ชื่อเรื่อง ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา นางเสาวณีย์ อุตสังข์
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธี การเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงทดลองกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเลือกโดยใช้วิธีแบบเจาะจง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 ห้อง รวมจำนวน 24 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Sample) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รวมจำนวน 9 แผน เวลาทั้งหมด 20 ชั่วโมง แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวนทั้งหมด 30 ข้อ คะแนน 30 คะแนน แบบทดสอบย่อยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนในแต่ละตอนของแบบฝึกทักษะ จำนวน 7 แบบทดสอบย่อย แบบทดสอบย่อยละ 10 ข้อ รวม 70 ข้อ คะแนน 70 คะแนน เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) คำตอบมี 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 82.44/80.42 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.6786 หมายความว่า นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความรู้เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 67.86 สูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ที่ตั้งไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.175
โดยสรุป การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้