ชื่อผลงาน รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางแพรว จันแดง
หน่วยงาน โรงเรียนวัดดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 โรงเรียนวัดดีหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมิน
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ (E1/E2) และค่า t (t-test)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ เท่ากับ 83.45/84.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ย
ของคะแนนก่อนเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย () รวมเท่ากับ 4.51 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ .61 แสดงว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด