ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ LEC เพื่อเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง น้ำพริกสมุนไพรไทยในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางจันทร์จิรา สาแก้ว
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียน การสอนแบบ LEC เพื่อเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง น้ำพริกสมุนไพรไทยในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ LEC เพื่อเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง น้ำพริกสมุนไพรไทยในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ LEC เพื่อเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง น้ำพริกสมุนไพรไทยในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการตามลักษณะของกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฯ และระยะที่ 3 การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ ซึ่งในขั้นการทดลองใช้ ผู้วิจัยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) โดยใช้ กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านไกลเสนียด อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนแบบ LEC เพื่อเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง น้ำพริกสมุนไพรไทยในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) เครื่องมือที่ใช้ควบคู่กับรูปแบบการเรียนการสอน ฯ ซึ่งประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมตามรูปแบบ LEC เพื่อเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) คู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมตามรูปแบบ LEC เพื่อเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ (5) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่รับประทานน้ำพริกสมุนไพร การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และทดสอบค่าที (ttest dependent samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ฯ พบว่า ได้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ LEC เพื่อเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง น้ำพริกสมุนไพรในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและการประเมินผล ซึ่งกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย ขั้นเห็นคุณค่าการเรียนรู้(Learning and Appreciation) ขั้นเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกัน (Experiential Learning and Learning Together) และขั้นตกผลึกความรู้อย่างสร้างสรรค์ (Creative Productive Learning) โดยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.49 และมีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00 สามารถนำไปใช้
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนฯ พบว่า
2.1 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ LEC เพื่อเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง น้ำพริกสมุนไพรไทยในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2.2 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ LEC เพื่อเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีทักษะกระบวนการปฏิบัติการทำน้ำพริกสมุนไพรไทยในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี อยู่ในระดับดี เฉลี่ย เท่ากับ 12.85
3. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ฯ พบว่า
3.1 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบ LEC เพื่อเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง น้ำพริกสมุนไพรไทยในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด เฉลี่ย เท่ากับ 4.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.53
3.2 ผู้ที่รับประทานน้ำพริก มีความพึงพอใจต่อน้ำพริกสมุนไพรไทยในท้องถิ่น อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.88 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.39 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผู้ที่รับประทานน้ำพริก มีความชอบต่อน้ำพริกหมูตะไคร้ และน้ำพริกชื่นกมล (รากบัว) อยู่ในระดับมากที่สุด