บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำ
ภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ยโสธร เขต ๑
ผู้รายงาน นายอดุลย์ กองทอง
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑
ปีที่รายงาน ๒๕๖๑
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
รายงานผลการพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษ ในระดับภูมิภาค (Boot Camp) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อติดตามผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนา ครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ๒. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนและนักเรียนในการจัดเรียนรู้โดยครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) กลุ่มเป้าหมายได้มาโดยวิธีเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) รุ่นที่ ๑ ๑๘ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ๒๕๖๑ จำนวน ๓๓ คน จาก ๒๔ โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ๑) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ผ่านการอบรมตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษา อังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ รุ่นที่ ๑ - ๑๘ จำนวน ๖๒๓ คน ๒) ผู้บริหารโรงเรียนที่มีครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ผ่านการอบรมตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ รุ่นที่ ๑-๑๘ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ๒๕๖๑ จำนวน ๒๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม การดำเนินงานของโรงเรียน แบบสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน (Classroom Observation) แบบสอบถามผู้เรียนที่สอนโดยครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) แบบสะท้อนผลการสอนของครูผู้สอน (Self-Reflection Form) แบบประเมินตนเอง การคิดสะท้อนกลับหลังการสอนของครู แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของตนสำหรับนักเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการบรรยายพรรณนาเชิงเนื้อหา
สรุปผล ได้ดังนี้
๑. ผลการติดตามความก้าวหน้าของการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) สรุปได้ดังนี้
๑.๑ ครูแกนนำที่ผ่านการอบรมตามโครงการทุกคน ได้สอนภาษาอังกฤษในปีการศึกษา ๒๕๖๑ โรงเรียนได้ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ได้แก่ สื่อและอุปกรณ์การสอน ห้องเรียนภาษาต่างประเทศ โรงเรียนมีการนิเทศ ติดตามด้วยการพบปะพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและสอบถามความก้าวหน้าในการจัดการสอน ครูมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนในด้านการจัดกิจกรรมได้น่าสนใจ สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนสร้างผลงาน/ชิ้นงานที่เกิดจากการเรียนรู้ ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้และนำเสนอชิ้นงาน ครูแกนนำมีการขยายผลความรู้ให้ครูภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต่างกลุ่มสาระ เครือข่ายและชุมชนแห่งการเรียนรู้มืออาชีพ (PLC) โรงเรียนได้รับประโยชน์จากการส่งครูผู้สอนภาษาอังกฤษเข้ารับการพัฒนาในโครงการคือครูเกิดแรงจูงใจใน การพัฒนาการเรียนรู้ครูมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้นและได้รับการพัฒนาด้านเทคนิควิธีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยภาพรวมพบว่า ด้านครูแกนนำที่ผ่านการอบรมมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
๑.๒ ผลการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนพบว่า ด้านการวางแผนการสอน (Lesson Planning) มีการใช้รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสม กำหนดวัตถุประสงค์ได้เหมาะสมมีความเชื่อมโยงกันตามระยะเวลาที่กำหนด เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมและมีเกณฑ์การประเมินที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดที่ถูกต้อง การจัดการบทเรียน (Management the Lesson) มีการตรวจสอบผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ให้คำสั่งและข้อเสนอแนะที่มีประสิทธิภาพ กิจกรรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารและการควบคุมเวลาในการจัดกิจกรรม ด้านการรู้เนื้อหา (Knowing the subject) มีการใช้เทคนิคการสอน สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม ใช้วิธีการที่เหมาะสมสำหรับภาษาเป้าหมายหรือทักษะเป้าหมายใช้ภาษาอังกฤษอย่างมั่นใจและถูกต้องและครอบคลุมเนื้อหาสอดคล้องกับเป้าหมาย โดยด้านการรู้เนื้อหามีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
๑.๓ ผลจากการสอบถามผู้เรียนที่สอนโดยครูที่ผ่านการอบรมตามโครงการพัฒนา ครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ส่วนใหญ่พบว่า ด้านครูมีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนคือให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อน ใช้สื่อ/นวัตกรรมการสอนที่น่าสนใจและผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ด้านนักเรียนมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในกิจกรรมในโรงเรียน กิจกรรมใน ชั้นเรียนและการเข้าร่วมงานศิลปหัตถกรรม ด้านกิจกรรมภาษาอังกฤษที่ครูใช้และนักเรียนชอบมากที่สุดคือกิจกรรมเกม เช่น เกมจับคู่ เกมบิงโก การแสดงบทบาทสมมติและการแข่งขันด้านภาษา ด้านนักเรียนมีทัศนคติอย่างไรต่อการเรียนภาษาอังกฤษคือสนุกมาก ชอบมาก เรียนภาษามีประโยชน์มากและเข้าใจรายการทีวีภาษาอังกฤษ ด้านการสอนครูช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นคือฟังข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างเข้าใจ สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ด้วยความมั่นใจและอ่านข้อความ บทความ สื่อการสอนได้เข้าใจมากขึ้น ด้านห้องเรียนภาษาอังกฤษที่พึงประสงค์ควรมีบรรยากาศคือครูใจดี/เป็นกันเอง/เข้าใจนักเรียน ครูใจกว้างยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างและครูใช้กิจกรรมที่หลากหลาย ด้านนักเรียนที่เรียนกับครูแกนนำที่ผ่านการอบรมมีการเปลี่ยนแปลงคือสื่อสารภาษาอังกฤษได้ด้วยความมั่นใจกว่าเดิม สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนๆได้มากขึ้นและสร้างผลงาน/ชิ้นงานที่เกิดจากการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
๑.๔ ผลการสังเคราะห์สะท้อนผลการสอนของตนเอง (Self-Reflection) สำหรับครูผู้สอน ประเด็นสิ่งที่ครูประทับใจในบทเรียนคือนักเรียนให้ความร่วมมืออย่างดีและกระตือรือร้นและ กล้าแสดงออกมากขึ้น ส่วนสิ่งที่ครูปรารถนาจะปรับเปลี่ยนคือครูอยากใช้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้นใน ชั้นเรียนและปรับกิจกรรมให้เหมาะสม ให้เวลาในการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อประกอบ แต่ละกิจกรรมให้เหมาะสมและสิ่งที่ครูต้องปรับปรุงคือส่งเสริมบรรยากาศทางภาษาให้อยู่ในชีวิตประจำวันซึ่งครูและนักเรียนจะได้ทั้งการพูดคล่องและความถูกต้องในการใช้ภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น
๑.๕ ผลการสังเคราะห์การประเมินตนเองการคิดสะท้อนกลับหลังการสอน ครูมีความรู้สึกภาคภูมิใจ มีความสุขกับนักเรียนที่สอน นักเรียนมีความสุขและรักภาษาอังกฤษ อยากเรียนและมาพบครูเพื่อขอเพิ่มคาบเรียนภาษาอังกฤษและที่สำคัญคือครูใช้ภาษาอังกฤษได้ดีมาก ตลอดช่วงเวลาที่สอน และนักเรียนสามารถสื่อสารและเข้าใจในสิ่งที่ครูพยายามสอนได้เป็นอย่างดี ทำให้กิจกรรมการเรียนรู้สนุกสนานไม่น่าเบื่อ นักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากครูวางแผน ออกแบบและเตรียมกิจกรรม สื่อ อุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงคือครูอยากออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ ICT ปรับห้องเรียนเป็นบรรยากาศทางภาษาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสฟัง ดู อ่านและเขียนออกมาเป็นภาษาอังกฤษโดยอัตโนมัติและใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้ทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะทำให้การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพที่สุด
๒. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนและนักเรียนในการจัดเรียนรู้โดยครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) สรุปได้ดังนี้
๒.๑ ความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการเข้ารับการอบรมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีความพึงพอใจเรียงจากมากไปหาน้อยคือกิจกรรมที่ใช้ในการอบรม ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรมและความรู้ความสามารถของวิทยากร ด้านการนำไปใช้พบว่าอยู่ในระดับมากโดยมีความพึงพอใจเรียงจากมากไปหาน้อยคือทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น ทักษะที่เพิ่มขึ้นคือ ทักษะการเขียน นักเรียนกับครูที่เข้ารับการอบรมมีความสามารถในการแสดงออกทางภาษาเพิ่มขึ้น และความรู้ที่ได้รับสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ตามลำดับ
