ผู้วิจัย/ผู้เผยแพร่ : นายคมเพชร โพธิปัสสา
ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มีความมุ่งหมายเพื่อ
1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3) ประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่
1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้
3) การทดลองใช้ และ
4) การประเมินผล
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนสีชมพูศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 34 คน ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง โดยมีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุดและ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 2.3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มีองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น 5 องค์ประกอบคือ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) สาระการเรียนรู้ 4) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี 6 ขั้นดังนี้
ขั้นที่ 1 นำเสนอปัญหา (Presentation of problems) = P
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ปัญหา (Analytical Thinking) = A
ขั้นที่ 3 ค้นคว้าเพื่อแก้ปัญหา Researching for solution) = R
ขั้นที่ 4 ทำการตรวจสอบและแก้ปัญหา (Detect and solve problems) = D
ขั้นที่ 5 นำเสนอผลการแก้ปัญหา (Presentation of solutions) = P
ขั้นที่ 6 สรุปผลการแก้ปัญหาและการนำไปใช้ (Conclusion and applications) = C
5) การวัดและประเมินผล ซึ่งมีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X= 4.67, S.D. = 0.61)
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงขึ้น อย่างมีมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( X= 4.57 , S.D. = 0.53 )
โดยสรุป รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า PARDPC หรือ PARdcp Model (พาร์ดีซีพี โมเดล)
มีขั้นการตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จำได้ง่ายคือ นำ > วิเคราะห์ > ค้น > ทำ > นำ > สรุป
ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป