ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค
การใช้คำถาม เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา)
ชื่อผู้วิจัย ปราโมช แก้วเกิด
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา)
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) ใช้รูปแบบวิจัย R&D ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
ขั้นตอน ที่ 1 การวิจัย (Research) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มาตรฐานการเรียนรู้และสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยในประเทศ งานวิจัยในต่างประเทศ ข้อมูลนักเรียน และการสนทนากลุ่มกับนักเรียน ครู และผู้ปกครอง 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ที่เรียนเคยเรียนสาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง และการดำเนินชีวิตในสังคมมาแล้ว จำนวน 30 คน และ 3) ครูผู้สอนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 6 คน
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development) : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้ดำเนินการ ดังนี้
1. ผู้วิจัยได้นำแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้คำถามที่สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหา ใช้ดุลยพินิจเพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)
และปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
2. นำแผนการจัดการเรียนรู้ ไปทดลองสอนกับกลุ่มทดลอง (แบบรายบุคคล, แบบกลุ่มเล็กและ แบบภาคสนาม) และปรับปรุงแก้ไข
3. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยกับกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research) : การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
การดำเนินการในขั้นตอนนี้เป็นการนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 39 คน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง(One Group Pretest and Posttest Design) ก่อนเรียน ทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการใช้คำถาม หลังเรียนทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ นำผลคะแนนที่ได้มาหาค่า T-Test และหลังจากนั้นประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้คำถาม นำผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ
ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development) : การประเมินผลและปรับปรุงการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
การดำเนินการในขั้นตอนนี้เป็นการประเมินผลความคงทนของนักเรียน หลังจากเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้คำถาม ผ่านไป 14 วัน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 39 คน ซึ่งเป็นนักเรียนทดลองในขั้นตอนที่ 3 ก่อนเรียนทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการใช้คำถาม หลังเรียนทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ นำผลคะแนนที่ได้มาหาค่า T-Test หลังจากนั้นประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้คำถาม นำผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐาน
1.1 ด้านหลักสูตร หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นกลุ่มสาระที่ประกอบด้วยหลายแขนงวิชา ทำให้มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ เป็นการนำวิชาต่างๆในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มารวมเข้าด้วยกัน จึงมีหลายวิชาปะปนกัน ตัวชี้วัดซ้ำซ้อน เนื้อหาเปิดกว้างมาก เรียนตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และสิ่งที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
1.2 ด้านนักเรียน นักเรียนเบื่อหน่ายที่จะเรียน ครูใช้วิธีการสอนแบบเก่า ทำให้เด็กไม่อยากจะเรียน ประกอบกับวิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาที่น่าเบื่อหน่าย นักเรียนจึงไม่สามารถนำความรู้ที่เรียนไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งผู้เรียนส่วนใหญ่มีสภาพแวดล้อมของครอบครัวที่ต้องหาเช้ากินค่ำ ไม่ได้รับการดูแลจากผู้ปกครองเท่าที่ควร จึงส่งผลทำให้นักเรียนไม่ค่อยอยากจะมาโรงเรียน มีอย่างอื่นที่น่าสนใจกว่ามาเข้าเรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
1.3 ด้านครูผู้สอน ครูเน้นการสอนเนื้อหาเป็นสำคัญ และใช้การบรรยายเป็นส่วนใหญ่ ครูไม่เน้นกระบวนการให้นักเรียนปฏิบัติจริง ไม่ได้เน้นกระบวนการเรียนการสอนที่จะหาองค์ความรู้ใหม่ที่ทำให้นักเรียนเกิดการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ประกอบกับครูต้องรับผิดชอบงานอื่นนอกเหนืองาน จึงทำให้มีเวลาสำหรับเตรียมการสอนน้อยลง
1.4 จากทางสังคม อิทธิพลของโทรทัศน์ วิทยุ รวมถึงสภาพแวดล้อมของครอบครัว และชุมชนเป็นแหล่งสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตที่ผิด ทำให้เด็กไม่สนใจการเรียน เด็กเกิดการเอาอย่างการกระทำที่ผิดๆ
1.5 สภาพที่ตั้งของชุมชน และสภาพพื้นฐานครอบครัวของนักเรียนส่วนใหญ่ มีคุณภาพชีวิตที่ไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร ส่งผลทำให้นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาเล่าเรียน
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา)
มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.24/87.80 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) หลังจากเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด