รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านโพธิ์ตะวันตก มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านโพธิ์ตะวันตก 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) ของการดำเนินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านโพธิ์ตะวันตก 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านโพธิ์ตะวันตก 4) ประเมินผลผลิต (Products Evaluation) ของโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านโพธิ์ตะวันตก 4.1) ประเมินผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน 4.2) ประเมินผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน และ 4.3) ประเมินผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับผลที่เกิดจากการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และนักเรียนเป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันได้รับรางวัลระดับเขตพื้นที่และระดับประเทศ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนวัดบ้านโพธิ์ตะวันตก จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ผู้แทนผู้ปกครอง 1 คน ผู้แทนครู 1 คน ผู้แทนองค์กรชุมชน 1 คน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน ผู้แทนศิษย์เก่า 1 คน ผู้แทนองค์กรศาสนา 1 รูป หรือ 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นประธาน 1 คน และผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน จำนวน 9 คนผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 50 คน นักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 1-2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 50 คน รวมประชากรที่ใช้การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านโพธิ์ตะวันตก จำนวน 114 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในประเมินโครงการ ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนวัดบ้านโพธิ์ตะวันตก จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ยกเว้นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นผู้แทนครู และผู้บริหารสถานศึกษา เนื่องจากผู้แทนครูได้ถูกเลือกอยู่ในส่วนของครูผู้สอนแล้วผู้ปกครองนักเรียนโดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 20 คน นักเรียน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 20 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านโพธิ์ตะวันตก โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ (1) ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงพินิจ (Face Validity) ของเครื่องมือโดยพิจารณาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congluence : IOC) และ (2) หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (-Coeffcient) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (1) ค่าความถี่ (Frequency) (2) ค่าร้อยละ (Percentage) (3) ค่าเฉลี่ย (Mean) (4) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ (5) วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านโพธิ์ตะวันตก สรุปผลการประเมิน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ความคิดเห็นการประเมินด้านการประเมินบริบท (Context Evaluation) ของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นการประเมินด้านการประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) ของครูผู้สอน พบว่า พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ความคิดเห็นการประเมินด้านการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นการประเมินด้านการประเมินผลผลิต (Products Evaluation) ของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและของผู้ปกครองนักเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นการประเมินด้านการประเมินผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับความพึงพอใจของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นการประเมินด้านการประเมินผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่าโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก