ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT
เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปทิตตา ขัตติยะ
ครูวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านจาน
บทคัดย่อ
การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนiชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 17 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sample)
สรุปผลการศึกษา
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระ เล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 92.06/97.27 เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด / คือ 80/80 แสดงว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 1
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังจากนักเรียนผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นแสดงว่า การเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจริง เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 2
3. ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.28 อยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติในมาตรา 22 หลักการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ มาตรา 23 สาระ การเรียนรู้ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา และมาตรา 24 กระบวนการเรียนรู้ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อ การเรียน และอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และรอบรู้ รวมทั้งใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งผู้สอนและผู้เรียนอาจเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและสถานที่ การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา ครูผู้สอนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ได้กำหนดกรอบแนวคิดโดยมีวิสัยทัศน์ คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ 1 คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรมและนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ และเป้าหมายที่ 2 หลักสูตรและแหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
จากนโยบายดังกล่าวคณะกรรมการการศึกษาร้อยเอ็ด ได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาการศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ภายในปี 2564 ประชากรผู้รับบริการทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ได้รับ การพัฒนาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ครูและบุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ และทุกภาคส่วนมีส่วนตามหลักธรรมาภิบาล และเป้าประสงค์เพื่อสนับสนุนประชากรผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาและเร่งรัดให้ผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบ มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพสู่สากล เพื่อส่งเสริมผู้เรียนทุกวัยสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และเพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โดยมีกลยุทธ์คือ 1) ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับ การบริการทางการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง 2) ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการบริการทางการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานทั้งในระดับชาติและระดับสากล 3) สำรวจความต้องการของสังคม ชุมชน และท้องถิ่น ต่อระบบการเรียนการสอน 4) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย 5) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะ สมรรถนะสู่ความเป็นมืออาชีพ 6) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 7) จัดสรรและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดพัฒนาระบบการให้บริการทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ และ 8) ส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล (คณะกรรมการการศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด, 2560 : 56-57)
จากทิศทางการบริหารการศึกษาเชิงนโยบายดังกล่าว โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ โรงเรียนบ้านจาน เป็นโรงเรียนคุณภาพด้านวิชาการ และเทคโนโลยี นักเรียนมีคุณธรรม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีพันธกิจ ดังนี้ 1) จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) ทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 3) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้ก้าวทัน การเปลี่ยนแปลง 4) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย 6) จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 7) ฝึกอบรมบุคลากรด้านวิชาการ และด้านการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่องให้เข้าสู่มาตรฐานวิชาชีพ 8) ร่วมมือกับทุกองค์กร เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน และ 9) พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานโดยให้บุคลากรและชุมชนมีส่วนร่วม และมีเป้าประสงค์ คือ นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (โรงเรียนบ้านจาน, 2560 : 1- 2)
จากนโยบายและทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อให้การจัดการศึกษาสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ จึงได้มีมติเห็นชอบให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 4) ได้กล่าวถึง วิสัยทัศน์ของหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษา ต่อการประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพในด้านสมรรถนะสำคัญทั้ง 5 ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี โดยความสามารถในการคิด หมายถึง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 6-7) โดยในโครงสร้างของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดสาระการเรียนรู้เป็น 8 กลุ่มสาระ โดยจัดเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม) จัด การเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา และวิกฤตของชาติ กลุ่มที่สอง (สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ) จัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์ และสร้างศักยภาพในการคิด และการทำงานอย่างสร้างสรรค์ โดยแนวทางในการจัดการเรียนรู้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบธุรกิจการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากข้อมูลสารสนเทศ ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545 :3) ด้วยความสำคัญของภาษาไทยดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดให้วิชาภาษาไทยเป็น 1 ใน 8 ของกลุ่มสาระวิชา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ เพราะตระหนักว่าการศึกษาของชาติทำให้คนในชาติสำนึกถึงความเป็นไทยอยู่เสมอ การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนไทยทุกคน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นสาระการเรียนรู้ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ โดยแยกออกเป็น 5 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง ดู และพูด สาระที่ 4 หลักภาษาไทย และสาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม ซึ่งการอ่านนั้นนับเป็นสาระที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้ที่มีทักษะในการอ่านสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างง่ายดาย ผู้ที่จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ย่อมต้องอาศัยการอ่านเป็นพื้นฐานในการบรรลุถึงเป้าหมายของชีวิต เนื่องจากข้อมูลความรู้ในปัจจุบันมักเผยแพร่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การอ่านช่วยให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ และสามารถนำความรู้มาปรับให้เข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553 : 10)
การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาหาความรู้ การประกอบอาชีพ การพัฒนาสติปัญญา จินตนาการ และอารมณ์ ดังที่ ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) นักปรัชญาชาวอังกฤษกล่าวว่า การอ่านทำให้คนเป็นคนโดยสมบรูณ์ (Reading maketh a full man) เพราะฉะนั้น ผู้ที่อ่านหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมได้เปรียบและมีชีวิตที่ก้าวหน้า การอ่านเปรียบเสมือนกุญแจสำหรับไขหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และถ้าได้นำเอาความรู้ที่ได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาให้แก่ตน ชุมชน และสังคมแล้วบุคคลเหล่านี้ก็จะเป็นพลเมืองดีของสังคม สังคมใดที่ประกอบด้วยบุคคลที่เป็นนักอ่าน สังคมนั้นก็ย่อมเป็นสังคมแห่งปัญญา และพัฒนาไปสู่ความเจริญได้อย่างรวดเร็ว (ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน, 2547: 21-22) โรงเรียนมีบทบาทสำคัญเป็นรากฐานสร้างความรู้ขั้นพื้นฐาน เพราะโรงเรียนเป็นแหล่งแรกที่จะสอนให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ พัฒนาทักษะทางการใช้ภาษา การศึกษาเบื้องต้นในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยมีการอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญ การจัดการเรียนการสอนที่อยู่บนฐานของการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ วิธีการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การมีห้องสมุดที่อุดมด้วยหนังสือและวัสดุการอ่านหลายรูปแบบ หลากหลายสาขาวิชา มีครูและบรรณารักษ์ที่เป็นนักอ่านและร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่าน เป็นสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการสร้างนิสัยรักการอ่าน พัฒนาการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก ในปัจจุบันสังคมไทยเริ่มให้ความสนใจกับปัญหาการอ่านมากขึ้น โดยมี การประชุม สัมมนา อภิปราย เพื่อแสวงหาหนทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อส่งเสริมให้คนไทย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนอ่านหนังสือมากขึ้น มีความพยายามที่จะผลิตและเผยแพร่หนังสือเพิ่มขึ้น มีการจัดโครงการส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนต่าง ๆ ตลอดจนการสำรวจสถิติการอ่านของคนวัยต่าง ๆ องค์ประกอบอย่างหนึ่งของการอ่านคือ การเคลื่อนไหวสายตาในการอ่านและความเข้าใจความหมายอย่างถ่องแท้ ในการอ่านจะต้องมีการฝึกอยู่เสมอและถูกต้องตามวิธีการด้วย ความเข้าใจความหมายของการอ่านมีความหมายต่าง ๆ กัน เมื่อเอ่ยถึงการอ่านต้องมีความเข้าใจมาเกี่ยวข้องคือ เข้าใจในถ้อยคำที่อ่าน เช่น ถ้ามีเด็กเห็นคำว่า กา แล้วเปล่งเสียงว่า กา ก็เข้าใจว่าเป็นการอ่าน เช่นนี้เป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเพราะเด็กอาจไม่เข้าใจ กา ที่เปล่งเสียงออกมานั้น หมายถึง นกชนิดหนึ่งที่มีสีดำ ร้อง กา กา กา หรืออาจหมายถึง การที่ใช้ในการต้มน้ำ หรืออาจ ไม่เข้าใจทั้งสองความหมายก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงยังไม่เรียกว่าการอ่าน แต่เป็นเพียงการเปล่งเสียงเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่นักเรียนควรเข้าใจกับความหมายของการอ่าน ถ้าเป็นการอ่านที่ต้องเข้าใจความหมายของคำ ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถอ่านเรื่องและสรุปเรื่องให้ถูกต้อง
การอ่านแจกลูกสะกดคำ ซึ่งวิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2549 : 30) ได้อธิบายความหมายของการแจกลูกมีความหมาย 2 นัย นัยแรก หมายถึง การแจกลูกในมาตราตัวสะกดแม่ ก กา กง กน กม เกย เกอว กก กด และกบ การแจกลูกจะเริ่มต้นการสอนให้จำ และออกเสียงพยัญชนะและสระให้ได้ก่อน จากนั้นจะเริ่มแจกลูกในมาตราแม่ ก กา จะใช้การสะกดคำไปทีละคำไล่ไปตามลำดับของสระ แล้วจึงอ่านโดยไม่สะกดคำ จึงเรียกว่าแจกลูกสะกดคำ แล้วอ่านคำในมาตราตัวสะกดทุกมาตราจนคล่อง จากนั้นจะอ่านเป็นเรื่องเพื่อประยุกต์หลักการอ่านนำไปสู่การอ่านคำที่เป็นเรื่องอย่างหลากหลาย นัยสอง หมายถึง การเทียบเสียง เป็นการแจกลูกวิธีหนึ่ง เมื่อนักเรียนอ่านคำได้แล้วให้นำรูปแบบคำมาแจกลูกโดยการเปลี่ยนพยัญชนะต้นหรือพยัญชนะท้าย เช่น บ้าน สูตรของคำ คือ ให้เปลี่ยนพยัญชนะต้น เช่น ก้าน ป้าน ร้าน ล้าน ค้าน เป็นต้น หลักการเทียบเสียง มีดังนี้ 1) อ่านสระเสียงยาวก่อนสระเสียงสั้น 2) นำคำที่มีความหมายมาสอนก่อน 3) เปลี่ยนพยัญชนะที่เป็นพยัญชนะต้นและพยัญชนะเสียงท้าย 4) นำคำที่อ่านมาจัดทำแผนภูมิการอ่าน เช่น กา มา พา ลา ยา ค้า ม้า ช้า ล้า น้า บ้าน ก้าน ป้าน ร้าน ค้าน วิธีอ่านจะไม่สะกดคำให้อ่านเป็นคำตามสูตรของคำ เช่น อ่าน กา สูตรของคำคือ า นำพยัญชนะมาเติมและอ่านเป็นคำ เช่น ยา ทา หา นา ตา อา การสอนแบบ การแจกลูกสำหรับนักเรียนแรกอ่าน (ชั้น ป.1 และ ป.2) มีหลักการสอน ดังนี้ 1) เริ่มจากสระที่ง่ายที่สุดคือ สระ า 2) ใช้แผนผังความคิดแจกลูก โดยเลือกคำที่มีความหมายก่อน 3) ผู้เรียนอ่านออกเสียงคำและทำความเข้าใจความหมาย 4) นำคำจากแผนผังความคิดมาแต่งประโยค 5) อ่านประโยคที่แต่ง และ 6) เขียนประโยคที่แต่ง สรุปการแจกลูกในรูปแบบเช่นนี้สามารถที่จะแจกต่อไปได้อีก เช่น แจกสระ เ- แ- โ- ไ- ใ- เ-า ฯลฯ และนำมาแต่งประโยคโดยการบูรณาการกับคำที่ประสมกับสระอื่น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ และสามารถนำไปแต่งประโยคที่ยากและซับซ้อนขึ้นได้ เพราะเป็นการเรียนจากเรื่องที่ง่ายไปสู่เรื่องที่ยากและยังได้ให้ความหมายของการสะกดคำ ดังนี้ การสะกดคำ หมายถึง การอ่านโดยนำเสียงพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสมเป็นคำอ่าน การอ่านสะกดมาประสมเป็นคำอ่าน การอ่านสะกดคำจะต้องให้นักเรียนสังเกตรูปคำพร้อมกับการอ่าน การสอนอ่านสะกดคำพร้อมกับเขียน ครูต้องให้อ่านสะกดคำแล้วเขียนคำไปพร้อมกัน การสอนสะกดคำโดยการนำคำที่ความหมายมาสอนก่อน เมื่อสะกดคำจนจำได้แล้วจึงแจกคำ เพราะการสะกดคำจะเป็นเครื่องมือการอ่านคำใหม่โดยเริ่มจากคำง่าย ๆ แล้วบอกทิศทางการออกเสียงแล้วแจกคำโดยเปลี่ยนพยัญชนะต้น
แนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาทักษะการอ่าน แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การเตรียมการอ่าน คือ การสร้างพื้นฐานความคิดให้กับผู้อ่าน ผู้อ่านจะต้องการชื่อเรื่อง หัวข้อย่อยจากสารบัญ คำนำ เพื่อให้ทราบจุดมุ่งหมายของหนังสือที่อ่าน ขั้นที่ 2 การอ่าน ผู้อ่านจะใช้ความรู้จากการอ่านคำ ความหมายของคำมาใช้ในการอ่าน รวมทั้งการรู้จักแบ่งวรรคตอน เรียนรู้วิธีการอ่านให้เร็ว การสะกดคำ และการตีความหมายของคำ ขั้นที่ 3 การแสดงความคิดเห็น คือ การให้ผู้อ่านจดบันทึกข้อความที่สำคัญ แล้วเขียนแสดงความคิดเห็นข้อความที่อ่าน ตอนใดที่ไม่เข้าใจให้อ่านซ้ำเพื่อทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ขั้นที่ 4 การอ่านสำรวจ โดยการให้อ่านตอนใดตอนหนึ่ง ตรวจสอบคำ ภาษาที่ใช้ โครงเรื่องของหนังสือ สำรวจเชื่อมโยงเหตุการณ์และความสำคัญของเรื่อง ขั้นที่ 5 การขยายความคิด โดย การให้ผู้อ่านสะท้อนความเข้าใจในการอ่านบันทึกข้อคิดเห็น คุณค่าของเรื่อง ความรู้สึกจากการอ่าน เขียนบันทึกรายงานการอ่าน เพื่อให้ได้ความรู้ที่กว้างขวางขึ้น (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545ข : 21- 30)
จากเหตุผลที่กล่าวมาในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าการสอนการอ่านนั้นไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งในปีการศึกษา 2559 ผู้ศึกษาในฐานะครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งโรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 จัดการศึกษาเพียง 1 ห้องเรียน พบว่า นักเรียนจำนวน 18 คน ไม่ผ่านสาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้ ความคิด เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตและนิสัยรักการอ่าน ตัวชี้วัด 1) การอ่านออกเสียง 2) ตัวชี้วัดอธิบายความหมายของคำและข้อความที่อ่านในสาระการเรียนรู้ เรื่อง ตัวสะกดที่เกิดจากสาเหตุที่เป็นประเด็นปัญหาคือ อ่านออกเสียง ได้แก่ อ่านไม่ออก คำที่ใช้ตัวสะกด อ่านคำผิด อ่านคำหรือข้อความที่มีความหมายประกอบผิด อ่านแยกคำหรืออ่านแบ่งวรรคตอนผิด การอ่านออกเสียงผิด เป็นต้น หากไม่เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา จะส่งผลการเรียนรู้ภาษาไทยเพราะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นบุคคลรักการอ่าน รักการค้นคว้า รักการเรียนรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม รักษาสุขภาพกายใจ อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม รักวัฒนธรรมไทย และรู้จักปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม ดังที่ ชุติวรรณ (2553) กล่าวว่า ทักษะการอ่านสำหรับการเรียนในชั้นประถม เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้เพราะการเรียนวิชาต่าง ๆ ทุกระดับต้องอาศัยความสามารถทางการอ่านทั้งสิ้น ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติแห่งชาติ (NT) โดยสำนักทดสอบทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ (2555) พบว่า การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเห็นได้จากการรายงานผลการทดสอบ (NT) ระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ปี 2555 วิชาภาษาไทย เด็กไทยอ่านไม่ออก-อ่านไม่คล่อง คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.95 เนื่องจากปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยนั้น นักเรียนมีความกังวลในเรื่องของการอ่านหนังสือไม่ออก โดยเฉพาะคำที่มีตัวสะกดขาดทักษะการอ่าน อ่านช้า ขาดความสนใจในการอ่าน ไม่ชอบอ่านข้อความที่ยาวเพราะเห็นว่ายาก และน่าเบื่อ การสอนเด็กอ่านออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ผิดหลักภาษาไทย เด็กสะกดคำไม่ถูกต้องทำให้ความหมายของคำผิดไป เด็กไม่มีนิสัยรักการอ่าน อ่านไม่ได้หรืออ่าน ไม่ออก เด็กจำรูปคำไม่ได้ สะกดตัวไม่ถูก และไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์นั้น ๆ อ่านไม่ถูกวิธี คือ เวลาอ่านในใจปากขมุบขมิบ มีเสียงพึมพำในลำคอ ชี้ตามตัวอักษร อ่านช้า อ่านทีละคำ อ่านแล้วไม่สามารถ จับใจความของเรื่องที่อ่านได้ กระทรวงศึกษาธิการ (2551) ครูจำเป็นต้องหาวิธีช่วยเหลือเด็กที่ไม่สามารถผ่านการทดสอบตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กมีความกระตือรือร้นสนใจในการเรียน โดยใช้เทคนิคในการสอนอย่างหลากหลาย มีความเข้าใจในเนื้อหาและถ่ายทอดมวลประสบการณ์ต่าง ๆ สอดแทรกกิจกรรมที่ท้าทายชวนให้เด็กกระตือรือร้น ไม่น่าเบื่อหน่าย สนใจและตั้งใจเรียน ซึ่งการสอนในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องการให้เด็กฟังก่อนแล้วให้เด็กอ่านตาม อ่านแจกลูก อ่านสะกดคำ ตามความเหมาะสมหากให้เด็กอ่านแต่แรกโดยมิได้เตรียมความพร้อม เด็กจะไม่อยากอ่านเพราะอ่านไม่ได้และเกิดความเบื่อหน่าย การอ่านสะกดคำ ผู้ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาในการพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้คือ ครูผู้สอน ทั้งนี้เพราะครูผู้สอนมีหน้าที่โดยตรงในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก กล่าวคือ ถ้าครูผู้สอนจัดกิจกรรมครบอย่างหลากหลาย เช่น กิจกรรมร้องเพลง ปรบมือ เคาะจังหวัด เกม แสดงละครปริศนาคำทายและการแข่งขันตอบคำถาม และมีสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพนี้ ก็จะส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จด้านการอ่านสะกดคำ จึงจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการสอนของครู และสื่อจากการศึกษาเอกสารวิชาการและวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำ
จากการวิจัยของ ปริญญาภรณ์ สายธิตา (2550 : 112) ที่ศึกษาผลการใช้แผนการสอน 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 คน พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนแบบ 4MAT ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังสูงกว่าก่อนเรียน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนตามแนวของกรมวิชาการ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนแบบ 4MAT แตกต่างจากนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนตามแนวของกรมวิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนแบบ 4MAT มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของรอหานี สาหวี (2553 : 65) ได้ทำการศึกษาวิธีการสอนแบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยวิธีสอนแบบ 4MAT หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยวิธีสอบแบบ 4MAT และวิธีสอนแบบปกติไม่แตกต่างกัน แต่แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยวิธีสอนแบบ 4MAT สูงกว่าวิธีสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นอกจากวิธีการสอนที่มีคุณภาพแล้ว สิ่งที่สำคัญต่อการเรียนการสอนที่เอื้อให้ครูประสบผลสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ แรงจูงใจใน การเรียนรู้และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ถือว่าเป็นแรงจูงใจที่สำคัญที่จะส่งผลให้บุคคลประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งทางด้านการงานและการเรียน ดังที่ Bruner (1961 ; อ้างถึงในพระมหาก้องนภา สิงห์ศร, 2560 : 9) ได้กล่าวว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประมาณแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงนั้นจะเป็นผู้ที่พยายามบากบั่นกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จเพื่อบรรลุมาตรฐานของตนเองมากกว่าจะหลีกเลี่ยง และเลือกงานที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง ดังที่พรพรรณ แก้วฝ่าย (2556 : 80) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยซัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 118 คน พบว่า ปัจจัยด้านนักเรียน ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อการเรียน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีอำนาจพยากรณ์ที่สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 64.2 และ 50.2 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับ ยุทธภูมิ ดรเถื่อน (2556 : 105) ได้ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 336 คน จากโรงเรียน 21 แห่ง พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลในรูปที่เป็นสาเหตุโดยทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิมและเจตคติต่อวิชาภาษาไทย ตัวแปรที่มีอิทธิพลในรูปที่เป็นสาเหตุโดยตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ได้แก่ ความถนัดทางภาษา และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตัวแปรที่มีอิทธิพลในรูปที่เป็นสาเหตุโดยทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ได้แก่ บรรยากาศในชั้นเรียน มโนภาพแห่งตน ความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง และคุณภาพการสอน
จากที่มาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงได้ออกแบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MATเรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นตามเกณฑ์ ตัวชี้วัดมาตรฐานการเรียนรู้ สารที่ 1 มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจคงทน เกิดความคิดรวบยอด มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และนำพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัยไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขคู่คุณธรรม ในการศึกษาครั้งนี้ก่อให้เกิดผลงานทางวิชาการอย่างกว้างขวาง เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ ครูมีแนวทางสามารถศึกษาและนำสิ่งที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดคุณค่าต่อการศึกษาและที่สำคัญเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย คุณภาพการศึกษาระดับนโยบาย ระดับพื้นที่ และแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนบ้านจาน และสิ่งที่มีคุณค่า ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัว ซึ่งเป็นตัวแทนชุมชนได้อย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
สมมติฐานของการศึกษา
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
3. ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด
ระยะเวลาในการศึกษา
ระยะเวลาในการศึกษา คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 5 สัปดาห์ รวมทั้งหมด 22 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2560
ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาในการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดเนื้อหาสาระที่เป็นของดี เด่น ดังเมืองร้อยเอ็ด โดยนำตัวสระมาสร้างสรรค์เป็นเรื่องราวที่ร้อยเรียงคำที่ประสมด้วยสระจำนวน 9 สระ เล่าเรื่องเกี่ยวกับชุมชน อาหาร ผลิตภัณฑ์ ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม ที่ดี เด่น ดังของเมืองร้อยเอ็ด เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาข้าวจี่ ผ้าไหมเมืองสาเกต วิถีชีวิตชุมชน รวมไปถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยนำตัวสระแต่ละตัว มาเล่าเรื่องดี เด่น ดังของเมืองร้อยเอ็ด เป็นการเขียนเนื้อหาที่ผู้ศึกษาได้ร้อยเรียงถ้อยคำที่สวยงามกะทัดรัด โดยไม่มีลักษณะบังคับทางฉันทลักษณ์ที่ตายตัวจะมีการแบ่งเป็นช่วงเป็นวรรค จัดเป็นบรรทัด มีความสั้นยาวไม่เท่ากันแล้วแต่เนื้อหาที่ได้จังหวะงดงาม ทำให้มีลักษณะเหมือนกลอนเปล่า คล้ายร้อยกรอง หรือกลอนแปด เพียงแต่ไม่เน้นหรือให้ความสำคัญของการสัมผัสบังคับจะเน้นการให้ความสำคัญทางเนื้อหามากกว่า ซึ่งในการกำหนดเนื้อหาผู้ศึกษามีจุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างสื่อที่สอดคล้องตามบริบทของนักเรียน ที่สามารถกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้สนใจเรียนรู้ และได้ฝึกทักษะการอ่านสะกดคำที่ประสมด้วยตัวสระทั้ง 9 ตัว นักเรียนจะสามารถอ่านสะกดคำ อ่านคำ อ่านประโยค และสามารถนำคำใหม่ไปแต่งประโยคสั้น ๆ ได้อย่างมีความหมาย สามารถรับรู้ และเข้าใจได้ว่ามีสระประสมอยู่ในคำที่มีความหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่สำคัญนักเรียนจะสามารถเข้าใจถึงคุณค่าของจังหวัดร้อยเอ็ด ทำให้สำนึกรักบ้านเกิดของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การเกิดทักษะที่สามารถอ่านสะกดคำ ที่ประสมด้วยตัวสระอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และในการศึกษาครั้งนี้มีสระเล่าเรื่องจำนวน 9 สระ 9 เรื่อง ดังนี้ เรื่องที่ 1 สระ ะ บอกเล่าของดีเมืองร้อยเอ็ด เรื่องที่ 2 สระ า ของดีของฝากอาหารดังเมืองร้อยเอ็ด เรื่องที่ 3 สระ ิ ท้องถิ่นของเรามีอะไรดี เด่น ดัง เรื่องที่ 4 สระ ี ที่เมืองร้อยเอ็ดมีดีให้อวด
เรื่องที่ 5 สระ -ุ ชุมชนแสนสุข สนุกสนาน เรื่องที่ 6 สระ -ู ชุมชนน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก เรื่องที่ 7 สระ -ำ จำทำดี มีให้เห็น ทำให้เป็น เรื่องที่ 8 สระ -ใ ใส่ใจเรียนรู้ เรื่องที่ 9 สระ -ไ สมุนไพรเมืองสาเกต
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2. ตัวแปรตาม ได้แก่
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด
2.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MATเรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 ผู้ศึกษาใช้สูตรหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์โดยเฉลี่ย / สำหรับการศึกษาครั้งนี้ใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ทดสอบสมมติฐานข้อที่ 2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการจัดกิจกรรม การเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) และการทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยใช้สถิติทดสอบ t-test Dependent
3. ทดสอบสมมติฐานข้อที่ 3 วิเคราะห์ผลคะแนนระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สถิติพื้นฐานด้วย การหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
อภิปรายผล
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 จากการศึกษา พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.88 โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.27 จึงสรุปได้ว่าแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความเหมาะสม ที่จะนำมาใช้พัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำ ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 92.06/97.27 เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด / คือ 80/80 แสดงว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐาน ข้อ 1 ทั้งนี้อันเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้ รูปแบบ 4MAT ของผู้ศึกษาในครั้งนี้ พบว่า แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ที่ผู้ศึกษาได้ออกแบบสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำ มีกระบวนการเชิงปฏิบัติการที่นักเรียนจะสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเองอย่างอิสระ มีความคิดสร้างสรรค์อย่างมีความสุข ทำให้นักเรียนเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม กระตุ้นให้คิดแบบจินตนาการ เรียนรู้จากการสังเกตอย่างไตร่ตรองนำไปสู่การสร้างความคิดรวบยอด สามารถสร้างความคิดรวบยอดไปสู่การลงมือปฏิบัติ สามารถสร้างชิ้นงานของตัวเอง และสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์นำไปสู่การลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ เพราะเกิดจากนักเรียนมีพัฒนาการเรียนรู้การอ่านสะกดคำ สามารถสรุปความคิดรวบยอด สะท้อนความรู้ความเข้าใจที่คงทน ได้ด้วยการทำกิจกรรมกลุ่ม เรียนรู้คำที่ประสมด้วยตัวสระในชีวิตประจำวัน และนำคำที่ได้มาแต่งเป็นประโยค ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน โดยได้กำหนดเนื้อหาสาระที่เป็นของดี เด่น ดังเมืองร้อยเอ็ด โดยนำ ตัวสระมาสร้างสรรค์เป็นเรื่องราว ที่ร้อยเรียงคำที่ประสมด้วย สระจำนวน 9 สระ เล่าเรื่องเกี่ยวกับชุมชน อาหาร ผลิตภัณฑ์ ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม ที่ดี เด่น ดังของเมืองร้อยเอ็ด เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาข้าวจี่ ผ้าไหมเมืองสาเกต วิถีชีวิตชุมชน รวมไปถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยนำตัวสระแต่ละตัวมาเล่าเรื่องดี เด่น ดังของเมืองร้อยเอ็ด เป็นการเขียนเนื้อหาที่ผู้ศึกษาได้ร้อยเรียงถ้อยคำที่สวยงามกะทัดรัด โดยไม่มีลักษณะบังคับทางฉันทลักษณ์ที่ตายตัว จะมีการแบ่งเป็นช่วงเป็นวรรค จัดเป็นบรรทัด มีความสั้นยาวไม่เท่ากันแล้วแต่เนื้อหาที่ได้จังหวะงดงาม ทำให้มีลักษณะเหมือนกลอนเปล่า คล้ายร้อยกรอง หรือกลอนแปด เพียงแต่ไม่เน้นหรือให้ความสำคัญของการสัมผัสบังคับจะเน้นการให้ความสำคัญทางเนื้อหามากกว่า ซึ่งในการกำหนดเนื้อหาผู้ศึกษา มีจุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างสื่อที่สอดคล้องตามบริบทของนักเรียน ที่สามารถกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้สนใจเรียนรู้ และได้ฝึกทักษะการอ่านสะกดคำที่ประสมด้วยตัวสระทั้ง 9 ตัว นักเรียนจะสามารถอ่านสะกดคำ อ่านคำ อ่านประโยค และสามารถนำคำใหม่ไปแต่งประโยคสั้น ๆ ได้อย่างมีความหมาย สามารถรับรู้ และเข้าใจได้ว่ามีสระประสมอยู่ในคำที่มีความหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่สำคัญนักเรียนจะสามารถเข้าใจถึงคุณค่าของจังหวัดร้อยเอ็ด ทำให้สำนึกรักบ้านเกิดของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การเกิดทักษะที่สามารถอ่านสะกดคำที่ประสมด้วย ตัวสระอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ตระหนักว่านักเรียนแต่ละคนมีรูปแบบ การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และมุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ๆ ที่มีความถนัดก็จะเกิดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นและมีความสุข และเมื่อถึงขั้นตอนที่นักเรียนไม่ถนัดก็จะเกิดการเรียนรู้จากนักเรียนคนอื่นที่มีความถนัดใน ขั้นตอนนั้น จึงถือเป็นการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของนักเรียน พร้อมทั้งได้พัฒนาสมองทั้งซีก ซ้ายและซีกขวา สลับกันไปใน 8 ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ กิจกรรมขั้นที่ 1 สร้างประสบการณ์ กระตุ้นสร้างแรงจูงใจ ให้นักเรียนเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของตนเอง กิจกรรมขั้นที่ 2 วิเคราะห์ประสบการณ์นักเรียนสะท้อนความคิดจากประสบการณ์และตรวจสอบประสบการณ์กิจกรรมขั้นที่ 3 บูรณาการการสังเกตไปสู่ความคิดรวบยอดนักเรียนบูรณาการประสบการณ์และความรู้ไปสู่ความคิดรวบยอด กิจกรรม ขั้นที่ 4 พัฒนาความคิดรวบยอด นักเรียนได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงตามทฤษฎีหรือ ความคิด รวบยอด ให้นักเรียนวิเคราะห์และไตร่ตรองประสบการณ์กิจกรรมขั้นที่ 5 ปฏิบัติและปรับแต่งเป็นแนวคิดของตนเอง นักเรียนลองปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยสามัญสำนึก ประสาทสัมผัสของตนเอง เพื่อพัฒนาแนวคิดและทักษะ กิจกรรมขั้นที่ 6 ปรับแต่งเป็นแนวคิดของตนเอง ผู้เรียนปรับปรุงสิ่งที่ปฏิบัติด้วยวิธีการของตนเอง และ บูรณาการเป็นองค์ความรู้ของตนเองกิจกรรมขั้นที่ 7 เกิดประสบการณ์ความรู้ความเข้าใจที่คงทน วิเคราะห์แล้ววางแผนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น กิจกรรมขั้นที่ 8 แลกเปลี่ยนความรู้ของตนกับผู้อื่นซึ่งจากการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนดังกล่าว ผู้ศึกษาสังเกตได้ว่านักเรียนมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน คละคนเก่ง อ่อน ปานกลางอยู่ด้วยกันในบางครั้งบางขั้นตอนนักเรียนที่เรียนอ่อนจะมีบทบาทที่โดดเด่นกว่านักเรียนที่เรียนเก่ง เช่น กิจกรรมขั้นที่ 6 ปรับแต่งเป็นแนวคิดของตนเอง นักเรียนที่เรียนอ่อน สามารถนำประสบการณ์ในการใช้ชีวิตประจำวันที่บ้าน มาปรับปรุงสิ่งที่ปฏิบัติด้วยวิธีการของตนเอง และบูรณาการเป็นองค์ความรู้ ของตนเอง แสดงความคิดเห็นให้กับเพื่อน ๆ ได้ดี ครูผู้สอนจะจัดการเรียนการสอนแบบใด จึงทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น และเข้าเรียนอย่างกระฉับกระเฉงทุกครั้ง และเป็นการจัดการเรียนรู้ ที่ให้นักเรียนได้มีบทบาทมากที่สุดโดยครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือ ชี้แนะ อำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียน เพื่อให้ การเรียนการสอนดำเนินไปตามเป้าหมายที่วางไว้ (ดุษฎี มัชฌิมาภิโร, 2553 : 145) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ รัติญา ชูตระกูล (2554 : 21) ที่กล่าวถึงความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ไว้ ว่า เป็นแบบแผน การสอนที่แสดงกระบวนการขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนแบ่งเป็น ขั้นตอนย่อย ๆ 2 ขั้นตอน รวม 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การนำเสนอประสบการณ์ ที่มีความสัมพันธ์กับผู้เรียน ขั้นตอนย่อยที่ 1 การเสริมสร้างประสบการณ์ผู้เรียน ขั้นตอนย่อยที่ 2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้รับ ขั้นตอนที่ 2 การเสนอเนื้อหา สาระ ข้อมูลแก่ผู้เรียน ขั้นตอนย่อยที่ 3 การบูรณาการประสบการณ์สร้างความคิดรวบยอด ขั้นตอนย่อยที่ 4 การพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด ขั้นตอนที่ 3 การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด ขั้นตอนย่อยที่ 5 การปฏิบัติตามขั้นตอน ขั้นตอนย่อยที่ 6 การนำเสนอผลการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 4 การนำความคิดรวบยอด ไปสู่การประยุกต์ใช้ ขั้นตอนย่อยที่ 7 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้/การพัฒนางาน และขั้นตอนย่อยที่ 8 การนำเสนอผล/เผยแพร่ และเมื่อนักเรียนผ่านประสบการณ์ครบวงจรการเรียนรู้ ก็จะเกิดการบูรณาการ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการสังเกต การอภิปราย การตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น การตั้ง คำถาม การสร้างความคิดรวบยอดจนเกิดการประยุกต์ใช้ความรู้อย่างอิสระ และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักเรียนกับผู้อื่น เช่น เพื่อน ครู หรือผู้ที่สนใจ ทำให้นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจและมีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้แบบ 4MAT เริ่มจากการใช้สมองซีกขวา ใช้ความรู้สึกรับรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียนและมีจินตนาการเกี่ยวกับสิ่งนั้น และขั้นสุดท้ายก็เป็นกิจกรรมของการใช้สมองซีกขวาเช่นกัน แต่เป็นความรู้สึกที่แตกต่างกัน เนื่องจากเป็นกระบวนการที่แสวงหาความรู้ ทักษะความคิดและการลงมือทำ เพื่อสร้างผลงานจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง ภายใต้การพัฒนาของสมองแต่ละซีก คือ ขวา ซ้าย ขวา ซ้าย ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา สุคนธ์ สินธพานนท์ (2554 : 81) ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของรัตนา กองสวัสดิ์ (2553 : บทคัดย่อ) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความรับผิดชอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความรับผิดชอบของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/A โรงเรียนรังสฤษฏ์สองภาษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 21 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบประเมินความรับผิดชอบ ใช้เวลาทั้งหมด 13 คาบ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ OneGroup Pretest- Posttest Design พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2) นักเรียนร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมดมีความรับผิดชอบผ่าน เกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับงานวิจัยของ มาลี พวนกิ่ง (2552 : บทคัดย่อ) ศึกษาผลการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจุดมุ่งหมายคือ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT จำนวน 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ .73 - .80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .25 - .92 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .94 และ3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ.87 พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.10 / 83.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เท่ากับ 0.6680 แสดงว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน ร้อยละ 66.80 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ แมคคาธีร์ (McCarthy, 1991 ; อ้างถึงใน นิตยา คงทอง. 2555 : 97) ได้ศึกษาเรื่องการเรียนรู้กับโรงเรียนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่เพิ่มเติมการประเมินผลได้กระทำอย่างต่อเนื่องจากโรงเรียน 16 แห่งในสหรัฐอเมริกาและแคนนาดาเน้นส่วนที่แสดงความสำเร็จ คือ บุคลิกภาพค่าเฉลี่ยเนื้อหา และหลักสูตร ความมีประโยชน์และความคิดสร้างสรรค์ การฝึก การประเมินสามารถเปลี่ยนนักเรียนให้เป็นผู้ที่ยอมรับความสำคัญของการเป็นผู้มีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นการประเมินตนเอง มีความเป็นไปได้ในการใช้กระบวนการ 4MAT และสอดคล้องกับงานวิจัยของ โบเวอร์ (Bower, 1987 ; อ้างถึงใน นิตยา คงทอง, 2555 : 97) ศึกษาผลการใช้ระบบ 4MAT ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 54 คน จาก 3 โรงเรียน จากรัฐแคโรไลน่าเหนือ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม ใช้ระบบ 4MAT และกลุ่มที่จำกัดให้นักเรียนได้ใช้สมอง ซีกซ้ายเท่านั้น ทั้งสองกลุ่มได้รับการสอนเรื่องการค้นพบกฎแรงโน้มถ่วงของนิวตันใช้เวลา 3 ชั่วโมง จากการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า มีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและจากการตอบคำถามโดยใช้การคิดวิเคราะห์ มีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทางด้านเจตคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความรู้ไม่แตกต่างกัน
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
จากการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมคะแนนก่อนเรียน ( ) เท่ากับ 24.94 และคะแนนหลังเรียน ( ) เท่ากับ 29.18 คะแนนความก้าวหน้าเท่ากับ 4.24 คะแนน และร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 14.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 25 ของคะแนนเต็ม เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นทุกคนมีคะแนนความก้าวหน้าตั้งแต่ระดับคะแนน 3 ถึง ระดับ 6 แสดงว่า นักเรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นแสดงว่า การเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจริง เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 2 ทั้งนี้อันเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เป็นการจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระ เป็นกิจกรรมที่มีกระบวนการเชิงปฏิบัติการที่นักเรียนจะสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเองอย่างอิสระ มีความคิดสร้างสรรค์อย่างมีความสุข ตามความถนัดและความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เมื่อนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาให้นักเรียนได้เข้าใจทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงส่งผลให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น จากกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ข้างต้น ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เนื่องจากนักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่เป็นภาพรวมของสิ่งที่จะเรียนทั้งหมด และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวนักเรียนสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้ นักเรียนจะสามารถเข้าใจถึงคุณค่าของจังหวัดร้อยเอ็ดทำให้สำนึกรักบ้านเกิดของตนเอง อยากเป็นคนดีของชุมชนและจังหวัดบ้านเกิดของตนเอง ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ อยากรู้ อยากเรียน เรียนรู้ร่วมกับเพื่อน อย่างมีความสุข นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งตอบสนอง การเรียนรู้ของนักเรียนทั้ง 4 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 นักเรียนที่ถนัดจินตนาการ นักเรียนแบบที่ 2 เป็นนักเรียนที่ถนัดการวิเคราะห์ นักเรียนแบบที่ 3 เป็นนักเรียนที่ถนัด การใช้สามัญสานึก และนักเรียนแบบที่ 4 เป็นนักเรียนที่ถนัดการรับรู้จากการลงมือปฏิบัติ (สุคนธ์ สินธพานนท์, 2558 : 76) ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย และมีความยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาสมองทั้ง 2 ซีก โดยการพัฒนาสมองซีกซ้ายผ่านการอภิปราย วิเคราะห์ การชมวีดีทัศน์ การตอบคำถามในใบกิจกรรม และการพัฒนาสมองซีกขวาโดยการแสดงความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบชิ้นงาน การแต่งบทกลอน คำคล้องจองและการเคลื่อนไหวทำกิจกรรม เป็นต้น ทำให้นักเรียนที่มีแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันได้มีโอกาสเรียนตามที่ตนถนัด มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในทางที่ดีขึ้น ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น เพราะนักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมแทนการเรียนรู้แบบเดิม ๆ คือ การฟังครูบรรยาย แต่เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกฝนลงมือปฏิบัติ และเรียนรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ นอกจากนี้นักเรียนที่เรียนอ่อนได้ค้นพบว่าตนเองมีความชอบในขั้นตอนการเรียนรู้แบบใด ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนได้ค้นพบตนเอง และพัฒนาตนเองผ่านขั้นตอนที่ถนัดนั้น ๆ และยังได้ เรียนรู้จากการอธิบายของเพื่อนที่เรียนเก่ง จึงเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับ สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ (2543 : 47) ได้กล่าวถึง ข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ว่าสามารถพัฒนานักเรียนในด้านความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางจริยธรรม และความฉลาดทางปัญญา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเยาวเรศ ชมชื่น (2552 : 43) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น สำหรับรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT ผู้สอนต้องมีวิธีในการเลือกสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยคำนึงเรื่องของความต้องการ ความพึงพอใจและความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการพัฒนาสมองซีกซ้ายและซีกขวาให้ทำงานร่วมกันอย่างสมดุล ถ้าหากมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมแล้วก็จะทำให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาเกิดทักษะการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับจากกระบวนการจัด การเรียนรู้แบบ 4MAT ข้างต้น ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เนื่องจากนักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่เป็นภาพรวมของสิ่งที่จะเรียนทั้งหมด และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวนักเรียน สามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของศรีไพร พนมศรี (2550 : 84-87) ได้ศึกษา ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลปรากฏว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เนื่องจากการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT เป็นการ จัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นเป็นสำคัญโดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเป็นกลุ่ม และเป็น รายบุคคล มีกระบวนการจัดกิจกรรมที่หลากหลายที่พัฒนาสมองสมอง ซีกซ้ายและซีกขวา นักเรียนได้ พัฒนาศักยภาพของตนเอง ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น นักเรียนได้ผ่อนคลายในช่วงกิจกรรมที่ตนเอง ถนัด รู้สึกท้าทายในกิจกรรมที่คนอื่นถนัด ส่งผลให้ผลการเรียนพัฒนาสูงขึ้น เช่นเดียวกันกับงานวิจัยของ ยุพิน ตุงไธสง (2550 : 71-72) ที่ได้ศึกษาผลการเรียนแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กล่าวว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เป็นกิจกรรมที่มีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องชัดเจน นักเรียนได้มีโอกาสบูรณาการประสบการณ์เดิม มีการสร้างความคิดรวบยอดและลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความถนัดและความ สนใจ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้รับกับผู้อื่นซึ่งทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาสมองซีกซ้ายและ ซีกขวาอย่างสมดุล ทำให้นักเรียนมีการเรียนรู้ตามศักยภาพของตน และถือเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติทั้งเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และตัดสินใจร่วมกัน นักเรียนที่รู้น้อยกว่าสามารถเรียนรู้จากคนที่รู้มากกว่า ในขณะที่คนรู้มากมีโอกาสได้เพิ่มทักษะโดยการอธิบายให้แก่ผู้อื่นจากกิจกรรม การเรียนที่หลากหลาย นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขสนุกสนาน สอดคล้องกับงานวิจัยของปิ่นแก้ว สระแก้ว (2555 : 83-85) ได้ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่องระบบประสาทและ อวัยวะรับความรู้สึกรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เป็นวิธีการสอนที่คำนึงถึงรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นของตนเองของนักเรียนทั้ง 4 แบบ ตลอดจนพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยใช้เทคนิคการพัฒนาสมองซีกซ้ายและซีกขวาให้ทำงานร่วมกันอย่างสมดุล และนักเรียนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนซึ่งทำให้นักเรียนไม่สับสนในเนื้อหาและเข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น นักเรียนได้มีการพัฒนาที่รอบด้านอย่างสมดุลและสนองความต้องการที่แตกต่างกันของ นักเรียนแต่ละคนเรียนรู้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับงานวิจัยของวัชรพร กิจโป้ (2555 : 76-79) ได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เพศศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนร้อยละ 83.33 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกคิดได้อภิปรายร่วมกัน แล้วแสดงความคิดเห็น และฝึกคิดวิเคราะห์จากสถานการณ์ต่าง ๆ ฝึกปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT ซึ่งในขั้นตอนที่ 6 นักเรียนได้นำความรู้ความ เข้าใจที่ได้รับมาสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง ชิ้นงานของนักเรียนสะท้อนให้เห็นถึงการนำความรู้ ทักษะกระบวนการจากขั้นตอนที่ผ่านมาใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเองในขั้นตอนที่ 6 นอกจากนี้ยังได้ข้อสังเกตจากการวิจัยว่า การใช้รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนและบทเรียนเป็นสื่อการเรียนรู้ในขั้นตอนที่ 1 สามารถดึงดูดความสนใจและสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้นักเรียนได้ดีมาก อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้คิดเชื่อมโยงกับประสบการณ์และเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ รอหานี สาหวี (2553 : บทคัดย่อ) ศึกษาผลของวิธีสอนแบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนดารุลบารอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ 1) แผนการจัดการ เรียนรู้ โดยวิธีสอนแบบ 4MAT 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบปกติ 3) แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น .70 4) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่าความเชื่อมั่น .84 แบบแผนการวิจัยที่ใช้เป็นแบบทดสอบก่อนและทดสอบหลัง (Before After Research Design) พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของ นักเรียนที่เรียนโดยวิธีสอนแบบ 4MAT หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนที่เรียนโดยวิธีสอนแบบ 4MAT และวิธีสอนแบบปกติไม่แตกต่างกัน แต่แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เรียนโดยวิธีสอนแบบ 4MAT สูงกว่าวิธีสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สอดคล้องกับงาน ธัญญาพร ก่องขันธ์ (2554 : บทคัดย่อ) ศึกษาผล การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT ของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน เรื่อง การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT โดยให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียน ที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านโคกม่วง (ดำประชาอุทิศ) อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT หน่วยการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ จำนวน 12 แผน การเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบท้ายวงจร แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ท้ายวงจรแบบประเมินชิ้นงานของนักเรียน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.86 และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.84 พบว่า 1) ผู้เรียนแต่ละคนที่มีลักษณะการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากการทำกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจและได้ใช้ทักษะการคิดค้นด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนสนุกและเกิดความสุขในการเรียน นอกจากนี้นักเรียนยังได้รับประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ เฝ้าสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของกันและกันขณะทำกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองได้ 2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 85.37 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และ 3) นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยร้อยละ 84.72 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 88.89 ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด งานวิจัยของสําราญ แปลงไล (2554 : บทคัดย่อ) ศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนาผลการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมแบบ 4MAT 3) เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อหน้าที่ชาวพุทธระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนอิสาณโกศลศึกษา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาโดยสุ่มแบบสุ่มกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 3 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จำนวน 6 แผน ใช้เวลา 12 ชั่วโมง โดยมีคะแนนเฉลี่ยของแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีค่าเท่ากับ 4.39 - 4.55 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เป็นแบบปรนัย ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.34 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 และ 3) แบบทดสอบวัดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ชาวพุทธ เป็นแบบปรนัย ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก(B) ตั้งแต่ 0.25-0.75 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 พบว่า (1)ประสิทธิภาพ ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง วันสำคัญทาง พระพุทธศาสนา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.02/86.31 (2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7161 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน ร้อยละ 71.61 และ (3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4MAT เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนามีความ รับผิดชอบต่อหน้าที่ชาวพุทธหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของอุดร จันทร์ดวง (2554 : บทคัดย่อ) ที่ได้ทำการศึกษาผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เสริมด้วยแผนผังความคิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบ เทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เสริมด้วยแผนผังความคิดก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เสริมด้วยแผนผังความคิดก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านเลื่อม อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 20 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ค่าความเชื่อมั่น 0.91 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความ เชื่อมั่น 0.92 ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เสริม ด้วยแผนผังความคิด มีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.50 และหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 76.83 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เสริมด้วย แผนผังความคิด มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 54.50 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75 และงานวิจัยของ ดาวเรือง โงนมณี (2555 : บทคัดย่อ) ศึกษาการประเมินความแตกต่างประสบการณ์และผลการ เรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมนำชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการเรียนรู้แบบ 4MAT กับการเรียนปกติ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความแตกต่างประสบการณ์ การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่อง หลักธรรมนำชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT กับการเรียนปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแอกและโรงเรียนบ้านข่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT 2) แผนการ จัดการเรียนรู้ปกติ 3) แบบประเมินประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.27 ถึง 0.68 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.76 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.28-0.80 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 5) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีค่าความยากระหว่าง 0.23-0.67 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.220.86 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ผลการทดลองพบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT มีประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสูงกว่านักเรียนที่เรียนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หลักธรรมนำชาวพุทธและความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ปกติอย่างมี นัยสำคัญที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด
จากการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.28 อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ผู้ศึกษามุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการ ความรักและความเป็นเจ้าของ คือ ความพึงพอใจของผู้ปกครองของนักเรียน ที่มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ค้นหาคำตอบจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนจริง ได้มีโอกาสหาความรู้จากผู้ปกครอง ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนให้ความร่วมมือในการแสวงหาและให้ข้อมูลในขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้เชื่อมโยงความรู้เดิมที่ได้จากโรงเรียนกับประสบการณ์ใหม่ในบริบทชุมชนของนักเรียนเอง ที่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น จึงได้ออกแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีระดับของการตอบสนองเป็น 5 มาตรวัด คือ ระดับมากที่สุดให้ 5 คะแนน ระดับมากให้ 4 คะแนน ระดับปานกลางให้ 3 คะแนน ระดับน้อยให้ 2 คะแนน และระดับน้อยที่สุดให้ 1 คะแนน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ปริญดา หอมสวัสดิ์ (2555 : 51) ที่ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความพึงพอใจไว้ว่า ผู้ปกครองมีความต้องการให้โรงเรียนมีการพัฒนาในด้านวิชาการ หลักสูตร ด้านบุคลากร คุณภาพ ในการจัดการเรียน การสอน ด้านการบริการนักเรียน ด้านการจัดอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและผู้ปกครองนักเรียนเพื่อที่เด็ก จะได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถ มีการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญาตลอดจนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมตลอดไป และสอดคล้องกับแนวคิดของ วรายุทธ แก้วประทุม (2556 : 60) ที่ได้กล่าวว่า ความพึงพอใจ คือ ความรู้สึก หรือทัศนคติที่ดีของบุคคลเป็นไปตามความคาดหวังหรือมากกว่าสิ่งที่คาดหวัง ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกกระตือรือร้นและสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามได้ต่อไป ความรู้สึกจะลดลงหรือไม่เกิดขึ้น หากความต้องการหรือจุดมุ่งหมายนั้นได้รับการตอบสนองและถ้ามีความรู้สึกที่ดีต่อการทำงาน จะมีผลทำให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน มีการเสียสละ อุทิศกาย ใจและสติปัญญาให้แก่งาน ซึ่งจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้ในที่สุด และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของบุญไทย ศรีกา (2550 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT เรื่อง โอวาท 3 สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความ มุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่องโอวาท 3 สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่องโอวาท 3 สาระพระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT พบว่า นักเรียนที่เรียนรู้ เรื่อง โอวาท 3 สาระการเรียนรู้ พระพุทธศาสนา โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาจึงได้ออกแบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MATเรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นตามเกณฑ์ ตัวชี้วัดมาตรฐานการเรียนรู้ สารที่ 1 มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจคงทน เกิดความคิดรวบยอด มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และนำพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัยไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข ในการศึกษาครั้งนี้ก่อให้เกิดผลงานทางวิชาการอย่างกว้างขวาง เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ ครูมีแนวทางในการศึกษา และนำสิ่งที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดคุณค่าต่อการศึกษาและที่สำคัญเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย คุณภาพการศึกษาระดับนโยบาย ระดับพื้นที่ และแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนบ้านจาน และสิ่งที่มีคุณค่า ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัว ซึ่งเป็นตัวแทนชุมชนได้อย่างแท้จริง
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
1. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปสู่การพัฒนากระบวนการ
คิด ควรมีสื่อแหล่งเรียนรู้ในการทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการได้ทั้งภายนอก และภายในโรงเรียน สำหรับช่วงเวลาการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมต้องใช้เวลามาก ผู้สอนจึงจำเป็นต้องยืดหยุ่นเวลาให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และควรให้ความสำคัญกับการให้ภาระงานที่จะทำให้นักเรียน มีการค้นคว้าอย่างอิสระของนักเรียนเพราะทำให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของ
นักเรียนตามความถนัดตามความสามารถได้เต็มตามศักยภาพ ดังนั้น ครูควรสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนแต่ละคนในขณะที่ปฏิบัติกิจกรรม
3. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง
เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เป็นนวัตกรรมหรือเครื่องมือในการขับเคลื่อนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ นำตัวเองไปสู่องค์ความรู้ใหม่เกิดการพัฒนาตนเอง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผล ถึงการบรรลุเป้าหมายคุณภาพการศึกษา คือ ผู้เรียน ครู โรงเรียน และชุมชน ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT จึงมีความเหมาะสมที่จะสามารถนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และในสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาต่อไป
1. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT ผู้สอนจำเป็นจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจต่อทฤษฎี หลักการ และขั้นตอนการจัดการเรียนรู้อย่างละเอียด เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนการสอน ได้ตรงตามหลักการพัฒนาสมองและความแตกต่างของนักเรียน และสอดคล้องกับเนื้อหาที่จะสอน และก่อนการจัด การเรียนรู้ ผู้สอนควรมีการชี้แจงรายละเอียด ของการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ เพื่อที่นักเรียนจะได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในแต่ละขั้น และมีเป้าหมายในการเรียนมากขึ้น
2. เนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT จะต้องจัดกิจกรรมให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียนเกิดการเชื่อมโยงของสมองซีกซ้ายและซีกขวา ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องวางแผน เรื่องเวลาในการจัด การเรียนรู้ในแต่ละครั้ง เพื่อที่จะไม่ใช้เวลามากเกินไปหรือน้อยเกินไปในบางขั้นตอน
3. ผู้สอนควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของนักเรียนในห้องเรียนให้มากที่สุดและจะต้องมีความต่อเนื่อง เพราะถ้านักเรียนขาดเรียนในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ได้ ซึ่งครูผู้สอนต้องมีแนวทางในการแก้ไข
4. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผู้สอนจะต้องมีความพร้อมทั้งในด้านกิจกรรม สื่อการสอน อุปกรณ์การสอน เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
5. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT เป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติการที่ครูผู้ออกแบบนวัตกรรมควรจัดกิจกรรม และมีเนื้อหาให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน ควรมีกิจกรรมที่สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่จะสามารถค้นพบตนเองในการเกิดทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตต่อไป
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาสภาพการอ่านของ
นักเรียนและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
________. (2545). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
(ร.ส.พ.).
________. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)
พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
________. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
________. (2555). ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ (NT). กรุงเทพฯ :
คุรุสภาลาดพร้าว.
กาญจนา กาบทอง. (2552). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ ปัญหา
การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้วยรูปแบบซิปปา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สุรินทร์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
โกวิท วรพิพัฒน์. (2543). คิดนอกโรงเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารการศึกษา นอกโรงเรียน
กระ