ชื่อเรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมโดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่เน้น
กระบวนการกลุ่มของเด็กปฐมวัยปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวพัทธ์ธีรา โภคสวัสดิ์
สถานศึกษา ทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) เทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่เน้นกระบวนการกลุ่มของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ที่เน้นกระบวนการกลุ่มของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในแบบแผนการวิจัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย ปีที่ 3/2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 25559 โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) จำนวน 32 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลากเลือกมา 1 ห้องเรียน โดยเด็กแต่ละห้องเรียนมีระดับความสามารถเก่ง ปานกลาง อ่อน ใกล้เคียงกันทุกห้อง ระยะเวลาในการทดลอง 7 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน คือ วันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัสบดี เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่เน้นกระบวนการกลุ่ม จำนวน 21 กิจกรรม แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่เน้นกระบวนการกลุ่ม จำนวน 21 แผน แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย จำนวน 15 ข้อ ที่ผู้สถิติที่ใช้ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่เน้นกระบวนการกลุ่มของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2 ) เท่ากับ 80.86/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 ก่อนการจัดประสบการณ์และหลังการจัดประสบการณ์ พบว่า พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่เน้นกระบวนการกลุ่มของเด็กปฐมวัยปีที่ 3 ก่อนการจัดประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.50 (S.D. = 1.74) หลังการจัดประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.53 (S.D. = 0.72) และเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยก่อนการจัดประสบการณ์และหลังการการจัดประสบการณ์ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์