บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ตามแนวทางของ
มูลนิธิยุวสถิรคุณ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ยโสธร เขต ๑
ผู้รายงาน : นายอดุลย์ กองทอง
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑
ปีที่รายงาน : ๒๕๖๑
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
รายงานผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ตามแนวทางของมูลนิธิ ยุวสถิรคุณ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ๒) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ และ ๓) เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ กลุ่มเป้าหมาย คือ ๑) ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ จำนวน ๑๙๒ คน ๒) ครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ จำนวน ๑๙๒ คน และ ๓) นักเรียนที่รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑จำนวน ๑๙๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ฉบับที่ ๑) แบบสอบถามความคิดเห็น ของผู้บริหาร ครูและนักเรียนที่มีต่อความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ฉบับที่ ๒) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและนักเรียนที่มีต่อข้อจำกัดในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ฉบับที่ ๓) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ฉบับที่ ๔) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูที่มีต่อการพิจารณาคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ และฉบับที่
๕) แบบสอบถามความเห็นของผู้บริหาร และครูที่มีต่อการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรมต้นแบบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการศึกษาทบทวนเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การประชุมระดมสมองและข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิดใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดกลุ่มรายการตามประเด็นสาระที่สอดคล้องหรือแตกต่างกันการถอดบทเรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) ใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผล
๑. การได้ข้อมูลสารสนเทศจากการวิเคราะห์สรุปเอกสารที่เกี่ยวข้องและแบบสอบถามในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ สรุปได้ ดังนี้
๑.๑ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สรุปรวม ทุกด้านโดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดคือครูผู้รับผิดชอบโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๘ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๔๒ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๕ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๔๓ อยู่ในระดับมากและนักเรียนแกนนำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๓ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๔๔ อยู่ในระดับมากตามลำดับและปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. คือเน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนด้วยการปฏิบัติจริงทั้งในและนอกสถานศึกษา ทั้งนี้การจัดกิจกรรมบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของนักเรียน
๑.๒ ข้อจำกัดในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สพฐ. สรุปรวมทุกด้านเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือครูผู้รับผิดชอบโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๗๑ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๒๖ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือนักเรียนแกนนำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๕ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๓๙ อยู่ในระดับมากที่สุดและน้อยที่สุดคือผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๖ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๓๓ อยู่ในระดับมากและข้อจำกัดที่สอดคล้องกันทั้งผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนแกนนำคือขาดแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรม ส่วนคำถามเพิ่มเติมที่ ๑โรงเรียนมีความพร้อมในการเป็นแหล่งศึกษาดูงานโรงเรียนคุณธรรมอยู่ในระดับมากทุกกลุ่มเป้าหมายและคำถามเพิ่มเติมที่ ๒ โรงเรียนมีสื่อ/แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม สำหรับให้ผู้อื่นมาศึกษา สรุปได้ว่าโรงเรียนส่วนมากมีความคล้ายคลึงกันตามศักยภาพการบริหารจัดการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาของชุมชนนั้น ๆ
๒. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ สรุปได้ว่า ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและนักเรียนต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สรุปรวมทุกด้านเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือ ผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๖ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๑๕ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือครูผู้รับผิดชอบโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๓ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๑๗ อยู่ในระดับมากที่สุดและนักเรียนแกนนำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๗ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๒๐ อยู่ในระดับมากตามลำดับ
๓. ผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ สรุปได้ดังนี้
๓.๑ ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อการพิจารณาคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สรุปรวมทุกด้านเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดคือผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๓๘ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๒๓ อยู่ในระดับดีและครูผู้รับผิดชอบโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๓๔ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๒๙ อยู่ในระดับดี
๓.๒ ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรมต้นแบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๘ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๗๙ อยู่ในระดับมากและครูมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๐ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๘๑ อยู่ในระดับมาก
อภิปรายผล
๑. การได้ข้อมูลสารสนเทศจากการวิเคราะห์สรุปเอกสารที่เกี่ยวข้องและแบบสอบถาม ในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สรุปรวมทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดคือครูผู้รับผิดชอบโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๘ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๔๒ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๕ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๔๓ อยู่ในระดับมากและนักเรียนแกนนำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๓ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๔๔ อยู่ในระดับมากตามลำดับ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.คือเน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนด้วยการปฏิบัติจริงทั้งในและ นอกสถานศึกษา ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของนักเรียน และข้อจำกัดในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สพฐ. สรุปรวมทุกด้านเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือครูผู้รับผิดชอบโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๗๑ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๒๖ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือนักเรียนแกนนำ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๕ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๓๙ อยู่ในระดับมากที่สุดและน้อยที่สุดคือผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๖ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๓๓ อยู่ในระดับมากโดยมีข้อจำกัดที่สอดคล้องกันทั้งผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนแกนนำคือขาดแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรมซึ่งโรงเรียนมีความพร้อมในการเป็นแหล่งศึกษาดูงานโรงเรียนคุณธรรมอยู่ในระดับมากทุกกลุ่มเป้าหมายและมีสื่อ/แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม สำหรับให้ผู้อื่นมาศึกษา สรุปได้ว่ามีความคล้ายคลึงกันตามศักยภาพการบริหารจัดการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาของชุมชนนั้นๆซึ่งสอดคล้องกับมนตา ตุลย์เมธาการและคณะ (๒๕๖๐ : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร) ได้รายงานการสังเคราะห์องค์ความรู้กระบวนการขยายผลโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรมในส่วนภูมิภาคและการประเมินผลการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน มีความมุ่งหมาย ๑) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้กระบวนการขยายผลและสร้างโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรมในส่วนภูมิภาค ๒) เพื่อประเมินผลการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มเป้าหมายให้เป็นโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรมต้นแบบในส่วนภูมิภาค และ ๓) เพื่อกำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรมกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินพื้นที่เป้าหมาย พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรมของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง/ชุมชน รวมถึงกระบวนการทำงานโดยที่ผู้บริหารต้องกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ชัดเจน สร้างความตระหนักและความเข้าใจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ประสานงานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับครูและนักเรียน สำหรับในส่วนของครูนั้นต้องมุ่งมั่นตั้งใจจริงและทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อพัฒนานักเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน เอาใจใส่และให้คำแนะนำที่ดีแก่นักเรียนและต้องมีครูแกนนำที่มีความเข้มแข็งเป็นหลักในการดำเนินงาน ในขณะที่นักเรียนต้องดำเนินงานโครงงานคุณธรรมจริยธรรมที่คิดเอง ทำเอง แก้ปัญหาเอง
มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเห็นคุณค่าความสำคัญของการพัฒนาตนเองและการพัฒนาโรงเรียน
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับเสน่ห์ คำปันและวลัยพร ศิริภิรมย์ (๒๕๕๘ : บทคัดย่อ) ที่ได้ศึกษาการดำเนินงานโครงการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของโรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม จังหวัดลพบุรี มี วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานโครงการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของโรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม จังหวัดลพบุรี ๒) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานโครงการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมฯ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรสายสนับสนุนการจัดการศึกษาในโรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม จังหวัดลพบุรี จำนวน ๕๕ คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานโครงการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก
๒. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ สรุปได้ว่า ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและนักเรียนต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สรุปรวมทุกด้านเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๖ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๑๕ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือครูผู้รับผิดชอบโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๓ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๑๗ อยู่ในระดับมากที่สุดและนักเรียนแกนนำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๗ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๒๐ อยู่ในระดับมากตามลำดับ สอดคล้องกับสุรางค์รัตน์ ตรีเหรา (๒๕๕๘ : บทคัดย่อ) ที่ได้รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธโรงเรียนบ้านกุดฝั่งแดง การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธโรงเรียนบ้านกุดฝั่งแดงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ ๒) ประเมินความพึงพอใจของบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครู จำนวน ๕ คน นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวน ๓๑ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๗ คนและผู้ปกครองนักเรียนซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียน ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวน ๓๑ คนรวมทั้งสิ้น จำนวน ๗๔ คน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และยังสอดคล้องกับณัฐวุฒิ รัตนอรุณ (๒๕๖๐ : บทคัดย่อ)
จากรายงานโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้วยกระบวนการบริหารวงจรคุณภาพของโรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วยกระบวนการบริหารวงจรคุณภาพ
๒) เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้วยกระบวนการบริหารวงจรคุณภาพ ๓) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วยกระบวนการบริหารวงจรคุณภาพ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ โดยเป็นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ใน ๔ ด้าน คือ ความขยัน ความประหยัด ความเสียสละและความรับผิดชอบและการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ด้วยกระบวนการบริหารวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) ผลการประเมินความพึงพอใจจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ( x¯= ๔.๔๕) ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก ( x¯= ๔.๓๙) และผลการประเมินความพึงพอใจของครูอยู่ในระดับมาก (x¯=๔.๓๙) และผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พบว่าในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x¯= ๔.๐๖)
๓. ผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ สรุปได้ว่าความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อการพิจารณาคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สรุปรวมทุกด้านเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดคือ ผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๓๘ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๒๓ อยู่ในระดับดีและครูผู้รับผิดชอบโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๓๔ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๒๙ อยู่ในระดับดี ส่วนความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรมต้นแบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๘ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๗๙ อยู่ในระดับมากและครูมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๐ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๘๑ อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ(๒๕๕๙ : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร) ได้รายงานปัจจัยความสำเร็จที่ส่งผลต่อการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม พบว่า ๑) ผู้บริหารต้องเป็นผู้มีความรู้มีความเป็นผู้นำและมีวิสัยทัศน์ ๒) โรงเรียนมีการกำหนดยุทธศาสตร์หรือแผนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมทำให้การดำเนินงานมีทิศทางการทำงานและเป้าหมายที่ชัดเจน ๓) การได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายใน ได้แก่ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และบุคลากรของโรงเรียนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจในการทำงานมีความทุ่มเท รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ๔) บุคลากรของโรงเรียนที่เกี่ยวข้องมีการน้อมนำพระราชปณิธานการสร้างคนดี ให้บ้านเมืองของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นหลักกำลังใจในการดำเนินงาน ๕) มีการพัฒนานักเรียนแกนนำรุ่นใหม่ให้มีการเรียนรู้เพื่อสืบทอดการดำเนินงานโครงงานคุณธรรมจากนักเรียนแกนนำรุ่นพี่ก่อนที่จบการศึกษาออกไปอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๒ (๒๕๖๐ : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร) ที่ได้รายงานการศึกษาผลการดำเนินงานการขยายผลเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๒ โดยใช้กระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมตามแนวทางของศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ โรงเรียนคุณธรรมทั้งหมด ๑๒๖ โรงเรียนในปี ๒๕๕๙ พบว่า ๑. โรงเรียนส่วนใหญ่เข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำหนด ซึ่งเมื่อดำเนินงานตามโครงการแล้วได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี ๒. การกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียนส่วนใหญ่มีการกำหนดคุณธรรม อัตลักษณ์ มีบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ ในส่วนของคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียนในสพป. เพชรบุรี เขต ๒ มีคุณธรรมเป้าหมาย ๑๐ อันดับแรกเรียงลำดับตามความถี่ คือ ความมีวินัย จิตอาสา/จิตสาธารณะ ความพอเพียง ความรับผิดชอบ ความสะอาด ความสุภาพ ความมีมารยาท ความซื่อสัตย์ ความประหยัด และความกตัญญูโดยคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียนในสังกัด สพป. เพชรบุรี เขต ๒ สี่ลำดับแรกคือความมีวินัย จิตอาสา/จิตสาธารณะ ความพอเพียงและความรับผิดชอบ สอดคล้องกับคุณธรรมเป้าหมายของแผนแม่บทคุณธรรมแห่งชาติ คือ พอเพียง วินัย สุจริตและจิตอาสา รวมทั้งคุณธรรมเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้แก่ ความพอเพียง กตัญญู ซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบและอุดมการณ์ด้านคุณธรรม ๓. การพัฒนาคุณธรรมของโรงเรียนมีผลทำให้พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนเพิ่มขึ้น รองลงมาคือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนการสอนและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลงนักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้น รู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม มีการทำงานเป็นทีม ทำให้เกิดความรักสามัคคี ห้องเรียนเป็นระเบียบ โรงเรียนสะอาดขึ้น พฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่เพิ่มขึ้น ๔.การจัดทำโครงงานคุณธรรมส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นโครงงานเพื่อพัฒนาหรือแก้ปัญหาของโรงเรียนและนักเรียน ยังขาดโครงงานที่เป็นโครงงานของครูหรือผู้บริหารซึ่งส่วนใหญ่จะใช้พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกที่กำหนดไว้ในคุณธรรมอัตลักษณ์เป็นการปรับปรุง หรือแก้ปัญหาหรือใช้กำกับในเรื่องพฤติกรรม ๕. การนิเทศติดตาม สพป. เพชรบุรี เขต ๒ กำหนดให้มีการนิเทศภาคเรียนละ ๑ ครั้งและ ๖.ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารตั้งแต่ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับโรงเรียน ความร่วมมือของผู้ปกครอง/ชุมชน การให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมให้ประสบความสำเร็จความเอาใจใส่ของคณะครู ผู้บริหารโดยการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะ
๑. ข้อเสนอแนะในการนำผลการรายงานโครงการไปใช้
ในการนำผลการรายงานโครงการไปใช้และต่อยอดขยายผลการดำเนินงานให้เกิดความยั่งยืนในองค์กร มีหลักการดังนี้
๑.๑ การดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรมให้ประสบผลสำเร็จคือควรเริ่มต้นด้วยใจ ไม่ควรบังคับให้ทำหรือใช้การสั่งการ แต่ผู้บริหาร ครูหรือนักเรียนแกนนำต้องหาวิธีการที่ทำให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนพร้อมที่จะทุ่มเทแรงกาย แรงใจและร่วมมือกันในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ผู้เรียนด้วยความเต็มใจ มีความตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าของการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
๑.๒ ทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ สม่ำเสมอจนเป็นกิจกวัตรประจำวัน เป็นนิสัยและเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ยั่งยืนในที่สุดจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ซึ่งการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้เรียนเป็นเรื่องที่ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานต้องมีความอดทน มุ่งมั่นแน่วแน่ ต้องอาศัยเวลาและดำเนินงานอย่างเป็นระบบโดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างดี
๑.๓ ใช้โครงงานคุณธรรม จริยธรรมสร้างองค์ความรู้ นำจุดเด่นของโครงงานแต่ละเรื่อง ที่เกิดจากแนวคิดของนักเรียนมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบหรือนวัตกรรมที่ดีเลิศและสร้างเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรม เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำเสนอ ซึ่งได้ทั้งกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม โดยใช้คุณธรรมพื้นฐานเป็นหลัก เช่น ความมีวินัย รับผิดชอบ มีน้ำใจ เคารพการตัดสินใจผู้อื่น เป็นต้น
๑.๔ มีระบบการนิเทศภายในที่เข้มแข็ง ในที่นี้หมายถึงนิเทศอาสา เป็นทางการและไม่เป็นทางการทั้งในและนอกองค์กรซึ่งถือเป็นการนิเทศติดตามภายในเพื่อให้การเกิดความยั่งยืน ตรวจสอบได้ ประเมินผลได้ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารแต่การนิเทศก็ยังคงดำเนินการต่อไป และไม่มีผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียน
๒. ข้อเสนอแนะในการรายงานโครงการครั้งต่อไป
๒.๑ เนื่องจากการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ต้องดำเนินการต่อไปและรายงานทุกปีการศึกษาโดยนำปัจจัย ข้อจำกัดและองค์ความรู้อื่น ๆ มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานติดตามความก้าวหน้าและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ให้มีประสิทธิภาพต่อไป
๒.๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธรประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ควรนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากแบบสอบถามทั้งที่เป็นจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนามาเป็นข้อมูลสารสนเทศ วิเคราะห์ สรุป วางแผน กำหนดเป็นรูปแบบและทิศทางในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรมให้ดียิ่งขึ้น
๒.๓ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ควรดำเนินการวิจัย เชิงประเมินทั้งระบบในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมเพื่อให้ได้เห็นภาพการดำเนินงานองค์รวมในองค์กรและสามารถพัฒนาปรับปรุงได้ตรงตามความต้องการและปัญหาที่ต้องการแก้ไขได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน