ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้วิถีอิสลาม โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน นายสมาน บิลละเต๊ะ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้วิถีอิสลาม โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด ปีการศึกษา 2560 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ และประเมินผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพของการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้วิถีอิสลาม โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด ปีการศึกษา 2560 2) คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนด้านความขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด และมีวินัย ปีการศึกษา 2560 3) คุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ข้อ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้วิถีอิสลาม โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด ปีการศึกษา 2560 โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยมีวิธีการประเมินสองลักษณะคือ การประเมินโดยใช้แบบสอบถามความเหมาะสมและแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ประชากรครู จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.862-0.992 แบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ข้อ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้วิถีอิสลาม โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด ปีการศึกษา 2560 โดยประเมิน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้วิถีอิสลาม โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด ปีการศึกษา 2560 โดยประเมิน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (=4.49, s=.10) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้วิถีอิสลาม โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด ปีการศึกษา 2560 โดยประเมิน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ การวางแผนดำเนินงาน (P) การดำเนินการจัดกิจกรรม (D) การติดตามประเมินผล(C) การนำผลไปปรับปรุง (A) ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ได้แก่
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้วิถีอิสลาม โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด ปีการศึกษา 2560 เกี่ยวกับคุณภาพการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้วิถีอิสลาม โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้วิถีอิสลาม โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด ปีการศึกษา 2560 เกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ด้านความขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด และมีวินัย ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ข้อ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด ปีการศึกษา 2560 ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 95.50 ได้คะแนนเฉลี่ย 5 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้วิถีอิสลาม โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด ปีการศึกษา 2560 เกี่ยวกับกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรนำผลการประเมินมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้วิถีอิสลาม
1.2 ผู้บริหาร และครู ควรมีวางแผนการดำเนินงานโครงการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนต่อไป
1.3 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการรายงานหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเผยแพร่อย่างวงกว้าง และสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้วิถีอิสลามอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการที่มีลักษณะองค์รวม โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) และควรมีการประเมินโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบอื่นๆ
2.2 ควรศึกษารูปแบบการพัฒนาการบริหารที่เสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้วิถีอิสลาม ให้มีการใช้กระบวนการที่หลากหลาย เพื่อเป็นแนวทางการนำกระบวนการสู่การปฏิบัติ
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้ การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา