ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ชาวพุทธที่ดี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
ทักษะการทำงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย : นางจินตนา รวมภักดี
หน่วยงาน : โรงเรียนพระทองคำวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ชาวพุทธที่ดี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและทักษะการทำงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับ การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ชาวพุทธ ที่ดี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ชาวพุทธที่ดี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ชาวพุทธที่ดี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและทักษะการทำงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ชาวพุทธที่ดี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขั้นตอน การวิจัย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แหล่งข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ (1) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (2) หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (3) หลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (4) เอกสาร ตำราเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม (5) ครูผู้สอนรายวิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 10 คน (6) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน พระทองคำวิทยา ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐาน (2) แบบสอบถามความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียน (3) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน สำหรับพิจารณาตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD (2) นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง สำหรับทดลองหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) แบบประเมินพฤติกรรมทักษะการทำงานกลุ่ม (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้เทคนิค แหล่งข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนพระทองคำวิทยา จำนวน 1 ห้อง จำนวน 32 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 6 เล่ม (2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ (4) แบบประเมินพฤติกรรมทักษะการทำงานกลุ่มโดยใช้แบบ Scoring Rubrics มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test ขั้นตอนที่ 4 การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD แหล่งข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนพระทองคำวิทยา จำนวน 1 ห้อง จำนวน 32 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ที่เคยเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มาแล้ว อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียน และครูผู้สอนรายวิชาพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ต้องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง มีการทำงานโดยกระบวนการกลุ่ม ด้านเนื้อหาเรื่อง ชาวพุทธที่ดี ควรเป็นเนื้อหาที่สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก และรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ควรมีสื่อที่หลากหลาย ที่ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และต้องเป็นสื่อที่น่าสนใจ
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ชาวพุทธที่ดี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 86.64/85.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 แสดงว่าสามารถนำไปใช้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ชาวพุทธที่ดี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7658 หรือคิดเป็นร้อยละ 76.58 ทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดี และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ชาวพุทธที่ดี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและทักษะการทำงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ชาวพุทธที่ดี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะ การทำงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด