ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริม
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวพัทธ์ธีรา โภคสวัสดิ์
สถานศึกษา โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) เทศบาลเมืองมุกดาหาร
จังหวัดมุกดาหาร
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 เนื้อหาที่นำมาสร้างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยที่ 1 เรื่อง ผักสดสะอาด หน่วยที่ 2 เรื่อง สัตว์น่ารัก หน่วยที่ 3 เรื่อง ยานพาหนะ หน่วยที่ 4 เรื่อง ผลไม้น่าทาน หน่วยที่ 5 เรื่อง ดอกไม้แสนสวย และ หน่วยที่ 6 เรื่อง เครื่องมือเครื่องใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยปีที่ 3/2 โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แล้วจับสลากเลือก 1 ห้องเรียน ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ใช้ระยะเวลาในการทดลองจัดประสบการณ์ ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 6 สัปดาห์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 30 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 25 ข้อ มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 3) แบบสอบถามความพึงใจของเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นแบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อ (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 จากการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์ พบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านสติปัญญาและคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับต่ำ ควรได้รับการพัฒนาและส่งเสริมอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการความรู้ในการจัดประสบการณ์การสอนคณิตศาสตร์ที่ถูกต้อง และ รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ทำให้เด็กมีการพัฒนาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้น
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดประสบการณ์ และการวัดและประเมินผล รูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีชื่อเรียกว่า “M-PATS Model” ซึ่งมีกระบวนการจัดประสบการณ์ 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นใคร่รู้ (Motivation : M) 2) ขั้นวางแผนเรียนรู้ (Plan : P) 3) ขั้นเรียนรู้แบบปฏิบัติการ (Active Learning : A) 4) ขั้นถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning : T) และ 5) ขั้นสรุปการเรียนรู้ (Summarizing Step : S) มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.60/82.58
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 สรุปได้ดังนี้
3.1 ผลการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.64/82.66
3.2 ผลการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 ก่อนการจัดประสบการณ์และหลังการจัดประสบการณ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะพื้นฐานทางคณิตสาสตร์หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 พบว่า ผลการสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D = 0.30)