๒.๒ ความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของตน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้แก่นักเรียนทุกครั้ง รองลงมาคือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอนแต่ละทักษะและการสอดแทรกคุณธรรม ความมีวินัยความรับผิดชอบระหว่างการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ
๒.๓ ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล/รายกลุ่มอย่างสม่ำเสมออยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือการใช้สื่อ ICT ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับยุคสมัยและการยอมรับความคิดเห็นอย่างอิสระของผู้เรียน
อภิปรายผล
การรายงานผลการพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ มีประเด็นสำคัญที่นำมาอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
๑. ผลการติดตามความก้าวหน้าของการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) สรุปได้ดังนี้
๑.๑ ครูแกนนำที่ผ่านการอบรมตามโครงการทุกคนได้สอนภาษาอังกฤษในปีการศึกษา ๒๕๖๑ โรงเรียนได้ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ได้แก่ สื่อและอุปกรณ์การสอน ห้องเรียนภาษาต่างประเทศ โรงเรียนมีการนิเทศ ติดตามด้วยการพบปะพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและสอบถามความก้าวหน้าในการจัดการสอน ครูมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนในด้านการจัดกิจกรรมได้น่าสนใจ สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนสร้างผลงาน/ชิ้นงานที่เกิดจาก การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้และนำเสนอชิ้นงาน ครูแกนนำมีการขยายผลความรู้ให้ครูภายในกลุ่มสาระ การเรียนรู้ต่างกลุ่มสาระ เครือข่าย และชุมชนแห่งการเรียนรู้มืออาชีพ (PLC) โรงเรียนได้รับประโยชน์จากการส่งครูผู้สอนภาษาอังกฤษเข้ารับการพัฒนาในโครงการคือครูเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาการเรียนรู้ ครูมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้นและได้รับการพัฒนาด้านเทคนิควิธีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมพบว่า ด้านครูแกนนำที่ผ่านการอบรมมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษ และเทคนิคการสอนของครูสอนภาษาอังกฤษด้วยการอบรมภาษาอังกฤษแบบเข้ม (English Boot Camp) ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในการอบรมทั้งทักษะภาษาและเทคนิคการสอน รวมทั้งกิจกรรมและบริบทในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารตลอดระยะเวลาอบรม โดยใช้วิทยากรชาวต่างประเทศที่เป็นเจ้าของภาษาที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษสูงและมีความสามารถในการใช้เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษหรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เป็นแม่แบบได้ รวมทั้งมีการประเมินทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ทำให้ครูที่เข้ารับ การอบรมได้พัฒนาความสามารถภาษาอังกฤษและเทคนิคในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูผู้สอนได้รับ การสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียนในด้านต่างๆ ตลอดจนการนิเทศติดตามของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ที่มีภาวะผู้นำทางวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การช่วยเหลือ สนับสนุนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ สอดคล้องกับ ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ (๒๕๔๙ : ๑๑๗) ได้สรุปว่า ผู้บริหารควรมีพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการเพื่อการเพิ่มความตระหนักในการปรับปรุงสถานศึกษาและมีความคาดหวังในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น มีความกระตือรือร้นในการใช้กลยุทธ์ เพื่อปรับปรุงสถานศึกษา การให้แรงจูงใจและให้รางวัลกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำงานด้านวิชาการ การตรวจสอบความก้าวหน้าด้านวิชาการ การใช้ทรัพยากรและบุคลากรอย่างสร้างสรรค์ การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้น่าอยู่เป็นระเบียบและมีความปลอดภัย การตรวจสอบ การปฏิบัติงานของครู การสังเกตการสอนของครูและการให้ข้อมูลย้อนกลับ และสอดคล้องกับ พรพจน์ ศรีดัน (๒๕๕๑ : ๒๐๕) กล่าวว่า ผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารงานเพราะผู้นำเปรียบเสมือนผู้ถือบังเหียนม้านำพาองค์กรเป็นสัญลักษณ์เป็นตัวอย่างเป็นตัวแทนและเป็นจุดรวมพลังของบุคลากรในหน่วยงานหรือองค์การ ความสามารถและคุณลักษณะของผู้นำมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคุณภาพของหน่วยงานหรือโรงเรียนจะต้องใช้ภาวะผู้นำ นั่นคือการใช้อิทธิพลหรืออำนาจหน้าที่ที่จะนำโรงเรียนไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
๑.๒ ผลการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนพบว่า ด้านการวางแผน การสอน (Lesson Planning) มีการใช้รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสม กำหนดวัตถุประสงค์
ได้เหมาะสม มีความเชื่อมโยงกันตามระยะเวลาที่กำหนด เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมและมีเกณฑ์ การประเมินที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดที่ถูกต้อง การจัดการบทเรียน (Management the Lesson) มีการตรวจสอบผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ให้คำสั่งและข้อเสนอแนะที่มีประสิทธิภาพ กิจกรรม ส่งเสริมทักษะการสื่อสารและการควบคุมเวลาในการจัดกิจกรรม ด้านการรู้เนื้อหา (Knowing the subject) มีการใช้เทคนิคการสอน สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม ใช้วิธีการที่เหมาะสมสำหรับภาษาเป้าหมายหรือทักษะเป้าหมายใช้ภาษาอังกฤษอย่างมั่นใจและถูกต้องและครอบคลุมเนื้อหาสอดคล้องกับเป้าหมาย โดยด้านการรู้เนื้อหามีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจากครูที่ได้รับการอบรมได้นำเอาความรู้ เทคนิควิธีใหม่ๆ ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ทำให้สามารถวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม เนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับนักเรียนได้อย่างถูกต้องและมั่นใจมากขึ้น
๑.๓ ผลจากการสอบถามผู้เรียนที่สอนโดยครูที่ผ่านการอบรมตามโครงการพัฒนา ครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ส่วนใหญ่พบว่า ด้านครูมีการเปลี่ยนแปลง วิธีการสอนคือให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อน ใช้สื่อ/นวัตกรรมการสอนที่น่าสนใจและผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ด้านนักเรียนมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในกิจกรรมในโรงเรียน กิจกรรมในชั้นเรียนและการเข้าร่วมงานศิลปหัตถกรรม ด้านกิจกรรมภาษาอังกฤษที่ครูใช้และนักเรียนชอบมากที่สุดคือ กิจกรรมเกม เช่น เกมจับคู่ เกมบิงโก การแสดงบทบาทสมมติและการแข่งขันด้านภาษา ด้านนักเรียนมีทัศนคติอย่างไรต่อการเรียนภาษาอังกฤษคือสนุกมาก ชอบมาก เรียนภาษามีประโยชน์มากและเข้าใจรายการทีวีภาษาอังกฤษ ด้านการสอนครูช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นคือฟังข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างเข้าใจ สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ด้วยความมั่นใจและอ่านข้อความ บทความ สื่อการสอนได้เข้าใจมากขึ้น ด้านห้องเรียนภาษาอังกฤษที่พึงประสงค์ควรมีบรรยากาศคือครูใจดี/เป็นกันเอง/เข้าใจนักเรียน ครูใจกว้างยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างและครูใช้กิจกรรมที่หลากหลาย ด้านนักเรียนที่เรียนกับครูแกนนำที่ผ่านการอบรมมีการเปลี่ยนแปลงคือสื่อสารภาษาอังกฤษได้ด้วยความมั่นใจกว่าเดิม สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้มากขึ้นและสร้างผลงาน/ชิ้นงานที่เกิดจากการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เนื่องมาจากครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ผ่านการอบรมมาแล้วได้รับการพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้ นำเอาเกมและกิจกรรมต่างๆ มาใช้ทำให้นักเรียนมีความสุขสนุกสนานในกิจกรรมการเรียนรู้และได้ฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมั่นใจ สอดคล้องกับ รำไพ โพธิ์จิต (๒๕๔๖:บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการใช้เกมและภาษาเพื่อการสื่อสารพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดดิสหงสาราม ผลปรากฏว่า หลังจากนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เกมและกิจกรรมทางภาษาเพื่อการสื่อสาร นักเรียนมีความสามารถด้านการพูดเพิ่มขึ้นอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๑.๔ ผลการสังเคราะห์สะท้อนผลการสอนของตนเอง (Self-Reflection) สำหรับครู ผู้สอน ประเด็นสิ่งที่ครูประทับใจในบทเรียนคือนักเรียนให้ความร่วมมืออย่างดีและกระตือรือร้นและกล้าแสดงออกมากขึ้นส่วนสิ่งที่ครูปรารถนาจะปรับเปลี่ยนคือครูอยากใช้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้น ในชั้นเรียนและปรับกิจกรรมให้เหมาะสม ให้เวลาในการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อประกอบแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสมและสิ่งที่ครูต้องปรับปรุงคือส่งเสริมบรรยากาศทางภาษาให้อยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งครูและนักเรียนจะได้ทั้งการพูดคล่องและความถูกต้องในการใช้ภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจาก หลังจากครูผู้สอนได้รับการอบรมแล้วมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน สามารถวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีสื่อและอุปกรณ์ที่น่าสนใจ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
๑.๕ ผลการสังเคราะห์การประเมินตนเองการคิดสะท้อนกลับหลังการสอน ครูมีความรู้สึกภาคภูมิใจมีความสุขกับนักเรียนที่สอน นักเรียนมีความสุขและรักภาษาอังกฤษ อยากเรียน
และมาพบครูเพื่อขอเพิ่มคาบเรียนภาษาอังกฤษและที่สำคัญคือครูใช้ภาษาอังกฤษได้ดีมากตลอดช่วงเวลาที่สอนและนักเรียนสามารถสื่อสารและเข้าใจในสิ่งที่ครูพยายามสอนได้เป็นอย่างดี ทำให้กิจกรรมการเรียนรู้สนุกสนานไม่น่าเบื่อ นักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เนื่องมาจากครูวางแผน ออกแบบ และเตรียมกิจกรรม สื่อ อุปกรณ์ได้เป็นอย่างดีจึงทำให้ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงคือครูอยากออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ ICT ปรับห้องเรียนเป็นบรรยากาศทางภาษาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสฟัง ดู อ่าน และ เขียนออกมาเป็นภาษาอังกฤษโดยอัตโนมัติและใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้ทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะทำให้การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพที่สุด ทั้งนี้เนื่องมาจากครูผู้สอนที่ผ่านการอบรม โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในการอบรมทั้งทักษะภาษาและเทคนิคการสอนมีกิจกรรมและบริบทในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารตลอดจากวิทยากรชาวต่างประเทศที่เป็นเจ้าของภาษาที่มีความสามารถภาษาอังกฤษ มีเทคนิคการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เป็นแม่แบบได้ ทำให้สามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์จากการอบรมมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ในภาษาอังกฤษ ทำให้ภาษาอังกฤษไม่น่าเบื่ออีกต่อไป สอดคล้องกับวาสนา อุตสาหะ (๒๕๕๕ : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดยใช้กิจกรรมนันทนาการพบว่า ผลการทดสอบหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมนันทนาการ ผู้เรียนมีผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสูงกว่า ผลการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๒. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนและนักเรียนในการจัดเรียนรู้โดยครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) สรุปได้ดังนี้
๒.๑ ความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการเข้ารับการอบรม พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจเรียงจากมากไปหาน้อยคือ กิจกรรมที่ใช้ในการอบรม ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรม และความรู้ความสามารถของวิทยากร ด้านการนำไปใช้พบว่า
อยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจเรียงจากมากไปหาน้อยคือ ทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ เพิ่มขึ้น ทักษะที่เพิ่มขึ้นคือทักษะการเขียน นักเรียนกับครูที่เข้ารับการอบรมมีความสามารถในการแสดงออกทางภาษาเพิ่มขึ้นและความรู้ที่ได้รับสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องมาจากกระบวนการอบรมพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษมีความเข้มข้น ได้รับความรู้จากวิทยากรที่เป็นเจ้าของภาษา ทำให้ครูมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ ได้เป็นอย่างดี สามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อความพึงพอใจที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๒.๒ ความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของตน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้แก่นักเรียนทุกครั้งรองลงมาคือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอนแต่ละทักษะและการสอดแทรกคุณธรรม ความมีวินัย ความรับผิดชอบระหว่างการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้เนื่องมาจากครูได้รับความรู้ เทคนิควิธีสอนและประสบการณ์จากการอบรม ทำให้มีความมั่นใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้ตามลำดับขั้นตอน มีการสอดแทรกวินัย คุณธรรมและความรับผิดชอบในระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้ครูสามารถบูรณาการพัฒนาผู้เรียนได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตร และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ได้นิเทศติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือ แนะนำ ซึ่งเป็นสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครูผู้สอนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมั่นใจ
๒.๓ ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล/รายกลุ่มอย่างสม่ำเสมออยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือการใช้สื่อ ICT ประกอบการสอนได้สอดคล้องกับ ยุคสมัยและการยอมรับความคิดเห็นอย่างอิสระของผู้เรียน ทั้งนี้เนื่องมาจากผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ให้ความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สนองความต้องการของผู้เรียน มีความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ สื่อการเรียนรู้ทันสมัย น่าสนใจ ได้เรียนรู้คำศัพท์ที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน การสนทนากันเป็นภาษาอังกฤษ การแสดงบทบาทสมมุติ และผู้เรียนได้แสดงออกอย่างมีอิสระ สอดคล้องกับ วรางคณา เค้าอ้น (บทคัดย่อ :๒๕๕๙) วิจัยได้การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนโกวิทธำรงในภาพรวมอยู่ในระดับมากและสอดคล้องกับ ทัชชกร สุขะวันดี (๒๕๕๙ : บทคัดย่อ) ได้วิจัยการพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบจับคู่ร่วมมือบันทึกเสียงจากคอมพิวเตอร์โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
จากรายงานผลการพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ผู้รายงานขอเสนอแนะดังต่อไปนี้
๑. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนา ครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ไปใช้ประโยชน์ดังนี้
๑.๑ โครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) เป็นโครงการที่ดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากครูได้รับความรู้ เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ แล้วนำไปใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ นักเรียนมีความสนใจ ใฝ่รู้ รักในการเรียนภาษาอังกฤษและสามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสารได้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรมีการขยายผลและจัดทำโครงการในระดับเขตพื้นที่ไปยังโรงเรียนในสังกัดเพื่อพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อไป
๑.๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ควรมีการจัดกิจกรรมแสดงผลงานครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจากโรงเรียนต่างๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนตามบริบทของตน
๒. ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินการในครั้งต่อไป
๒.๑ ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ระหว่างโรงเรียนที่สอนโดยครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) กับครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ยังไม่ผ่านการพัฒนาตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑
๒.๒ ควรมีการประเมินโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) โดยใช้รูปแบบการประเมินต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศผลการประเมินที่หลากหลาย มีคุณค่าในมิติอื่นๆ มากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ ตัดสินคุณค่าโครงการต่อผู้เกี่ยวข้องต่อไป