บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน ทรงวุฒิ บุญงาม
ปีการศึกษา 2560
รายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 โดยใช้รูปแบบ CIPP Model ของ Daniel L. Stufflebeam ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ประเมินด้านสภาพบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) และใช้กระบวนการของ DDWPK Model ในด้านกระบวนการดำเนินงาน โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 700 คน ประกอบด้วย ครูที่ปรึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ ด้วยขนาดตัวอย่างเป็นสัดส่วนกับจำนวนประชากร เป็นวิธีที่กำหนดให้ชั้นภูมิที่มีขนาดใหญ่ถูกเลือกมาเป็นตัวอย่างมาก และชั้นภูมิที่มีขนาดเล็กถูกเลือกเป็นตัวอย่างน้อย โดยแบ่งตามหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการดังนี้ 1) ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 22 คน 2) ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน จำนวน 341 คน 3) นักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 337 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด แบบสอบถาม ชุดที่ 1 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 (สำหรับ ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา) แบบสอบถาม ชุดที่ 2 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 (สำหรับผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน) แบบสอบถาม ชุดที่ 3 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 (สำหรับนักเรียน) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ด้านสภาพบริบทของโครงการ (Context) พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.91 และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ ความคิดเห็นของผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.97 และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ และความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.96 และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input) พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.94 และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ ความคิดเห็นของผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.99 และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ และความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.97 และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (Process) พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.89 และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ ความคิดเห็นของผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.97 และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ และความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.98 และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
4. ด้านผลผลิตของโครงการ (Product) พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.95 และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ ความคิดเห็นของผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.96 และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ และความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.95 และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
สรุปภาพรวมในทุกด้าน พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.92 ความคิดเห็นของผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.97 และความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.97
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม ด้านปัญหาและอุปสรรคที่เกิดต่อการดำเนินงาน โดยการจัดหมวดหมู่และเรียงลำดับตามความถี่ สรุปได้ว่าปัญหาและอุปสรรคที่มีความถี่สูงสุดต่อการดำเนินงานคือ ครูมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบหลายด้านในโรงเรียนอีกทั้งต้องมาดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพิ่มขึ้นจึงเป็นการสร้างภาระงานด้านเอกสารเพิ่มให้กับครู รองลงมา คือการรายงานข้อมูลของนักเรียน ผู้ปกครองและครูบางครั้งข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง และขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบอย่างทั่วถึงตามลำดับ ส่วนแนวทางในการแก้ไขปัญหา ควรจะแก้ไขด้วยวิธีการที่เรียงลำดับตามความถี่ ดังนี้ แนวทางที่มีความถี่สูงสุด คือ จัดระบบเอกสารในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนให้ลดการกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อนและมอบหมายงานในหน้าที่ให้เหมาะสม รองลงมา คือ ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงกัน ควรจัดค่ายอบรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนมากขึ้น ส่วนข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด เรียงตามลำดับความถี่สูงสุด ดังนี้ ควรมีการประชุมชี้แจงและสร้างตระหนักให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้แก่ ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้รับทราบข้อมูลและแนวทางการดำเนินงาน รองลงมา คือให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามระบบอย่างเหมาะสมทั้งในส่วนของการจัดทำเอกสารต่างๆ รวมทั้ง การดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และควรสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เพียงพอ
จากผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 โดยใช้กระบวนการของ DDWPK Model ส่งผลให้
1) D= Data : ได้จัดทำระเบียนสะสม การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งหมด 1,097 คน คิดเป็นร้อยละ 100
2) D= Divide : ผลการคัดกรองนักเรียนรายบุคคลพบว่า จากนักเรียน 1,097 คน จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงจำนวน 145 คน จัดอยู่ในกลุ่มมีปัญหาจำนวน 12 คน มีนักเรียนที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหารวมกัน 157 คน คิดเป็นร้อยละ 14.31
3) W= Working on promoting : การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น กิจกรรมการให้คำแนะนำ และกิจกรรมส่งเสริม สามรถจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนทั้งหมด จำนวน 1,097 คน คิดเป็นร้อยละ 100
4) P= Protecting and adjusting : การป้องกัน ช่วยเหลือ และแก้ไข พบว่านักเรียนจำนวน 1,097 คน ได้รับการป้องกัน ช่วยเหลือ และแก้ไข ในทุกด้าน คิดเป็นร้อยละ 100
5) Kindly transfer : การส่งต่อนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ พบว่า มีการส่งต่อภายใน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 0.55 ส่งต่อภายนอก จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.09
6) สามารถช่วยเหลือนักเรียนในกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา ไว้ได้ทั้งหมด 157 คน คิดเป็นร้อยละ 100
7) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 คิดเป็นร้อยละ 100
8) ผลรางวัลที่ภาคภูมิใจ
ผลงานที่เกิดกับผู้เรียน
- นางสาววชิรญาณ์ แก้วคำแหง ได้รับเกียรติบัตรนักเรียนดีเด่นเนื่องในวันเยาวชน
แห่งชาติ ประจำปี 2560 จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
- ผลการคัดเลือกเยาวชนดีเด่นรางวัล SPM 36 AWARDS ประจำปี 2560
ประเภทเยาวชนดีเด่น
1. นายรวิภาส สมูลดี ได้รับรางวัล ระดับเหรียญทอง สาขา การปกป้องคุ้มครอง
สิทธิเด็กและเยาวชน
2. นางสาววชิรญาณ์ แก้วคำแหง ได้รับรางวัล ระดับเหรียญทอง สาขา กิจกรรม
จิตอาสา บำเพ็ญประโยชน์
3. นายชาญเดชา กันทะมา ได้รับรางวัล ระดับเหรียญเงิน สาขา อนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. นางสาวอักษรภัค บุญศรี ได้รับรางวัล ระดับเหรียญทองแดง สาขา กีฬาและ
นันทนาการ
5. นางสาวจันทิมา ดวงชัย ได้รับรางวัล ระดับเหรียญทองแดง สาขา ศีลธรรม
จริยธรรมและคุณธรรม
6. นายอธิป เชาวเลิศโสภา ได้รับรางวัล ระดับเหรียญทองแดง สาขา อาชีพ
ประเภทกลุ่มเยาวชนดีเด่น
7. นักสืบสายน้ำ ได้รับรางวัล ชนะเลิศระดับเหรียญทอง สาขาอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. สภานักเรียน ได้รับรางวัล ระดับเหรียญทอง สาขา การปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็ก
และเยาวชน
- สรุปผลการแข่งขันกีฬากลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 17-22
ธันวาคม 2560 ณ โรงเรียนแม่จันวิทยาคม
1. ประเภทกีฬา รางวัลชนะเลิศ เปตอง คูผสมไม่จำกัดอายุ ฟุตซอล รุ่นอายุ
ไม่เกิน 15 ปีชาย
2. ประเภทกรีฑา ได้ 1 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 3 ทองแดง
- ผลการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคเหนือ ครั้งที่ 67 ประจำปีการศึกษา
2560 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ระหว่างวันที่ 13-15 เดือน
ธันวาคม พ.ศ. 2560 ได้รับรางวัล 4 เหรียญทอง 9 เหรียญเงิน 4 เหรียญทองแดง
- ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ1การประกวดคลิปวิดีโอการเคารพธงชาติของสภา
นักเรียน ปีการศึกษา 2560 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36
ผลงานที่เกิดกับสถานศึกษา
- ได้รับรางวัลชนะเลิศ โรงเรียนต้นแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น
ประเภทโรงเรียนขนาดกลาง ปีการศึกษา 2560 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
- ได้รับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2560 ประเภทสถานศึกษา
มัธยมศึกษาขนาดกลาง ระดับทองแดง จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
- ได้รับรางวัลผลงานดีเด่น ผลงานวิธีกาปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice )
โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
- ได้รับรางวัลคุณภาพสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( OBECQA )
ปี 2559-2560ในโครงการยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากล