การพัฒนาระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่)ดำเนินไปตามลักษณะของกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) 2) สร้างรูปแบบระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) 3) ทดลองใช้รูปแบบระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) 4) ประเมินระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูในโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 34 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) พบว่าในปัจจุบันโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ยึดหลักการ วัตถุประสงค์ ระบบบริหารโรงเรียน และใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนในระดับมาก แต่ยังมีปัญหา-อุปสรรค และความต้องการพัฒนารูปแบบในระดับมากเช่นกัน เพราะยังไม่ถึงระดับมากที่สุดข้อเสนอแนะสำคัญที่ได้จากการวิจัย คือ โรงเรียนควรมีการยืดหยุ่นในการบริหารโรงเรียนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับระบบ CIPOO คือ บริบทของโรงเรียน ปัจจัยนำเข้ากระบวนการบริหาร ผลผลิต และผลลัพธ์ โดยการเกลี่ยกระจายความพร้อมในการดาเนินงาน เฉลี่ยไปให้ตรงตามระดับของปัญหา-อุปสรรคและความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องคำนึงถึง นโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียน การมีส่วนร่วมของชุมชน และการใช้กลยุทธ์ในการจัดการศึกษา คือต้องรีบพัฒนาคุณภาพภายในของโรงเรียนที่ไม่ใช่ยอดนิยมเป็นพิเศษ ส่วนที่เป็นยอดนิยมอยู่แล้วก็ต้องรักษาไว้ให้เป็นยอดนิยมยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. ผลการสร้างรูปแบบระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) พบว่ารูปแบบมีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านหลักการ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านระบบงานและกลไก ด้านเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ประกอบด้วยกระบวนการปฏิบัติ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนด (I = Impose) 2) นำไปใช้ (S = Spend) 3) ติดตาม (W = Walk) 4) ต่อเนื่อง (H = Hourly) และ 5) ประเมินผล (A = Assessment)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) พบว่า รูปแบบระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในด้านความเป็นประโยชน์มีประโยชน์
อยู่ในระดับมากทุกประเด็น โดยประเด็นรูปแบบระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ช่วยจัดระบบการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X ̅ = 4.28, S.D. = 0.45) ด้านความเป็นไปได้มีความเป็นไปได้ในระดับมากทุกประเด็น โดยประเด็นรูปแบบระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายไม่ยุ่งยากและซับซ้อนจนเกินไปมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X ̅ = 4.32, S.D. = 0.47) ด้านความเหมาะสมมีความเหมาะสมในระดับมากทุกประเด็น โดยประเด็นรูปแบบระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕
(วัดหาดใหญ่) เหมาะสมกับระบบการนิเทศ กำกับ ติดตามมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X ̅ = 4.05, S.D. = 0.65) ด้านความถูกต้องมีความถูกต้องระดับมากทุกประเด็น โดยประเด็นรูปแบบระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) มีความถูกต้องตรงกับการปฏิบัติจริง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X ̅ = 4.32, S.D. = 0.47)
4. ผลการประเมินระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) พบว่า ผลการประเมินรูปแบบระบบคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเยี่ยมในทุกมาตรฐาน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82