รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้กระบวนการ PLC โรงเรียน พนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2560 ในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านกระบวนการของโครงการและด้านผลผลิตของโครงการ อันประกอบด้วย 1) ความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบ 2) ความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ของครู 3) ความ สำเร็จทางการเรียนของนักเรียน 4) ความสำเร็จในการเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาการนักเรียนระดับจังหวัด 5) ความสำเร็จในการเข้าร่วมการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาค 6) ความสำเร็จในการเข้าร่วมการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการใช้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน โดยกำหนด ให้สัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากร เท่ากับ 0.5 ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวน 1,949 คน จากจำนวนประชากร 3,299 คน ซึ่งประกอบด้วย นักเรียนจำนวน 936 คน ครูผู้สอน จำนวน 65 คน ผู้ปกครอง จำนวน 936 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 คน และคณะกรรมการบริหารโครงการ 2 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลสำเร็จในการดำเนินงาน จำนวน 3 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับได้ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.87 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 16.5
ผลการประเมินสรุป ได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทของโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้กระบวนการ PLC โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2560 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านบริบทของโครงการค่าน้ำหนักร้อยละ 15 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมจากความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการบริหารโครงการ พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย ( = 4.40 , S.D. = .25) อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการใช้กระบวนการ PLC โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2560 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าโครงการค่าน้ำหนักร้อยละ 15 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมจากความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ คณะกรรมการบริหารโครงการ พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย ( = 4.27 , S.D. = .21) อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการใช้กระบวนการ PLC โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2560 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านกระบวนการโครงการค่าน้ำหนักร้อยละ 25 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมจากความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการบริหารโครงการ พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย ( = 4.22 , S.D. = .26) อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้กระบวนการ PLC โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2560 ด้านผลผลิตความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบค่าน้ำหนักร้อยละ 10 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมจากความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการบริหารโครงการ พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย ( = 4.09 , S.D. = .33) อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้กระบวนการ PLC โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2560 ด้านการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูค่าน้ำหนักร้อยละ 10 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมจากความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการบริหารโครงการ พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย ( = 4.23 , S.D. = .29) อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้กระบวนการ PLC โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2560 ด้านความสำเร็จทางการเรียนของนักเรียนตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านความสำเร็จทางการเรียนของนักเรียนค่าน้ำหนักร้อยละ 10 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมจากความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนโครงการ พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย ( = 4.10 , S.D. = .37) อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินผลสำเร็จในการดำเนินการโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้กระบวนการ PLC โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2560 ด้านความสำเร็จในการเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาการนักเรียนระดับจังหวัด โดยสรุปจากผลการแข่งขันทักษะวิชาการในระดับจังหวัดของปีการศึกษา 2559 เทียบกับผลการแข่งขันทักษะวิชาการระดับจังหวัดของปีการศึกษา 2560 ค่าน้ำหนักร้อยละ 5 ผลสรุปโดยภาพรวมปีการศึกษา 2560 มีผลการแข่งขันทักษะวิชาการระดับจังหวัด ในระดับเหรียญทอง เหรียญเงินและเหรียญทองแดงเพิ่มสูงกว่าปีการศึกษา 2559 และได้เป็นตัวแทนของจังหวัดไปแข่งขันระดับภาคสูงกว่าปีการศึกษา 2559
4.5 ผลการประเมินผลสำเร็จในการดำเนินการโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้กระบวนการ PLC โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2560 ด้านความสำเร็จในการเข้าร่วมการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาค โดยสรุปจากผลการแข่งขันทักษะวิชาการ ในงานศิลปหัตถกรรมระดับภาคของปีการศึกษา 2559 เทียบกับผลการแข่งขันทักษะวิชาการในงานศิลปหัตถกรรมระดับภาคของปีการศึกษา 2560 ค่าน้ำหนักร้อยละ 5 ผลสรุปโดยภาพรวม ปีการศึกษา 2560 มีผลการแข่งขันทักษะวิชาการในงานศิลปหัตถกรรมระดับภาคในระดับเหรียญทอง เหรียญเงินและเหรียญทองแดงเพิ่มสูงกว่าปีการศึกษา 2559 และได้เป็นตัวแทนของภาคใต้ไปแข่งขันระดับชาติสูงกว่าปีการศึกษา 2559
4.6 ผลการประเมินผลสำเร็จในการดำเนินการโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้กระบวนการ PLC โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2560 ด้านความสำเร็จในการเข้าร่วมการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ โดยสรุปจากผลการแข่งขันทักษะวิชาการ ในงานศิลปหัตถกรรมระดับชาติของปีการศึกษา 2559 เทียบกับผลการแข่งขันทักษะวิชาการในงานศิลปหัตถกรรมระดับชาติของปีการศึกษา 2560 ค่าน้ำหนักร้อยละ 5 ผลสรุปโดยภาพรวม ปีการศึกษา 2560 มีผลการแข่งขันทักษะวิชาการในงานศิลปหัตถกรรมระดับชาติในระดับเหรียญทอง เหรียญเงินและเหรียญทองแดงเพิ่มสูงกว่าปีการศึกษา 2559
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยกระบวนการ PLC โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2560 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ควรนำขั้นตอนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยกระบวนการ PLC โรงเรียนพนมเบญจา ไปปรับใช้ในโรงเรียนอื่นๆที่มีบริบทใกล้เคียงกันเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและคุณภาพการศึกษา
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับการ ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนโดยใช้เทคนิคและรูปแบบอื่นๆ
2. ควรศึกษาปัจจัยหรือสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียน
3. ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการที่มีผลต่อการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