ในการดำเนินการสร้างแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้รายงานได้กำหนดขั้นตอนในการดำเนินการศึกษาตามลำดับดังนี้
1. ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. การสร้าง และหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
4. แบบแผนการทดลอง
5. การเก็บรวบรวมข้อมูล
6. การวิเคราะห์ข้อมูล
7. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 4 ห้องเรียน รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 187 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องที่ 1 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 28 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย
1. แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 เล่ม
ดังนี้
เล่มที่ 1 วรรณกรรมคืออะไร อ่านอย่างไรให้คุณค่า
เล่มที่ 2 วิเคราะห์วิจารณ์ข่าวและโฆษณา สร้างปัญญาพัฒนาสังคม
เล่มที่ 3 วิเคราะห์วิจารณ์สารคดี สร้างโลกนี้ให้สุขสันต์
เล่มที่ 4 วิเคราะห์วิจารณ์บันเทิงคดี สร้างสุนทรีย์มีความสุข
เล่มที่ 5 วิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมพื้นบ้าน จดจารไว้ให้สืบสาน
เล่มที่ 6 วิเคราะห์วิจารณ์บทร้อยกรอง ตอบสนองจินตนาการ
เล่มที่ 7 วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี สร้างสีสันความเป็นไทย
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
3. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. การสร้างและหาคุณภาพแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้รายงานได้ดำเนินการตามลำดับ ดังนี้
1.1 ศึกษาหลักสูตร จุดประสงค์สาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และขอบข่ายเนื้อหาสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1.2 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และวิธีการสร้างแบบฝึกทักษะจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการสร้างแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
1.3 ดำเนินการสร้างแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 เล่ม ดังนี้
เล่มที่ 1 วรรณกรรมคืออะไร อ่านอย่างไรให้คุณค่า
เล่มที่ 2 วิเคราะห์วิจารณ์ข่าวและโฆษณา สร้างปัญญาพัฒนาสังคม
เล่มที่ 3 วิเคราะห์วิจารณ์สารคดี สร้างโลกนี้ให้สุขสันต์
เล่มที่ 4 วิเคราะห์วิจารณ์บันเทิงคดี สร้างสุนทรีย์มีความสุข
เล่มที่ 5 วิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมพื้นบ้าน จดจารไว้ให้สืบสาน
เล่มที่ 6 วิเคราะห์วิจารณ์บทร้อยกรอง ตอบสนองจินตนาการ
เล่มที่ 7 วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี สร้างสีสันความเป็นไทย
1.4 นำแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นจำนวน 7 เล่ม นำเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เป็นผู้ประเมินคุณภาพ ดังมีรายนามต่อไปนี้
1.4.1 นางสาวเพียงใจ เรืองฤทธิ์
1.4.2 นางวรรณเพ็ญ วรภูมิภัทร
1.4.3 นางเพียร เกตุภูมิเฉลิม
1.4.4 นางสาวสมทรง น้อยเจริญ
1.4.5 นายวันชัย รังสิรัตน์กุล
1.5 นำผลการประเมินคุณภาพแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มาหาค่าเฉลี่ยโดยใช้เกณฑ์ของ บุญชม ศรีสะอาด (2545, หน้า 102-103) ดังนี้
ค่าเฉลี่ย การแปลผล
4.51-5.00 เหมาะสมมากที่สุด
3.51-4.50 เหมาะสมมาก
2.51-3.50 เหมาะสมปานกลาง
1.51-2.50 เหมาะสมน้อย
1.00-1.50 เหมาะสมน้อยที่สุด
การประเมินแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 7 เล่ม โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน ผลปรากฏว่ามีความเหมาะสมในระดับมากมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.46 แสดงว่าแบบฝึกทักษะ มีความเหมาะสมในระดับมาก ผู้เชี่ยวชาญมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขสำนวนการใช้ภาษาให้เหมาะสม และปรับปรุงรูปแบบการจัดพิมพ์ และแบบทดสอบประจำเล่ม
1.6 นำแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โดยมีการดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 การหาประสิทธิภาพแบบเดี่ยว (Individual Tryout) ดำเนินการโดยนำแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่มีระดับการเรียนรู้แตกต่างกันจำนวน 3 คน แบ่งเป็น เก่ง 1 คน ปานกลาง 1 คน และอ่อน 1 คน เพื่อดูความเหมาะสมของเนื้อหาและความยากง่ายของแบบทดสอบ แล้วนำผลมาคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ได้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) =73.33/72.22
ขั้นที่ 2 การหาประสิทธิภาพแบบกลุ่มย่อย (Small Group Tryout) ดำเนินการ
โดยนำแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่มีระดับการเรียนรู้แตกต่างกัน จำนวน 9 คน แบ่งเป็น เก่ง 3 คน ปานกลาง 3 คน และอ่อน 3 คน แล้วนำผลมาคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ได้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) = 78.67/76.67
ขั้นที่ 3 การหาประสิทธิภาพแบบกลุ่มใหญ่ (Field Tryout) ดำเนินการโดยนำนำแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่มีระดับการเรียนรู้แตกต่างกัน จำนวน 30 คน แบ่งเป็น เก่ง 10 คน ปานกลาง 10 คน และอ่อน 10 คน แล้วนำผลมาคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะตามเกณฑ์ 80/80 ผลการคำนวณได้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) = 82.53/80.67
ขั้นที่ 4 นำแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผ่านกระบวนการหาประสิทธิภาพตามขั้นตอน และปรับปรุงแก้ไขเป็นฉบับสมบูรณ์แล้วไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องที่ 1 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน
2. การสร้าง และหาคุณภาพแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้รายงาน
มีการดำเนินการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้
2.1 ศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบ การหาค่าระดับความยาก ค่าอำนาจจำแนก
และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
2.2 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เกี่ยวกับ
แนวการดำเนินการวัดผล และประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
2.3 วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่ต้องการวัดให้ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ และหน่วยการเรียนรู้ที่จะใช้เขียนเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
2.4 ดำเนินการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple Choice) 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ ใช้จริง 30 ข้อ
2.5 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม จำนวน 5 คน เพื่อพิจารณาว่าข้อสอบแต่ละข้อวัดตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบความเหมาะสมด้านภาษา และความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เพื่อนำไปปรับปรุง
ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
ให้คะแนน + 1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดตามจุดประสงค์
ให้คะแนน 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดตามจุดประสงค์
ให้คะแนน - 1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นไม่วัดตามจุดประสงค์
2.6 นำผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจากผู้เชี่ยวชาญไปทำการวิเคราะห์เพื่อหาค่า IOC ตามวิธีของโรวิเนลลี (Rovinelli) และแฮมเบิลตัน (Hambleton) ค่าเฉลี่ยของคะแนนตั้งแต่ 0.50 ถึง 1.00 ถือว่าแบบทดสอบนั้นมีความสอดคล้อง
ระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็นแบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
ที่ใช้ได้ ผลปรากฏว่ามีข้อสอบที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00
2.7 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ไปทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน เพื่อตรวจหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.8 นำคะแนนจากข้อ 2.7 มาวิเคราะห์หาความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r)
เป็นรายข้อ โดยคัดเลือกหรือปรับปรุงแบบทดสอบที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20-0.80
ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป เลือกมาเป็นแบบทดสอบที่นำไปใช้จริง จำนวน 30 ข้อ ผลการคัดเลือกได้ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.30-0.70 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง
0.27-0.53
2.9 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้สูตร KR-20 Kuder-Richardson
ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85
2.10 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว จัดพิมพ์
และสำเนาแบบทดสอบ เพื่อนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปใช้ทดสอบจริงกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
3. การสร้างและหาคุณภาพแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และ
วิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้รายงานดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
3.1 ศึกษาเอกสาร งานวิจัย และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิธีการสร้างแบบวัดความพึงพอใจ
3.2 สร้างแบบวัดความพึงพอใจซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน 10 ข้อ
3.3 กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนความพึงพอใจ และการแปลความหมายของค่าเฉลี่ยของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะตามเกณฑ์ ดังนี้
กำหนดการให้คะแนนประเมินผลตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาดมฃ, 2545, หน้า 102-103)
มีความพึงพอใจมากที่สุด ให้ 5 คะแนน
มีความพึงพอใจมาก ให้ 4 คะแนน
มีความพึงพอใจปานกลาง ให้ 3 คะแนน
มีความพึงพอใจน้อย ให้ 2 คะแนน
มีความพึงพอใจน้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน
กำหนดเกณฑ์การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545, หน้า 102-103)
ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00 แปลความว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50 แปลความว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก
ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50 แปลความว่า มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50 แปลความว่า มีความพึงพอใจในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50 แปลความว่า มีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด
3.4 นำแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้น เสนอผู้เชี่ยวชาญชุดเดิมพิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรง และความถูกต้องของข้อคำถามแต่ละข้อ (IOC) พบว่ามีค่าตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้
3.5 นำแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ไปทดลองใช้ (Try Out) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน
3.6 นำแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มาหาค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อโดยใช้วิธีการ Item Total Correlation สูตรสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (rxy) แล้วคัดเลือกข้อคำถามที่มีค่าอำนาจจำแนกที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 ถึง 0.83
3.7 นำแบบวัดความพึงพอใจที่สร้างขึ้นทั้งฉบับมาหาค่าความเชื่อมั่นโดยหา ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha-coefficient) ของครอนบาช (Cronbach) พบว่า มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.88
3.8 พิมพ์แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้เก็บข้อมูลจริงกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องที่ 1 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน
แบบแผนการทดลอง
การทดลองในครั้งนี้ใช้รูปแบบแผนการทดลอง One Group Pretest-Posttest Design ซึ่งจะศึกษากลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ทำการทดสอบก่อนและหลัง ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design
กลุ่ม Pre-test Treatment Post-test
E T1 X T2
เมื่อ E หมายถึง กลุ่มทดลอง
T1 หมายถึง การทดสอบก่อนการทดลอง (Pre-test)
T2 หมายถึง การทดสอบหลังการทดลอง (Post-test)
X หมายถึง การเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
การเก็บรวบรวมข้อมูล
2. ผู้รายงานได้อธิบายชี้แจงทำความเข้าใจ และข้อตกลงกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
ในเรื่องการเรียน เวลาเรียน วิธีการในการเรียน
2. ผู้รายงานทำการเก็บข้อมูลก่อนทดลอง โดยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ เพื่อนำคะแนนที่ได้เป็นคะแนนทดสอบก่อนเรียน
3. ผู้รายงานให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และให้นักเรียนทำแบบทดสอบท้ายเล่ม เพื่อนำคะแนนที่ได้เป็นคะแนนทดสอบหลังเรียนของแต่ละเล่ม
4. หลังจากนักเรียนเรียนด้วย แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครบทั้ง 7 เล่ม แล้วให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ เพื่อนำคะแนนที่ได้เป็นคะแนนทดสอบหลังเรียนและให้นักเรียนทำแบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ
5. ผู้รายงานตรวจผลการทำแบบทดสอบท้ายเล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบวัดความพึงพอใจแล้วจึงนำไปวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้รายงานได้ดำเนินการดังนี้
1. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์
วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 โดยหาค่าร้อยละ
2. นำข้อมูลมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โดยใช้สูตร t-test แบบ Dependent Samples
3. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐาน
1.1 ค่าร้อยละ (Percentage) โดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2546, หน้า 101)
เมื่อ P แทน ร้อยละ
f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ
N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด
1.2 ค่าเฉลี่ย (Mean) (สมบัติ ท้ายเรือคำ, 2551, หน้า 124) โดยใช้สูตร
เมื่อ แทน ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของกลุ่มตัวอย่าง
X แทน ผลรวมของข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง
n แทน จำนวนข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง
1.3 การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2546, หน้า 106)
เมื่อ S.D. แทน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
n แทน จำนวนผู้สอบทั้งหมด
X แทน ผลรวมของคะแนน
X2 แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละค่ายกกำลังสอง
2. สถิติที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
2.1 การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของเนื้อหากับจุดประสงค์ได้จากสูตร
(สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1, 2552, หน้า 3)
IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมของรายการข้อคำถามกับ
จุดประสงค์ (Index of Item Objective
Congruence)
R แทน ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทุกคน
N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2.2 การคำนวณหาดัชนีค่าความยากง่าย (p) ของข้อสอบ โดยใช้สูตร
(สมนึก ภัททิยธนี, 2553, หน้า 212)
เมื่อ P แทน ระดับความยาก
R แทน จำนวนคนตอบถูกทั้งหมด
N แทน จำนวนคนทั้งหมด
2.3 การคำนวณค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบ โดยใช้สูตร
(สมนึก ภัททิยธนี, 2553, หน้า 221)
เมื่อ r แทน ค่าอำนาจจำแนก
PH แทน จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มเก่ง
PL แทน จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มอ่อน
N แทน จำนวนคนทั้งหมดในกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน
2.4 การหาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเตอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) (สุรวาท ทองบุ, 2550, หน้า 107)
เมื่อ ru แทน ความเที่ยงของแบบทดสอบทั้งฉบับ
k แทน จำนวนข้อของแบบทดสอบทั้งฉบับ
p แทน อัตราส่วนของผู้ตอบถูกในข้อนั้น
q แทน อัตราส่วนของผู้ที่ตอบผิดในข้อนั้น
S2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ
2.5 หาค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดความพึงพอใจรายข้อ โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างข้อคำถามกับคะแนนรวม (item-total correlation) ซึ่งเป็นการหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของข้อคำถาม (X) กับคะแนนรวมของข้อคำถามข้ออื่นที่เหลือ (Y) โดยใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearsons product-moment correlation coefficient)
(บุญชม ศรีสะอาด, 2545, หน้า 164-167)
เมื่อ rxy แทน ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ
N แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
X แทน ผลรวมคะแนนของข้อคำถาม
Y แทน ผลรวมคะแนนของข้อคำถามอื่นที่เหลือ
X แทน ผลรวมคะแนนของข้อคำถามยกกำลังสอง
Y2 แทน ผลรวมคะแนนของข้อคำถามอื่นที่เหลือยกกำลังสอง
XY แทน ผลรวมคะแนนของผลคูณระหว่างคะแนน
ของข้อคำถามกับคะแนนของข้อคำถามอื่น
2.6 ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความพึงพอใจ โดยใช้วิธีของ Cronbach
(บุญชม ศรีสะอาด, 2545, หน้า 96) ดังนี้
เมื่อ  แทน ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น
k แทน จำนวนข้อของแบบสอบถาม
ΣSi2 แทน ผลรวมของความแปรปรวนของแต่ละข้อ
St2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนรวม
2.7 หาค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้สูตรดังนี้ (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1, 2552, หน้า 4-5)
ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1)
E1 หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินกิจกรรมของนวัตกรรม การเรียนการสอน
X หมายถึง คะแนนรวมของการประเมินผลในทุกหน่วย ทุกบท ทุกชุด ในระหว่างการดำเนินการของผู้เรียนทุกคน
A หมายถึง ผลรวมของคะแนนเต็มของแบบประเมินผลทุกหน่วย ทุกบท ทุกชุดของนวัตกรรมการเรียนการสอน
n หมายถึง จำนวนนักเรียนทั้งหมด
ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2)
E2 หมายถึง ประสิทธิภาพของผลลัพธ์จากการดำเนินกิจกรรมของนวัตกรรม การเรียนการสอน
F หมายถึง คะแนนรวมของการประเมินหลังดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้น ทุกหน่วย ทุกบท ทุกชุดของผู้เรียนทุกคน
B หมายถึง คะแนนเต็มของแบบประเมินหลังการดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้น ทุกหน่วย ทุกบท ทุกชุด
n หมายถึง จำนวนนักเรียนทั้งหมด
3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้สูตร t-test แบบ Dependent Group โดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2546, หน้า 148)
เมื่อ t แทน การทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียน
และหลังเรียน
D แทน ความแตกต่างระหว่างคะแนนสอบหลังเรียนกับ
ก่อนเรียนของนักเรียนแต่ละคน
ΣD แทน ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและ
หลังเรียนของนักเรียนทุกคน
D2 แทน ความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของ
นักเรียนแต่ละคนยกกำลังสอง
ΣD2 แทน ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและ
หลังเรียนของนักเรียนแต่ละคนยกกำลังสอง
(ΣD2) แทน ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและ
หลังเรียนของนักเรียนทุกคนยกกำลังสอง
nΣD2 แทน จำนวนนักเรียนคูณผลรวมของความแตกต่างของ
คะแนนก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียนแต่ละคน
ยกกำลังสอง
n แทน จำนวนนักเรียนทั้งหมด