ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น
ผู้ศึกษา นางณัฏฐภรณ์ พิทักษ์
สถานศึกษา โรงเรียนบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
แบบฝึกทักษะเป็นนวัตกรรมหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดหลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเป็นสื่อการเรียนรู้แห่งการปฏิบัติของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้
ความชำนาญ และเกิดทักษะในการเรียนรู้ในเรื่องที่จะศึกษาหรือฝึกเพิ่มเติมมากขึ้น การศึกษาในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะวิชาฟิสิกส์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาฟิสิกส์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ประชากรและ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 1 ห้องเรียน จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ด้วยวิธีการจับสลากและเป็นห้องที่ผู้ศึกษาปฏิบัติหน้าที่สอน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ จำนวน 6 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 แผน รวมแผนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้เวลา 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.58 - 0.80 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.32 0.72 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาฟิสิกส์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร
การเรียนรู้ 5 ขั้น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 16 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.51 ถึง 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (แบบ Dependent Samples) ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (E1)/(E2) เท่ากับ 84.40/82.05 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น
มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7045 ซึ่งหมายความว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 70.45
3. นักเรียนที่เรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น
มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62