลำดับ ส่วนด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ตามลำดับส่วนด้านการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
1.2 คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ปีการศึกษา 2559 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านคุณภาพผู้เรียน และด้านกระบวนการบริหารและหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากตามลำดับ ส่วนด้านระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล อยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต พบว่า รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียน สตรีภูเก็ต ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องของเนื้อหารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยได้ ผลการวิเคราะห์พบว่า รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ตในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อตามลำดับ
3. ผลการศึกษาผลการดำเนินงานตามรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต ปีการศึกษา 2560 มีดังนี้
3.1 สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต ปีการศึกษา 2560 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้านการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ด้านการจัดทำแผนการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากตามลำดับ
3.2 คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ปีการศึกษา 2560 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล ด้านคุณภาพผู้เรียน และด้านกระบวนการบริหารและหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ ส่วนด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมาก
4. ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานตามรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนสตรีภูเก็ต ปีการศึกษา 2559 2560
4.1 สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต ปีการศึกษา 2560 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สูงกว่าสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต ปีการศึกษา 2559 ซึ่งอยู่ในระดับมากเช่นกัน ผลการวิจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต ปีการศึกษา 2560 ที่ใช้รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ตที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้น
4.2 คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ปีการศึกษา 2560 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สูงกว่าคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา ปีการศึกษา 2559 ผลการวิจัยดังกล่าวสะท้อนให้คุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาในปีการศึกษา 2560 ซึ่งดำเนินงานตามรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ตที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้น ส่งผลให้คุณภาพการจัดการศึกษาสูงขึ้น
5. การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต ผู้วิจัยได้ข้อเสนอแนะจากการเก็บข้อมูล ดังนี้
5.1 ควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้แก่ครูและบุคลากรให้ทราบโดยทั่วกัน และต่อเนื่อง
5.2 ควรมีการนิเทศ กำกับติดตามงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้ได้รับการนิเทศ เพื่อนำผลไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนต่อไป
5.3 ควรมีการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาทั้งในระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ
5.4 ควรมีการทบทวนแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีทุก 2 ไตรมาส
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต ผู้วิจัยได้ข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัย
1.1 ควรมีการศึกษาวิจัยโดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นฐาน มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณควบคู่กับข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาวิธีดำเนินการตามรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
1.2 ควรมีการศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา โดยศึกษาจำแนกรายมาตรฐานเพื่อวิเคราะห์ความก้าวหน้า และหาวิธีการในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษารายมาตรฐาน
2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการจัดทำโครงการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ ความเช้าใจ และทักษะการประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานการศึกษาหรือสูงกว่ามาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ ควบคู่กับการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2.2 ควรมีการศึกษารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษากับสถานศึกษาในระดับเดียวกัน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาวิธีดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่เป็นแนวทางร่วมกันในลักษณะคู่พัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา